หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 19, 2560

การใช้โทนและค่าน้ำหนักสีอย่างถูกต้องในการวาดภาพประกอบ

1.อะไรคือโทน และทำไมมันถึงสำคัญ กับภาพวาดบางทีอาจจะมากกว่าสี?

ความหมายของโทนในบริบทของการเพนท์ภาพนั้นมันง่าย  มันคือความสว่างมากหรือน้อยของแสง  มากกว่าสีที่แท้จริงหรือ hue แต่กระนั้นการใส่โทนลงในภาพมันก็ยังเป็นเรื่องน่ารำคาญสำหรับศิลปิน เพราะว่าเราอาจจะถูกเบนความสนใจโดยสีที่มีความเข้มข้นกว่า

สีทุกสีสามารถสร้างให้เกิดโทนอันหลากหลาย แสงเข้มหรืออ่อน ขึ้นอยู่กับสี มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะระลึกว่าโทนนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกัน ที่ว่าความเข้มหรืออ่อนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับอะไรเกิดขึ้นรอบๆ โทนที่ดูเหมือนจะสว่างในบริบทหนึ่งอาจจะดูมืดในอีกบริบทหนึ่งถ้าหากถูกล้อมรอบด้วยโทนที่มีความอ่อนกว่า

จำนวนของโทนนั้นแปรผัน hue ที่มีค่าสีอ่อนกว่า เช่น สีเหลือง จะให้โทนที่มีระยะของสีน้อยกว่าสีเข้มเช่นสีดำ

ทำไมโทนถึงมีความสำคัญ นี่คือสิ่งที่ปรมาจารณ์แห่งสี เฮนรี มาติสเซ่ ได้กล่าวไว้ (ใน A painter’s note,ปี 1908)

“เมื่อผมพบความสัมพันธ์ของโทนทั้งหมด ผลลัพธ์ต้องเป็นความกลมกลืนอย่างมีชีวิตชีวาของโทนสีทั้งหมด ความกลมกลืนที่ไม่เหมือนกับความกลมกลืนในเชิงการประพันธ์เพลง”

อีกนัยหนึ่ง ถ้าหากภาพนั้นจะประสบความสำเร็จได้ คุณจะต้องทำให้โทนนั้นถูกต้อง ไม่เช่นนั้น มันก็จะเป็นแค่การรบกวนเชิงทัศนะ ขั้นตอนแรกในการทำสิ่งนี้ก็คือการเอาสีออกไปจากสมการทั้งหมด เพื่อที่จะสร้างโทนโดยใช้แค่สีดำ

2.การฝึกวาดโทนโดยการวาดแถบน้ำหนักสีหรือโทน

สุดขอบของน้ำหนักสีคือสีดำ(ดำมาก)ไปจนถึงขาว(ขาวมาก) การระลึกถึงโทนหรือน้ำหนักของสีมากกว่าตัวค่าสีหรือ hue เองนั้นสำคัญสำหรับจิตรกร เพราะว่าการเพนท์ภาพที่สำเร็จนั้นมีความแตกต่างในโทนในนั้น หรือระยะของน้ำหนัก

การเพนท์ด้วยสีโทนกลางนั้นเสี่ยงในการทำให้ภาพแบนและด้าน น้ำหนักสีหรือความต่างชัดในโทนสร้างให้เกิดความน่าสนใจเชิงทัศนะ หรือความตื่นเต้นในภาพเพนท์ ภาพเขียนที่มี high key นั้นคือความต่างชัดของน้ำหนักสีหรือโทนนั้นมีมาก จากสีดำด้านขวาไปจนถึงสีโทนกลางไปถึงสีขาว ภาพเขียนที่มี low key ก็คือภาพเขียนที่ระยะของโทนนั้นแคบกว่า

การทำความคุ้นเคยกับโทนและน้ำหนักสี ก็คือให้คุณเพนท์ภาพขาวดำโดยใช้สีขาวและสีดำ อันนี้มีสีขาวในจุดจบด้านหนึ่ง และสีดำที่จุดจบอีกด้านหนึ่ง และระยะของโทนอยู่ระหว่างนั้น ปรินท์อาร์ทเวิคชีทอันนี้ลงในกระดาษเขียนสีน้ำหรือการ์ด สำหรับกริดที่นำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เริ่มจากบล็อคของสีขาวและบล็อคของสีดำ และค่อยๆระบายไล่โทนจากโทนสีเทาไปเป็นเก้าโทน

ครั้งนี้ทำแบบฝึกหัดซ้ำ โดยใช้ค่า hue หรือค่าสีที่แตกต่างกันเพื่อที่จะสร้างน้ำหนักของสี สำหรับสีที่คุณใช้เป็นประจำ

 3.แบ่งโทนและน้ำหนัก หรือสี

มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างระดับของน้ำหนักสีด้วยทุกๆสีในพาเลตของคุณ เมื่อคุณเพนท์โทนสีเทา มันมีค่าในเวลาที่จะเพนท์ระดับน้ำหนักของสีด้วยทุกสีที่คุณใช้บ่อยๆ ดังนั้นเมื่อคุณเกิดอาการติดขัดที่ทำให้โทนมันถูกต้องในภาพ คุณสามารถเช็คจากระดับของน้ำหนักสีที่คุณทำไว้ ปรินท์อาร์ทเวิคชึทนี้สำหรับกริดที่ทำไว้แล้ว

ถ้าคุณใช้สีน้ำ ทางหนึ่งที่จะทำสิ่งนี้คือการใส่น้ำลงไปในสีในแต่ละครั้ง หรือการเพนท์เคลือบ สร้างซีรีย์ของน้ำหนักสีโดยโดยเพนท์ซีรีย์ของบล็อค แล้วระบายเคลือบชั้นแล้วชั้นเล่าในแต่ละบล็อค

ด้วยสีน้ำมันหรือสีอะคริลิค ทางที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้สีสว่างขึ้นนั้นคือการใส่สีขาว แต่นี่ไม่ใช่เป็นเพียงวิธีเดียว และไม่ใช่วิธีในอุดมคติ เพราะมันลดค่าความเข้มชองสี คุณสามารถที่จะทำให้สีสว่างขึ้นโดยใส่สีสว่างขึ้นสีอื่น เช่น ในการที่จะทำให้สีแดงเข้มสว่างขึ้น คุณแค่ต้องการใส่สีเหลืองเข้าไปเล็กน้อย

การผสมสีนั้นใช้เวลาในการฝึก แต่มันก็เหมาะสมกับเวลาที่ใช้

4.ความสำคัญของโทนเมื่อเพนท์

 

เมื่อภาพเพนท์นั้นไม่เวิร์ค เช็คระยะของโทนในนั้น โฟกัสที่โทนหรือน้ำหนักสี มากกว่าการที่จะโฟกัสสีในภาพเขียน มันอาจจะเป็นระยะของโทนในภาพเพนท์ที่มันแคบไป หรือไม่ถูกต้องในนัยของเพอร์สเปคทีฟ

วิธีที่ดีที่สุดในการเช็คก็คือการถ่ายภาพและจากนั้นก็ใช้โปรแกรมแต่งภาพเพื่อที่จะเปลี่ยนภาพเป็นเกรย์เสกลหรือระดับสีเดา โดยใช้ฟังก์ชันเอาอีกออก ถ้าระยะของโทนนั้นแคบ เพิ่มสีไฮไลท์และสีดำ

ถ้าคุณมองไปที่ภาพถ่ายด้านบน คุณจะเห็นว่าโทนนั้นมีความใกล้กันมากแค่ไหนในสีเหลือง,ส้มและแดงในขณะที่เขียวนั้นค่อนข้างจะมืดในโทน

5.สีมืดหรือสีสว่างก่อนกัน

นักวาดบางคนเริ่มต้นเพนท์ด้วยไฮไลท์ก่อน บางคนอาจจะเริ่มด้วยความมืดสุดๆแล้วจากนั้นต้องแน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้ได้รักษาตลอดทั้งภาพ มันง่ายกว่าด้วยโทนสีกลาง

6.เพนท์โทนหรือระดับสี — เขียว,แดง,เหลือง

การผสมเขียวนั้นคุณผสมสีน้ำเงินหรือสีเหลืองเพื่อที่จะได้โทนสีเขียวที่สว่างขึ้น พยายามใส่สีเหลือง ไม่ใช่สีขาว ในการที่จะได้สีเขียวโทนเข้มขึ้น พยายามใส่สีฟ้า ไม่ใช่สีดำ

ปิกาสโซ่พูดเอาไว้ว่า “พวกเขาจะขายสีเขียวเป็นพันให้กับคุณ ไม่ว่าจะเป็นเขียวเวโรนีส เขียวมรกต และเขียวแคดเมียม และจะเป็นเขียวโทนไหนก็ได้ที่คุณชอบ แต่เขียวโทนเฉพาะนั้น ไม่มีทาง”

ถ้าคุณต้องการจะทำให้สีแดงสว่างขึ้น คุณอาจจะใส่สีขาวเข้าไปและจบด้วยการมีสีชมพูหลากหลายระดับ พยายามที่จะผสมกับสีเหลืองแทนที่จะเป็นสีขาว

สีเหลืองนั้นเป็นสีที่ยากที่สุดในการที่จะเห็นในระยะของโทนสี ถึงแม้ว่าจะเป็นเหลืองที่เข้มมากอย่างเหลืองแคดเมียมดีพ ดูเหมือนจะสว่างขึ้น เมื่อวางลงถัดจากสีอื่นๆแต่ขณะที่คุณไม่อาจจะได้เห็นระยะของสีที่มีความเหมือนกันของปรัสเซียนบลู คุณยังคงเห็นสีเหลืองเป็นโทนเดียว ไม่ว่าจะเป็นเหลืองไหน

7.เรียนรู้ที่จะเห็นโทนและน้ำหนักในภาพเพนท์

เรียนรู้ที่จะเห็นโทนหรือน้ำหนักสีจะช่วยคุณสร้างภาพเพนท์ที่ช่วยดึงความสนใจของผู้ดู โทนนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับอะไรที่เข้มในบริบทหนึ่งจะดูสว่างในอีกบริบท มันขึ้นอยู่กับบริบทล้วนๆ

ในขณะที่เพนท์ภาพ พยายามหรี่ตามองหัวข้อที่คุณวาด ที่ช่วยลดระดับของรายละเอียดที่คุณมองเห็นและเน้นบริเวณที่เป็นแสงและเงา โทนกลางนั้นยากที่จะตัดสิน เปรียบเทียบมันกับโทนใกล้เคียง ในหัวข้อที่เราวาดและทำให้สีสว่างสุดหรือเข้มสุดถูกเน้น โทนกลางจึงยากที่จะตัดสิน เปรียบเทียบมันกับโทนใกล้เคียงในหัวข้อที่เราวาดและไปสู่บริเวณที่สว่างหรือเข้มที่สุด ถ้าคุณติดในขั้นตอนนี้ ฟิลเตอร์โมโนโครมสามารถช่วยคุณแยะแยะโทนของวัตถุที่คุณวาดได้ ถ้าคุณรู้สึกติดขัด ให้ทำการศึกษาน้ำหนักก่อนจะเพนท์สีลงไป หรือเพนท์ด้วยสีขาวดำทั้งหมด ก่อนที่คุณจะรู้สึกสบายใจกับโทนและน้ำหนัก

8.โทนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

สีสว่างหรือมืดอย่างไร มันขึ้นอยู่กับอะไรคือโทนอื่นๆที่อยู่ใกล้ ๆ แถบแนวตั้งของโทนในภาพด้านบนเป็นโทนที่มีความสม่ำเสมอ แต่มันก็ยังดูเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เมื่อดูร่วมกันกับสีแบ็คกราวน์

เอฟเฟคนี้สังเกตได้ง่ายกับโทนกลาง จากนั้นเป็นสีสว่างมากหรือมืดมาก และแน่นอนว่ามันมีการประยุกต์ไม่ว่าจะเป็นสีจริงเป็นสี hue หรือไม่ ดูตัวอย่างถัดไป ในโทนสีน้ำตาล

ดังนั้นอะไรที่ใช้ก็คือการรู้ว่าโทนนั้นมีความสัมพันธ์กับโทนรอบๆข้างเมื่อเราใช้มัน ยกตัวอย่างเช่น สำหรับผู้เริ่มต้น มันแสดงว่าถ้าคุณใช้โทนสีสว่าง คุณจะไม่เพียงแค่หยิบสีขาวมาใช้ ถ้าหากภาพทั้งหมดเป็นสีมืด เพียงแต่สีโทนกลางก็อาจจะเพียงพอแล้วสำหรับเอฟเฟคที่คุณตามหา ในขณะที่โทนสว่างนั้นมันอาจจะดูแรงไปหน่อย

เหมือนกัน แน่นอน กับโทนมืด ถ้าคุณต้องการเงา ยกตัวอย่างนะ ตัดสินว่าโทนนั้นจะเข้มเท่าไรที่อยู่ในรูป อย่าพยายามทำให้มันมืดลงเกินไป ความต่างชัดอาจจะมากเกินไปในการที่จะบาลานซ์ภาพ

คิดถึงโทนให้เป็นองค์ประกอบแบบการจัดองค์ประกอบ ความต่างชัดของโทน หรือระยะในภาพเขียน และแสงกับเงาได้จัดกันอย่างไรต้องการ การพิจารณาเมื่อคุณวางแผนภาพเขียนหรือพยายามที่จะค้นหาว่าทำไมมันถึงไม่ได้ผล และภาพเพนท์นั้นไม่ต้องการโทนที่มีค่ากว้างในการทำให้มันประสบความสำเร็จ โทนในจำนวนจำกัดนั้นมีอำนาจมากถ้าคุณใช้ความสัมพันธ์ของโทนอย่างถูกต้อง เหมือนกับจำนวนสีที่คุณใช้ในภาพเพนท์ ยิ่งน้อยยิ่งดี

http://ift.tt/2xRSW2r

The post การใช้โทนและค่าน้ำหนักสีอย่างถูกต้องในการวาดภาพประกอบ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2xQGTCu
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: