หน้าเว็บ

วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 28, 2560

ทำไมคนเราถึงเปลี่ยนสไตล์การวาด

เคยไหมเวลาที่เจออาจารย์ที่ชอบมากๆแต่เขาเปลี่ยนสไตล์การวาดซะอย่างนั้น 

สำหรับเรา

ถ้าถามว่าทำไมถึงเปลี่ยนสไตล์การวาด
หลังๆมาจะพบว่าเราเปลี่ยนสไตล์การวาดให้ดูวาดง่ายขึ้น ไม่ถึกเหมือนเมื่อก่อน
เรารู้สึกว่าเราไม่จำเป็นต้องทำงานถึกๆเพื่อพิสูจน์ฝีมือตัวเองเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เพราะเราไม่ได้ทำงานในสตูดิโอไหนเลยหรือไม่ได้ทำกับสำนักพิมพ์ไหนเลย หรือแม้แต่การโฟกัสเรื่องงานวาด ไม่ใช่ว่าเราไม่ลองกลับไปทำงานวาด เรากลับไปทำ แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่เราจริงๆมันฝืนมาก สำหรับการรับจ้างวาด เราเลยจุดที่จะบอกว่าเรารักงานวาดและมันจะเลี้ยงชีพเราตลอดไป แต่ยังบอกว่าเพราะเราวาดจึงเป็นเราวันนี้เหมือนเดิม

เรามีกิจการของตัวเอง แล้วลำพังการดูแล illustcourse ให้รันได้สมบูรณ์แล้วยังงานอดิเรกอื่นๆที่เราสนใจอย่างการแต่งนิยายอีก แต่ถ้าถามว่าสอนให้เพนท์งานถึกๆได้ไหมสอนได้ แต่เรารู้สึกว่างานเด็กสมัยใหม่ ทำถึกเหมือนกันหมด แล้วสไตล์ถึก ก็เป็นสไตล์ที่เป็นที่นิยมทั้งในไทยและในต่างประเทศ เราเลยไม่อยากถึก เวลาเห็นคนทำอะไรเยอะๆแล้วเป็นโรคไม่อยากทำเหมือนใคร อยากทำงานแบบเบาๆดูบ้างตอนนี้เราอยากลองเน้นลายเส้นแล้วลงสี flat เรียบๆเกลี่ยสีเท่าที่จำเป็นพอ

เราคิดว่าชีวิตของคนแต่ละคนมีจังหวะชีวิตของมัน เหมือนกับว่า ถ้ายังไม่ถึงจุดที่เราดิ้นรนไขว่คว้า หรือค้นหาอะไรก็ตาม เราก็ยังจะไขว่คว้ามันต่อไปจนพบว่า สิ่งที่เราไขว่คว้ามันนำไปสู่สิ่งอื่นๆในชีวิตได้ นั่นแหละถึงจะถึงจุดที่เรารู้สึกว่าพอเถอะ ไปทำอย่างอื่นที่สนใจในชีวิตแล้ว เปิดโอกาสให้นักวาดรุ่นใหม่ๆขึ้นมาบ้าง ให้โอกาสคนรุ่นหลังๆทำงานบ้าง เหมือนที่น้องสาวเราพูดเอาไว้แบบนี้

การที่ใครสักคนเปลี่ยนลายเส้นมันจึงหมายถึงการที่ชีวิตหรือมุมมองของชีวิตของคนๆนั้นเปลี่ยนแปลงไป อาจจะไปสู่จุดใหม่ของชีวิต มันไม่ใช่จุดจบ หรือการที่ใครสักคนจะมาบอกว่าโอ๊ยคนนั้นหนะจบแล้วเรื่องการวาด วาดไม่เก่งขึ้น หรือไม่ได้พัฒนาขึ้น เพราะการที่คนเราพัฒนาขึ้น มันไม่ได้มีแค่มิติเดียว ไม่ได้มีแค่มิติของการวาดรูปเท่านั้น แต่ยังเป็นมิติของการพัฒนาตัวเองในด้านอื่นๆให้เติบโตขึ้นมาด้วย เราจึงคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมือตก วาดรูปไม่ดีขึ้น ล้วนนำไปสู่การพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆทั้งสิ้น

ดังนั้นอย่าไปตัดสินเลยว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมันไม่ดี สมมติอาจารย์ที่เราชอบเปลี่ยนลายเส้น ก็ให้มองว่า เออ เขาอาจจะทดลองเทคนิคใหม่ๆ เพื่อทำให้งานเขาแปลกตาออกไปก็ได้ มันไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร การที่คนๆหนึ่งจะทดลองงานวาดแบบใหม่ๆดูบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เซ็ทภาพประกอบนิยายของเรา ล้วนเป็นแนวใหม่ที่เราไม่เคยลองทำงานแนวนี้มาก่อน คือแนวลงสีเบาๆ

ภาพประกอบนิยายที่เราเขียนที่ http://www.koronox.com

พอเราลองทำแนวนี้เราพบว่าตัวเองสนุกมากที่ไม่ต้องคิดถึงเรื่องการเรนเดอร์ให้ละเอียด ให้หนัก ได้ภาพดูเบา สบายตา ถามว่าได้แรงบันดาลใจมาจากไหน คงต้องบอกว่าเป็นอาจารย์ Shigenori Soejima  ผู้ออกแบบ persona 5 จริงๆก็ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายแจ่มใสที่เราเคยไปทำปกอยู่ช่วงสั้นๆด้วย เพียงแต่เราต้องการลงให้ออกมาดาร์คกว่านั้นมากหน่อย

ดังนั้นเรื่องของการเปลี่ยนสไตล์การวาดมันจึงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเกินกว่าที่สังคมภายนอกจะบอกว่าอย่างนั้นดีอย่างนั้นไม่ดี สำหรับตัวเรา การลงสีถึกๆนั้นเราเคยทำได้มาก่อน แต่พอมาจุดหนึ่งเรากลับรู้สึกว่างานแนวนั้นน่าเบื่อ และถ้าไม่มี message อะไรที่น่าสนใจในภาพเลยก็ยิ่งดูน่าเบื่อขึ้นไปอีก เรารู้สึกว่าคนที่ทำงานฉลาดคือคนที่คิด message ที่ต้องการจะสื่อก่อน แล้วใช้สไตล์เป็นตัวสื่อข้อความนั้นออกมาให้คนได้รับรู้ โอเค อาจจะมีคนวิจารณ์ว่า ทำแบบนี้ไม่ดี ทำแบบนี้ดีกว่าอะไรแบบนี้ แต่สุดท้ายแล้ว ตัวคนที่วาดเองนั่นแหละที่จะเป็นคนตัดสินว่าทำแนวไหน หรือสไตล์ไหนดี อย่าให้คนอื่นเป็นคนตัดสิน เพราะสุดท้ายคนที่อยู่กับทางเลือกนั้นก็คือตัวเราเท่านั้นค่ะ เพราะฉะนั้นควรทำสไตล์ที่เรามีความสุข เพราะเราจะทำออกมาได้ดี ถึงแม้เราจะยังไม่มีชื่อเสียงในวันนี้ แต่เรามีความสุขในการสร้างผลงาน นั่นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการที่จะทำให้งานเราเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้างค่ะ เราเอาเรื่องนี้ไปคุยกับรุ่นพี่ รุ่นพี่ให้เราวาดภาพหนึ่งออกมาคือภาพด้านล่างนี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดใหม่ มันคือเรื่องของชื่อเสียงและชีวิตและวัฎจักรของสรรพสิ่งนั่นเอง



from WordPress http://ift.tt/2m5CZi9
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: