หน้าเว็บ

วันอาทิตย์, สิงหาคม 27, 2560

ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่บทความสอนต่างๆ จะทำให้แสงนั้นเป็นตัวเสริมแก่ภาพ นั่นก็คือการให้บรรยากาศ เราอาจจะได้รับแรงบันดาลใจว่าวัตถุนั้นเป็นรูปทรงแบบสากล และด้วยแสงที่ถูกต้องเราสามารถเปลี่ยนอารมณ์ของภาพได้ แต่ความจริงคือ ถ้าไม่มีแสง ก็จะไม่มีอะไรให้เพนท์ต่างหาก ก่อนที่คุณจะรู้ความจริงข้อนี้ ตาคุณบอดไปเสียก่อนกับความรู้ที่เคยเรียนๆกันมา

 

ในฐานะนักวาด คุณเคยพยายามตอบคำถามนี้ไหม ถ้าไม่ มันก็เป็นอะไรที่เป็นข้อผิดพลาดมากๆเลย ทุกอย่างที่คุณวาดนั้นเป็นตัวแทนของการมองเห็น เหมือนหลักการของฟิสิกส์ นั้นเป็นตัวแทนของกระบวนการที่แท้จริง มีสิ่งที่มากกว่านั้น สิ่งที่เราวาดไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริง หรือจุดมุ่งหมายของภาพนั้นเป็นความจริง มันเป็นเพียงภาพที่สร้างขึ้นมาจากสมองของคุณ เป็นการตีความจากสัญลักษณ์ต่างๆที่จับได้โดยตาของคุณ ดังนั้น โลกที่เราเห็นเป็นเพียงการตีความความเป็นจริง หนึ่งในหลายๆอย่างเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริงที่สุด และที่สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาทั้งหมด เพียงแค่ดีพอที่จะทำให้เผ่าพันธุ์ของเราคงอยู่รอดเท่านั้น

ทำไมเราถึงมาพูดถึงสิ่งเหล่านี้ในบทความสอนเพนท์ การเพนท์ด้วยตัวมันเองนั้นเป็นการทำให้กระดาษหรือสกรีนบางส่วนมืดลงหรือสว่างขึ้น เพื่อที่จะสร้างภาพลวงตาของบางอย่างที่ดูเหมือนจริง ในอีกมุมหนึ่ง ศิลปินพยายามที่จะสร้างภาพที่มันสามารถเป็นสิ่งที่สร้างโดยสมองของเรา (เพราะมันง่ายกว่าเรามากกว่า เนื่องจากเราคิดเป็นระบบ เราจึงพยายามหารูปร่างที่คุ้นเคยในภาพเชิงนามธรรม๗

ถ้าภาพนั้นเหมือนกับสิ่งที่เราเห็นในจิตใจของเรา เราจะบอกว่ามันคือแนวเหมือนจริง มันอาจจะเหมือนจริงทั้งๆที่ไม่สามารถที่จะระลึกได้ว่านั่นคือรูปร่างหรือว่าขอบของวัตถุนั้นระลึกได้หรือไม่ สิ่งที่คุณต้องการก็คือ สี แสง และเงา ในการทำให้บางสิ่งที่คุ้นเคยเกิดขึ้นมาในจิตใจ นี่คือตัวอย่างที่ดีสำหรับเอฟเฟคต่อไปนี้

Winter in the forest by Piotr Olech

เพื่อที่จะสร้างภาพที่คล้ายคลึงกับภาพที่คล้ายกับภาพที่สร้างด้วยสมอง เริ่มแรกคุณจะต้องเรียนรู้ว่าสมองทำงานอย่างไรก่อน การอ่านบทความนี้คุณจะพบกระบวนการทั้งหมดที่ชัดเจน แต่คุณอาจจะประหลาดใจว่า วิทยาศาสตร์นั้นใกล้เคียงกับการเพนท์มาก เรามักจะให้การมองเห็นนั้นเป็นส่วนของฟิสิกส์ และการเพนท์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมตาฟิสิกส์ แต่นั่นเป็นข้อผิดพลาด ศิลปะนั้นเป็นภาพสะท้อนของความเป็นจริงผ่านทางสมองของเรา ในการที่เราจะเลียนแบบความเป็นจริง เริ่มแรกเราต้องเรียนรู้ก่อนว่า อะไรที่จิตใจของเราคิดว่าจริง

กลับไปที่พื้นฐานของการมองเห็น แสง นั้นโดนวัตถุ และสะท้อนกลับมายังตาเรา และสัญญาณก็สร้างขึ้นโดยสมอง หลังจากนั้นภาพก็เกิดขึ้น นั่นคือสิ่งที่รู้กันอยู่ใช่ไหม แต่คุณได้รู้สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทั้งหมดหรือไม่

มาถึงส่วนแรก ส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการเพนท์ภาพ แสงนั้นเป็นสิ่งเดียว ที่เรามองเห็น มันไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่สี ไม่ใช่เพอร์เสปคทีฟ ไม่ใช่รูปร่าง เราสามารถเห็นแค่แสง สะท้อนจากผิว รบกวนโดยคุณสมบัติของพื้นผิวและตาของเรา ภาพสุดท้ายนั้นอยู่ในหัวเรา เฟรมเดียวของวีดีโอที่ไม่มีวันจบ ก็เป็นชุดของแสงกระทบที่ลูกตาของเราในเวลานั้น รูปสามารถถูกรบกวนได้ด้วยความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติของแสงทุกลำ เพราะว่าทุกๆลำนั้นมาจากแหล่งกำเนิด ทิศทาง ระยะห่างที่แตกต่างกัน และมันอาจจะโดนวัตถุหลายๆอย่างก่อนที่จะโดนเข้าที่ตาของคุณในท้ายสุด

นั่นคือสิ่งที่เราทำในขณะที่เราเพนท์ เราเลียนแบบแสงที่กระทบวัตถุหลากหลาย(สี,ความสม่ำเสมอ,ความเงา) ระยะห่างระหว่างพวกมัน( ปริมาณของสี,ความต่างชัด,ขอบ และเพอร์เสปคทีฟ และแน่นอนเราไม่วาดสิ่งที่ไม่สะท้อนหรือกระจายอะไรเลยสู่สายตาเรา ถ้าคุณเพิ่มแสงหลังจากที่ภาพกำลังจะเสร็จ คุณทำพลาดไปแล้ว ทุกสิ่งบนภาพวาดของคุณคือแสง

พูดง่ายๆ เงาคือพื้นที่ที่ไม่ได้รับการสัมผัสด้วยแสงโดยตรง เวลาที่คุณอยู่ในเงา คุณไม่สามารถเห็นแหล่งกำเนิดแสง อันนั้นชัดเจนใช่ไหม

ความยาวของเงาสามารถวาดโดยวาดลำแสงขึ้นมา

การวาดเงามันอาจจะมีเล่ห์กลนิดนึง มาดูที่สถานการณ์นี้กันหน่อย เรามีวัตถุและแสงขนาดใหญ่  นี่คือวิธีที่เราวาดแสงเงา



แต่เดี๋ยวก่อน เงานี้แคสท์โดยแสงเพียงแค่แหล่งเดียว ถ้าเราเลือกจุดอื่นหละ

ที่เราสามารถเห็น เพียงแค่จุดแสงเท่านั้นสร้างเงาที่คม เงาที่คมและง่ายต่อการบ่งชี้ เมื่อแหล่งกำเนิดแสงใหญ่ขึ้น (กระจัดกระจายมากขึ้น) เงาก็จะเบลอขึ้น มีขอบไล่สีมากขึ้น

ปรากฏการณ์ที่เราอธิบายไป มันเป็นเงาหลายเงา ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดแสงแหล่งเดียวด้วย  ชนิดของเงานี้มันเป็นธรรมชาติว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมภาพถ่ายด้วยแฟลช ถึงดูคมและแปลกแยก

โอเค แต่มันเป็นแค่สมมติฐาน มาดูกระบวนการนี้ในการปฏิบัติกันบ้าง นี่คือที่วางแทบเล็ท ที่ถูกถ่ายภาพในวันอาทิตย์สดใส คุณมองเห็นเงาซ้อนกันหรือไม่ มาดูใกล้ๆกัน

ดังนั้น แสงจะมาจากมุมซ้ายบน อย่างหยาบๆ ปัญหาคือตรงนี้ไม่ใช่แสงแบบจุด ดังนั้นเราไม่มีเงาที่ชัดเจน ที่ดูดี ที่เหมาะจะวาดรูป การวาดแสงแบบนี้มันไม่ช่วยอะไร

 

มาดูอะไรที่แตกต่างออกไป ตามสิ่งที่เราเห็น แสงกระจายที่มาจากหลายๆแหล่งนั้นสร้างให้เกิดจุดแสง หลายแหล่ง เมื่อเราเขียนแบบนี้มันดู เข้าใจได้มากกว่า

เพื่อที่จะอธิบายมันอย่างชัดเจนขึ้น มาทำให้แสงบางอันหายไป เห็นไหม ถ้าไม่ใช่แสงที่กระจัดกระจายนี้ เราก็มีเงาธรรมดา

เดี๋ยวก่อน ถ้าไม่มีแสงแตะบริเวณนั้น เราจะเห็นสิ่งที่อยู่ในเงาได้อย่างไร เราจะเห็นอะไรก็ตามในวันที่มืดหม่นเมฆบังได้อย่างไร เมื่อทุกอย่างอยู่ในเงาของเมฆ นั่นเป็นเพราะว่าแสงกระจายหรือ diffuse light  เราจะคุยถึงแสงกระจายตลอดใน tutorial นี้

tutorial เกี่ยวกับการเพนท์มักจะทำให้แสงและแสงสะท้อนหรือ reflect light เป็นบางอย่างที่เป็นสิ่งที่แตกต่าง  พวกเขาอาจจะบอกคุณว่าแสงโดยตรงนั้นทำให้ผิวสัมผัสสว่าง และแสงสะท้อนนั้นอาจจะเกิดขึ้น ให้แสงสว่างในความมืด คุณอาจจะเห็นไดอะแกรมเหมือนกับอันด้านล่าง

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริงซะทีเดียวเพราะว่า พื้นฐานแล้วเวลาที่คุณเห็นแสงอะไรสะท้อนเข้ามา ถ้าคุณเห็นอะไรบางอย่าง มันเป็นเพราะว่าแสงสะท้อนมาจากมัน คุณอาจจะเห็นแสงทางตรงเมื่อคุณจ้องมองไปที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นไดอะแกรมควรจะเป็นแบบนี้มากกว่า

But to make it even more correct, we need to bring in a few definitions. A light ray hitting a surface may behave in a few ways, depending on the kind of surface it is.

แต่ในการที่ทำให้มันถูกต้องมากขึ้น เราต้องนำคำจำกัดความใหม่เข้ามาสองสามคำ แสงนั้นกระทบผิวอาจจะทำให้เกิดลักษณะสองสามลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะของพิ้นผิว

  • เมื่อแสงนั้นสะท้อนทั้งหมดจากวัตถุไปยังมุมเดียวกันเราเรียกว่า specular reflection
  • ถ้าแสงบางส่วนแทงทะลุพื้นผิวเข้าไป มันอาจจะสะท้อนโดยโครงสร้างเล็กๆของมัน สร้างให้เกิดมุมที่ถูกรบกวน ผลก็คือทำให้เกิดภาพที่ไม่ชัด เราเรียกว่า diffuse reflection
  • แสงบางส่วนจะถูกดูดซับโดยวัตถุ
  • ถ้าลำแสงที่ถูกดูดซับเข้าไปพยายามจะออกมา เราเรียกว่า Transmitted light

มาโฟกัสกันที่ diffuse และ specular highlight กันก่อน เพราะว่ามันสำคัญกับการเพนท์มาก

ถ้าหากพื้นผิวนั้นมีความมันเงา และมีโครงสร้างเล็กๆที่ถูกต้องที่บล็อคแสง ลำแสงที่โดนวัตถุจะสะท้อนไปในทิศทางเดียวกัน specular reflection ทำให้เกิดเอฟเฟคกระจก ไม่เพียงแต่แสงอาทิตย์โดยตรงที่สะท้อนอย่างสมบูรณ์เท่านั้น สิ่งเดิมเกิดขึ้นกับแสงไม่โดยตรง (ย้ายจากแหล่งกำเนิดแสง สะท้อนวัตถุ และชนผิวสัมผัส ) ผิวสัมผัสที่เกือบจะเพอร์เฟ็คนั้นทำให้เกิด specular reflection ที่สมบูรณ์แบบ แน่นอน คือกระจก แต่วัสดุชนิดอื่นๆก็ให้เอฟเฟคที่ดีเช่นกัน เช่นน้ำหรือเหล็กนะ ยกตัวอย่าง

ในขณะที่ specular reflection สร้างให้เกิด ภาพที่สมบูรณ์ของวัตถุที่สะท้อน ต้องขอบคุณมุมที่ถูกต้อง diffuse reflection นั้นมีความน่าสนใจมากกว่า มันรับผิดชอบเรื่องสีโดยตรง (เราจะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ลึกลงไปในบทหน้าของซีรีย์นี้) และมันก็ทำให้แสงของวัตถุสว่างขึ้นในแนวที่นุ่มนวลขึ้น ดังนั้นโดยพื้นฐานก็คือ มันทำให้วัตถุสามารถมองเห็นได้โดยตาเราไม่ไหม้ไปเสียก่อน

วัตถุมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวกับการสะท้อน ส่วนใหญ่ของมันจะเกิดการกระจาย (diffuse) และดูดซับสีส่วนใหญ่ไป สะท้อนบางส่วนออกมาเท่านั้นเป็น specular สิ่งที่คุณคาดเดาเอาไว้นั่นแหละ ก็คือ วัตถุเงานั้นมีค่าของการสะท้อนเป็น specular หรือสะท้อนกลับหมดสูงกว่าวัตถุด้าน ถ้าเรามองที่ภาพประกอบที่แล้วอีกครั้ง เราสามารถสร้างไดอะแกรมที่ถูกต้องกว่าเดิมได้ดังนี้

เมื่อดูที่ภาพนี้ เราอาจจะมีความคิดว่ามีเพียงจุดเดียวเท่านั้นบนพื้นผิวที่มันที่ๆเกิด specular relfection แต่นั่นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป มันเกิดขึ้นเมื่อไรก็ตามที่แสงโดนพื้นผิว แต่มันมีเพียงหนึ่งลำแสงเท่านั้นที่โดนตาของคุณในครั้งหนึ่ง

มีการทดลองหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ สร้างแหล่งกำเนิดแสงเอง (ใช้โทรศัพท์ ,หรือโคมไฟของคุณ )จากนั้นวางมันลง เพื่อให้มันเกิดแสงไปยังพื้นผิวเงาจากด้านบนและเกิดแสงสะท้อน มันไม่จำเป็นต้องเป็นแสงสะท้อนที่ชัดมาก แค่ทำให้แน่ใจว่าคุณจะเห็นมัน ยิ่งมุมแคบเท่าไร การมองเห็นภายใต้แสงนั้นมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ถ้าคุณไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง

แล้วมีอะไรที่สิ่งนี้เกี่ยวกับการเพนท์หน่ะเหรอ มาถึงกฏข้อที่สอง ตำแหน่งของผู้สังเกตุการณ์มีอิทธิพลต่อแสงเงา แหล่งกำเนิดแสงอาจจะตายตัว ตำแหน่งวัตถุอาจจะตายตัว แต่ผู้สังเกตุทุกๆคนเห็นมันแตกต่างกันไป มันชัดเจนเมื่อเราคิดถึงเพอร์สเปคทีฟ แต่เราแทบจะไม่คิดถึงแสงในทางนี้เลย ในความสัตย์จริง เมื่อคุณเซ็ทแสง คุณได้คิดถึงผู้สังเกตุการณ์หรือไม่

อย่างที่สงสัย คุณสงสัยบ้างหรือเปล่าว่าทำไมเราต้องเพนท์กริดสีขาวลงบนวัตถุเงา ตอนนี้คุณอาจจะสามารถตอบคำถามนี้ได้ด้วยตัวคุณเอง รวมไปถึงว่าคุณรู้ว่ากลิตเตอร์ ทำงานได้อย่างไรด้วยเช่นกัน ไปต่อตอนที่สองกันคราวหน้าค่ะ

http://ift.tt/2w96LXL

 

The post ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2xnzPJB
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: