หน้าเว็บ

วันพุธ, มิถุนายน 21, 2560

10 ทิปส์การลง สีน้ำ ที่ทำให้ชีวิต ‘มือใหม่’ ง่ายดายขึ้น

คนหลายคนอายจากการใช้ สีน้ำ เพราะว่าเขากลัวว่ามันจะยากที่จะควบคุม ในขณะที่มันเป็นจริงที่ว่า  สีน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ยากที่จะฝึกให้ถึงขั้นบรมครู มันง่ายและประหยัดในการที่จะเริ่มต้น และเมื่อคุณเริ่มฝึกมัน คุณจะพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด

 เมื่อคุณเริ่ม สี,น้ำและพู่กันเป็นสิ่งที่ต้องการ มันง่ายขนาดนั้นเลย ไม่ว่าคุณจะเริ่มใช้สีน้ำเป็นอุปกรณ์พื้นฐานของคุณ หรือคุณจะเริ่มใช้มันเพราะต้องการศึกษาภาพเพนท์สีน้ำมันหรือสีอะคริลิค รางวัลนั้นล้ำค่ายิ่งและการที่สีน้ำนั้นคาดเดาไม่ได้เป็นอะไรที่แหล่มพอสมควรค่ะ
ต่อไปนี้เป็นทิปส์การลงสีน้ำที่อยากเอามาฝากกัน

1.ใช้ สีน้ำ แพนในการลงสี

cr:http://ift.tt/2rTJnbj

สีน้ำนั้นมีสามแบบคือ สีน้ำเหลว,สีหลอดและแบบแพน คุณจะเริ่มจากแบบไหนก็ได้ แต่ว่าการเริ่มจากแบบแพนนั้นประหยัด,พกพาง่าย และมีสีให้เลือกจำนวนมาก คุณอาจจะลองสีน้ำแพน 24 สีของวินเซอร์ มีพู่กันเบอร์สามแถมมาให้ พร้อมกับสีปริมาณหนึ่งในราคาที่เหมาะสม

2.ใช้แปรง 3,4 ด้ามในการลงสีและดูแลมันอย่างดี

cr:http://ift.tt/2soCTVp

หัวแปรงสีน้ำนั้นมีความนุ่ม,ขนยาวที่เอาไว้เคลื่อนน้ำสีไปรอบๆ อันที่ดีที่สุดนั้นทำมาจากขนสัตว์ เช่น Sable หรือ ขนกระรอก แต่พวกนี้หายากและแพง ดังนั้นแปรงขนสังเคราะห์ที่ดีๆนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาและมันแพงน้อยกว่า คุณอาจจะต้องทดลองเพื่อทำการตัดสินใจว่ารูปร่างแปรงและขนาดไหนที่คุณชอบ เพราะมันขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ

ถึงแม้ว่ามีรูปร่างของแปรงและขนาดให้เลือกหลากหลาย คุณอาจจะต้องการพู่กันแบนสำหรับลงสีและพู่กันกลมหลายๆอันสำหรับเก็บรายละเอียด อย่างเช่น พู่กันกลมเบอร์ 12,พู่กันกลมเบอร์ 10 พู่กันกลมเบอร์ 6 และ พู่กันแบนขนาด 1″ ซักสองอันหรือใกล้เคียง( 20 มิลลิเมตรมีค่าเท่ากับ 1 นิ้ว)

ล้างหัวแปรงให้ทั่วด้วยน้ำที่ไหลลงมาและสบู่ปริมาณเล็กน้อย ถ้าต้องการ เมื่อวาดภาพเสร็จ และซับน้ำด้วยกระดาษทิชชู่หนาๆหรือผ้าขี้ริ้วโดยบีบมันเบาๆ และปรับหัวด้วยนิ้วและใส่ในที่ใส่พู่กันให้เรียบร้อย หัวแปรงจะได้ไม่บานและพัง

ก่อนที่จะลงทุนกับแปรงชั้นดี คุณสามารถที่จะใช้แปรงที่แพงน้อยกว่าในการที่จะทดลองด้วยขนาดและรูปร่าง และอาจจะลองใช้แปรงทาสีบ้านแบบนุ่มในการลองลงสีดู อาจจะเสี่ยงต่อขนหลุดร่วงไปบนภาพ แต่ถ้าคุณแค่ทดลองดู มันอาจจะไม่ได้น่ารำคาญอย่างที่คิด

 3.ใช้กระดาษที่หนากว่า 140 lb

ยิ่งกระดาษหนักเท่าไหร่ กระดาษยิ่งหนาเท่านั้น 300lb เป็นกระดาษที่หนาที่สุด เหมือนการ์ดบอร์ด และสามารถรับน้ำได้มากโดยไม่งอ นั่นคือสิ่งที่เราต้องการหลีกเลี่ยง กระดาษ 140lb นั้นใช้กันอยู่ทั่วไป และอาจจะต้องการในการขึงกระดาษขึ้นอยู่กับสไตล์ในการลงสีของคุณ และขึ้นอยู่กับคุณต้องการน้ำในปริมาณมากหรือเปล่า กระดาษ 90lb นั้นบางเกินไปที่จะทดลองและฝึก

คุณสามารถซื้อกระดาษเขียนสีน้ำเป็นแผ่นแยกกัน ไม่ว่าจะเป็นเล่ม หรือเป็นบล็อค เราแนะนำว่าให้ซื้อเล่มหรือที่ดีกว่าคือซื้อบล็อค นี่จะทำให้คุณมีพื้นผิวที่เรียบ หนาแน่น และกระดาษที่ขึงตึงจนกว่าสีจะแห้งและคุณเริ่มต้นที่จะตัดมันออกมาจากบล็อคและเริ่มที่จะเพนท์ภาพใหม่ กระดาษเล่มที่มีเนื้อกระดาษหนานั้นเร็วและง่ายที่จะใช้ด้วยเช่นกัน

4.วางแผนภาพของคุณจากสว่างไปมืด

ด้วยสีน้ำที่คุณเพนท์จากสว่างไปมืด เว้นขาวไว้ในบริเวณที่แสงจัด ดังนั้นคุณต้องการคิดก่อนว่าบริเวณนั้นอยู่ตรงไหน คุณถึงจะเพนท์บริเวณรอบๆ คุณสามารถหลีกเลี่ยงการเพนท์บริเวณนั้นหรือคุณอาจจะใช้กาวกันสีในบริเวณเหล่านี้เพื่อที่จะกันมัน กาวกันสีนั้นแห้งเป็นยาง ดังนั้นคุณจึงสามารถถูมันออกอย่างง่ายดาย คุณอาจจะใช้เทปหรือเพนเตอร์เทปในการที่จะมาสก์สีบริเวณที่คุณต้องการให้เป็นสีขาว

5.ผสมสีให้มากกว่าปริมาณที่เราต้องการจริง

มือใหม่นั้นมักจะระวังในปริมาณของสีที่พวกเขาผสม พวกเขาผสมเพียงเล็กน้อยและผสมอย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้ตื่นตระหนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เราต้องการลงสี แล้วสีมีไม่พอ ดังนั้นควรจะผสมให้มากกว่าที่เราต้องการสักนิด มากกว่าการที่พยายามผสมสีใหม่ให้เหมือนเดิมเป๊ะๆ

6.เทสต์สีบนกระดาษก่อนเพนท์

มันยากที่จะบอกสีเพนท์ว่าเป็นสีอะไรจากการมองจานสี เพราะเวลาแห้วมันจะสว่างขึ้นบนกระดาษมากกว่าที่มันปรากฏตอนเปียก มีกระดาษติดมือเสมอเพื่อที่จะเทสต์สีก่อนที่จะลงสีบนภาพวาดของคุณ ดังนั้นคุณจะรู้แน่ชัดว่าคุณต้องการสีอะไรและน้ำหนักสีประมาณไหน

7.ใช้ที่ใส่น้ำขนาดใหญ่และเปลี่ยนน้ำใหม่ให้สะอาดอยู่เสมอ

ศิลปินที่มีประสบการณ์น้อยมักจะใช้ที่ใส่น้ำขนาดเล็กเพื่อที่จะทำความสะอาดแปรงระหว่างสีแต่ละสี พวกเขาพบว่าน้ำนั้นดำมืดและทำให้สีเป็นโคลนและเปลี่ยนสีให้เป็นโทนสีน้ำตาล ทางที่ดีที่สุดในการที่จะคงสีให้สะอาดนั้นก็คือการเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ และน้ำจะสะอาดมากถ้าคุณใช้ที่ใส่น้ำขนาดใหญ่ ในความเป็นจริง นักวาดหรือศิลปินบางคน ใช้ที่น้ำสองอัน อันนึงใช้ล้างพู่กัน และอีกอันใช้สำหรับทำให้พู่กันเปียกก่อนที่จะลงสี ถ้าคุณเริ่มเห็นน้ำเป็นสีน้ำตาล นี่เป็นเวลาที่จะเปลี่ยนน้ำ

8.    อย่าผสมสีเกิน

ทางที่จะหลีกเลี่ยงสีเป็นโคลนและกลายเป็นโทนน้ำตาลนั้นก็คือ หลีกเลี่ยงที่จะใช้สีหลายๆสีด้วยกัน การเข้าใจทฤษฏีสีและหลักการผสมสีนั้นเป็นเรื่องจำเป็น และพยายามที่จะห้ามตัวเองไม่ให้ผสมสีมากกว่าสองสีเข้าด้วยกันในครั้งเดียวนั้นก็ช่วย คุณสามารถทำให้สีนั้นเป็นชั้นๆโดยการระบายเคลือบหรือการระบายแบบเปียกบนแห้ง หรือใส่สีลงไปบนพื้นผิวที่มีความชุ่มของน้ำ(เปียกบนเปียก)

9.อย่าพยายามทำให้สีน้ำเหมือนสีอะคริลิค หรือสีน้ำมัน

ความสวยงามของการลงสีน้ำคือความโปร่งใสและการส่องแสงของมัน

อย่าทำงานเกินไป ความแข็งแกร่งของสีน้ำก็คือความสามารถในการแสดงความซับซ้อนของสีโดยเปิดเผยชั้นของสีใสๆ มันอนุญาติให้แสงผ่านชั้นของสีและสะท้อนกลับมายังสีขาวของกระดาษ พยายามลงบางๆ ในการที่จะควบคุมสีแต่โปร่งใสน้อยกว่าให้ใช้น้ำน้อยลง สำหรับความโปร่งใสที่มากกว่าและเอฟเฟคที่คาดเดาไม่ได้ให้ใช้น้ำเยอะกว่า พยายามที่จะหาความสมดุลย์ที่เวิร์คสำหรับคุณ

10.อย่ากังวลเรื่องความผิดพลาด

คนหลายคนคิดว่าคุณไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดในสีน้ำได้ สิ่งนี้ไม่จริง มีวิธีหลายวิธีในการที่จะแก้ไข”ข้อผิดพลาด” เหล่านั้น ถ้าคุณไม่สามารถอยู่กับมันได้ คุณสามารถเอาทิชชู่เปียกชุ่มซับสีออก หรือซับสีที่เกินจากพู่กัน หรือแม้แต่ Mr.clean ยางลบมหัศจรรย์ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงบริเวณนั้นอย่างเห็นได้ชัดโดยการระบายสีทับ คุณสามารถระบายสีใหม่ทั้งหมดภายใต้น้ำเปียกไหลชุ่ม

ดูวีดีโอนี้ในการที่จะดูเด็บ วัตสันใช้ยางลบมหัศจรรย์ในการที่จะลบภาพวาดเธอและนำมาใช้ใหม่

 อ้างอิง:http://ift.tt/2rTCqXG

The post 10 ทิปส์การลง สีน้ำ ที่ทำให้ชีวิต ‘มือใหม่’ ง่ายดายขึ้น appeared first on ILLUSTCOURSE.



from WordPress http://ift.tt/2rTHivZ
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: