หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 12, 2561

การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 2:หลักการเขียนเนื้อเรื่องที่ดีและทำความรู้จัก Character arc

ตอนที่แล้ว

เนื่องจากนักเขียนการ์ตูนไทย เราสังเกตมาเยอะแล้วว่าขาดการศึกษาเรื่องของเนื้อเรื่อง เราเลยเขียนซีรีย์นี้ต่อ จากการที่เราค้นคว้ามาเป็นระยะเวลานาน จากหนังสือต่างประเทศหลายเล่มด้วยกันในการเขียนเรื่อง มาดูกันต่อ

จากตอนที่แล้ว

pantser คือคนที่ส่วนมากจะใช้วิธีการ improvisation ในการเขียนเรื่อง เขาจะตื่นเต้นเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆโดยไม่มีการวางแผนชัดเจน ข้อดีของการเป็น pantser คือ การลงมือเขียนทันที แต่ด้วยความที่ขาดการวางแผน ทำให้เวลาย้อนกลับมาดูงาน มักจะมีช่องโหว่แล้วต้องย้อนมาแก้อยู่บ่อยครั้ง
.
Plotter  คือ คนที่วางแผนพล็อตก่อนที่จะทำการเขียนทุกครั้ง ซึ่งจริงๆแล้วแบบนี้ก็ให้ความตื่นเต้นไม่แพ้แบบแรกหรอก แต่ว่าข้อแตกต่างกันก็คือ การวางแผนนั้นถ้าหากมีอะไรที่แหม่งในเรื่องก็สามารถกลับมาดูที่โครงเรื่องได้ทันที

ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอันไหนดีกว่ากันค่ะ คุณอาจจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่นๆโดยทั่วไปก็ได้ การเป็น Pantser ก็มีข้อดีอีกคือ พอลงมือเขียนทันที แล้วเราจะตื่นเต้นไปกับมันเพราะเราค้นพบเนื้อเรื่องไปกับผู้อ่านทีหลังค่ะ ถ้าคุณรู้สึกโอเคกับการทำงานลักษณะนั้นคุณก็ใช้มันต่อไป และคุณไม่ต้องแก้อะไรที่มันได้เจ๊ง

แต่คุณอ่านโพสต์นี้เพราะอะไรคะ เพราะคุณอยากรู้วิธีที่จะเอาไลน์การ์ตูนและนิยายของคุณอย่างถูกต้อง และเพิ่มความเร็วในการเขียน รวมทั้งความมั่นใจในการเขียนของคุณด้วย ดังนั้นมันแปลว่าวิธีที่คุณเขียนอยู่คุณไม่พอใจ หรือคุณรู้สึกว่ามันไม่เวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น pantser หรือ plotter

มีนักเขียนการ์ตูนจำนวนมากที่ไม่ได้อยากทำเป็นอาชีพ บางคนอาจจะเขียนเป็นงานอดิเรก เพราะฉะนั้น การ pantsing อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่าการเป็น Plotter ก็ได้ แต่ถ้าคุณเขียนเป็นอาชีพ การรู้วิธีเอาท์ไลน์เนื้อเรื่องจะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้นและเนื้อเรื่องไม่หลุดไปกลางทางเสียก่อน เพราะว่าการที่คุณเป็นนักเขียนมืออาชีพคุณจะต้องออกผลงานอย่างต่อเนื่องและทำให้คนไม่ลืมคุณไปเสียก่อน ทีนี้ จำนวนก็สำคัญค่ะ เพราะจำนวนเล่มที่ออก ทำให้คนตามงานเก่าๆคุณได้

มันจะมีนักเขียนการ์ตูนบางคนที่เขียนไปเรื่อยๆ ด้นไปเรื่อยๆแล้วเรื่องออกมาดี ถ้าคุณรู้ตัวว่าคุณไม่ใช่คนประเภทนี้ ก็เรียนรู้ที่จะเขียนเอาท์ไลน์ซะ เพราะมันดีต่อชีวิตคุณมากกกว่าในการที่จะเขียนเรื่องออกมาซักเรื่องนึงค่ะ

หลักการของการเขียนเนื้อเรื่องของทุกเรื่อง

คุณสามารถเอาวิธีนี้ไปใช้กับทุกเนื้อเรื่อง ทุกแนวการเขียน ทุกช่วงอายุค่ะ หลักการนี้เป็นจริงในทุกเนื้อเรื่อง และเป็นจริงในทุกเนื้อเรื่องที่เขียนได้ดี

1.มีคาแรคเตอร์
2.คาแรคเตอร์ต้องการอะไรบางอย่าง
3.แต่บางอย่างกันไว้ไม่ให้เขาได้สิ่งที่เขาได้ง่ายดายนัก
4.ดังนั้นเขาจึงติดกับแรงนั้น
5.และไม่ล้มเหลวก็สำเร็จ

เช่น

แมงมุมเพื่อนรัก

วิลเบอร์ หมูน้อย ได้ต้องการสิ่งต่างๆมากมายในเรื่องของเขา แต่สิ่งที่เขาต้องการที่สุดคือการมีชีวิตอยู่
เขากลัวว่าเมื่องานเทศกาลของหมู่บ้านจบ เขาจะถูกฆ่า และเอาไปเสิร์ฟเป็นเบคอน ยกเว้นแต่เขาจะพยายามทำให้ตัวเองพิเศษกว่าหมูธรรมดา ด้วยการช่วยเหลือของเพื่อนๆของเขา เขาได้ทำให้ตัวเองกลายเป็นหมูที่พิเศษ และรอดพ้นจากการถูกฆ่า

หลักการของเนื้อเรื่องนั้นจะช่วยดึงผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง และโลกที่คุณได้สร้างขึ้นมา ถ้าหากไม่มีหลักการของเนื้อเรื่องแล้ว  คุณไม่สามารถที่จะสร้างเอาไลน์ที่ดีได้ และคุณไม่สามารถเขียนหนังสือที่น่าอ่านได้

หลักการสามขาของการเขียนเอาท์ไลน์เรื่อง

หลักการนี้จะช่วยซัพพอร์ทเนื้อเรื่องหลักหรือหลักการหลักด้านบน เหมือนกับเก้าอี้ที่มีสามขา ถ้าหากขาใดขาหนึ่งหัก เก้าอี้จะล้มครืนลงมาทั้งหมด  หลักการสามขานี้ประกอบไปด้วย

-character arc จุดหักของคาแรคเตอร์
-theme ธีม
-pacing จังหวะ

มาดูกันว่าอะไรหายไป พล็อตไงหละ
คนชอบบอกว่า เนี่ยคิดพล็อต เขียนพล็อตกันเถอะๆ พล็อตนั้นหมายถึง เหตุการณ์หลักๆของนิยายหรือการ์ตูนเรื่องนั้นๆค่ะ และถูกนำเสนอออกมาเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ในการที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้น ภายนอกตัวคาแรคเตอร์ แต่ส่งผลสะท้อนไปถึงภายในของตัวคาแรคเตอร์

มีเหตุผลที่มันหายไปจากหลักการสามขา

เพราะว่านักเขียนการ์ตูน นักเขียนนิยายส่วนมาก จะพยายามแต่งเรื่องโดยการสร้างพล็อตขึ้นมา แล้วสร้างเหตุการณ์ที่สอดคล้องกันกับพล็อตนั้นๆ แล้วก็เรียงร้อยมันเข้าด้วยกัน แต่จริงๆแล้วพล็อตควรเป็นเรื่องหลังสุดเลยค่ะ ในการคิดเรื่อง และมันก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

เพราะว่าตัวพล็อตเองนั้น มันขาดสิ่งสำคัญของหลักการเนื้อเรื่องไป การที่มีพล็อตเป็นศูนย์กลางทำให้เขียนเรื่องได้ยากขึ้น  เอาไลน์ที่เป็นแค่พล็อต ที่มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นภายในเนื้อเรื่อง และไม่คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆของเนื้อเรื่องเลย จะทำให้คุณไปสู่ทางตันของเนื้อเรื่อง การเขียนไม่ออก ทำให้คุณเกิดอุปสรรคในการเขียนเนื้อเรื่องขึ้นมาได้ และทำให้คุณไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาเท่าไรนัก  นอกจากนี้ทำให้คุณเสียเวลามากกว่าเดิมในการเขียนเนื้อเรื่องลักษณะนี เพราะคุณไม่มีหลักการอะไรเอาไว้ยึดเลย คุณไม่รู้ว่าเหตุการณ์เหล่านั้นทำไมต้องเกิด เกิดจากอะไร เขียนเพื่ออะไร

ดังนั้นคนที่เป็น Pantser สามารถคิดเรื่องได้โดยมีความคิดสร้างสรรค์ได้ก็ตรงนี้ คุณทิ้งพล็อตไปเลย ในตอนคิดเรื่อง แล้วค้นพบพล็อตระหว่างทางจะดีกว่า แต่คุณยังมีหลักการของเนื้อเรื่องที่แข็งแกร่งอยู่ ซึ่งมันทำให้เนื้อเรื่องของคุณดูน่าสนใจกว่า แม้ว่าคุณจงใจจะเปลี่ยนพล็อตตอนแก้ไขงานก็ตาม

ดังนั้นหลักการทั้งหมดจะเป็น

-character arc
-Theme
-Plot
-Pacing

ทำไมถึงเรียงลำดับตามนี้ เพราะถ้าคุณเขียนตามนี้ การเขียนเรื่องของคุณจะง่ายกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า พล็อต สำคัญลำดับสาม สำคัญกว่า pacing ไม่ใช่ค่ะ พล็อตยังคงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้เสมอๆอยู่ดี

มาดูองค์ประกอบอันแรกกัน

Character arc

เอาละ ถ้าพล็อตเป็นการเรียงร้อยกันของเหตุการณ์แล้ว มันไม่เหมือนกันกับ story หรือเนื้อเรื่องเหรอ แล้วเนื้อเรื่องคืออะไร?

พูดง่ายๆคือ Story=character arc การที่เคลื่อนตัวจากจุด A ไป B เนื้อเรื่องคือการเติบโตของคาแรคเตอร์จากภายใน ไม่ใช่เหตุการณ์ภายนอก มันคือการที่คาแรคเตอร์ยากที่จะเปลี่ยนจากอีกคนเป็นอีกคน เปรียบเสมือนดักแด้ที่กำลังจะเป็นผีเสื้อ มันคือการกลายเป็นคนที่เขาสมควรที่จะเป็น

นี่คือมนุษย์และธรรมชาติของมนุษย์ การเรียนรู้ที่จะเติบโต การเอาชนะอุปสรรคต่างๆที่เข้ามา เรียนรู้ที่จะเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม กว่าเมื่อวาน เวลาที่เราเชื่อมโยงกับผู้อ่าน เราจะเชื่อมโยงถึงระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่แค่จิตสำนึกเท่านั้น

ดังนั้น character arc หรือ เนื้อเรื่องคือ แกนหลักของการเขียนเรื่อง ไม่ใช่พล็อตเรื่อง การเขียนที่ไม่มี character arc มันก็คือซีรีย์ของเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมโยงเข้าหากัน ไม่ว่าจะระเบิดภูเขาเผากระท่อมแค่ไหน ไม่ว่าจะมีไดโนเสาร์โผล่มากี่ตัว ไม่ว่าฉากจะหักมุมแค่ไหน ตราบที่เนื้อเรื่องไม่ได้ทำให้คาแรคเตอร์หลักเปลี่ยนแปลงไปจากภายใน มันก็ถือว่าเป็นเนื่อเรื่องที่ไม่ดี

คำแนะนำที่นักเขียนใหม่ๆได้รับ หรือนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ได้รับก็คือ “ทำให้คาแรคเตอร์ดูน่าสงสารสิ”
ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่รู้หรอกว่าการทำให้คาแรคเตอร์ดูน่าสงสาร มันคืออะไร และทำได้ยังไง
ทำให้เป็นเด็กกำพร้าเหรอ หรืออยู่คนเดียวในโลกอันโหดร้าย คาแรคเตอร์ที่น่าสงสารปฏิเสธโอกาสที่ดีๆเหรอ
หรือมีจุดบกพร่องอย่างเช่น ขี้อาย หรืองุ่มง่าม

ดังนั้นนักเขียนการ์ตูนจึงพยายามทำให้คาแรคเตอร์น่าสงสาร โดยการใส่จุดอ่อนต่างๆจากลิสต์เข้าไป โดยไม่ได้ดูว่ามันเข้ากันกับแก่นเรื่องหรือเปล่า และก็คิดว่านั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วในการทำให้นักอ่านลงทุนในคาแรคเตอร์ มันไม่เพียงพอค่ะ และหนังสือคุณจะถูกทิ้งกลางคันแน่นอน

เตือนอีกทีว่า character arc คือส่วนสำคัญจุดหนึ่งในหลักการสามขาของเนื้อเรื่อง  character arc คือการเคลื่อนตัวของจุดอารมณ์ A ไปสู่จุดอารมณ์ B ค่ะ การเคลื่อนตัว หมายถึง มันต้องมีพัฒนาการระหว่างจุด A ไปจุด B คือคาแรคเตอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว

ในทางกลับกัน อย่าทำให้คาแรคเตอร์คุณดูน่าสงสาร ให้ทำให้คาแรคเตอร์คุณ มีข้อเสีย มีจุดอ่อน อย่าเอาจุดอ่อนไปยัดในคาแรคเตอร์เพื่อทำให้เขาดูน่าสงสารค่ะ เช่น สีผม สีตา สีผิว หรือ จุดอ่อนอย่างขี้อาย งุ่มง่าม แต่ให้ใส่จุดอ่อน ที่มันดูอันตรายต่อคาแรคเตอร์ที่ทำให้คาแรคเตอร์ใช้ชีวิตได้ไม่เป็นสุข และอาจจะอันตรายต่อผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน character arc เกี่ยวกับการทำให้คาแรคเตอร์นั้นเป็นคาแรคเตอร์ที่ดีขึ้น ทางใดทางหนึ่งค่ะ คาแรคเตอร์ที่เขาควรจะเป็นแบบนั้น แต่ไม่ได้เป็นจนกว่าจะเกิดการเดินทางครั้งนี้

 

 

The post การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 2:หลักการเขียนเนื้อเรื่องที่ดีและทำความรู้จัก Character arc appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2ufUEXn
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: