หน้าเว็บ

วันจันทร์, กันยายน 18, 2560

แรงบันดาลใจ ต่างกับ ลอกเลียนแบบ ยังไง ตอนที่ 2

ไปเจอบล็อคต่างประเทศอันหนึ่งมาค่ะ เลยนำมาสรุปพร้อมใส่ความคิดเห็นตัวเองให้อ่านกันเป็นแรงบันดาลใจต่างจากลอกเลียนแบบยังไงตอนที่ 2 ค่ะ 

ตอนที่ 1

แรงบันดาลใจกับก็อปปี้ต่างกันยังไง

ก่อนอื่น หลายๆคนคงข้องใจกับคำว่า good artist copy,great artist steal ของ artist ชื่อดังอย่าง Pablo Picasso มาดูกันว่าคาเมรอน โมล นักออกแบบเว็บได้ตีความการเรียนรู้ของมนุษย์ในเรื่องนี้ว่าอย่างไร เขาจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับของการเรียนรู้ด้านการออกแบบ นั่นก็คือ

1.Copy แต่ไม่ได้สร้างอะไรใหม่ๆ

กรณีนี้ทำไป ก็ไม่ได้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมค่ะ หรือว่าทำยังไงก็งานดูดีสู้ที่เป็นต้นฉบับไม่ได้อยู่แล้ว แต่คนเรามักจะคิดซับซ้อนเกินไปว่า การเรียนรู้จะต้องรอแรงบันดาลใจ จะต้องรอนั่นนี่ก่อน แล้วค่อยมาวาดรูปหรือทำสิ่งนั้นๆ ทั้งที่จริงๆแล้ววิธีฝึกที่ง่ายมากๆเลยก็คือการลอกเลียนแบบไปก่อนจนคุ้นมือ เมื่อเรารู้สึกชอบในการวาดภาพเมื่อไร เรื่องสไตล์นั้นมาทีหลัง ถ้าเจอก็ไม่ยากแล้วทำบ่อยๆเดี๋ยวคนก็ติดตา ทั้งนี้การ copy ช่วยให้คุณเก่งขึ้นได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้นค่ะ เรามาดูระดับที่สองนั้นก็คือ

2.copy ตัวเอง

นั่นก็คือไปค้นหารูปเก่าๆ ของตัวเอง เสก็ตซ์ที่ยังไม่เคยวาดให้เสร็จ นำมาทำให้ดีกว่าเดิม

 

 

3.ดูดจากแหล่งที่ไม่ปะติดปะต่อกัน เสมือนคุ้ยหาสมบัติหรือซากของเก่าที่ขายได้

หรืออัญมณีจากกองขยะจำนวนมาก ดูตามเว็บต่างๆ ,แม็กกาซีน แหล่งต่างๆให้เยอะมากที่สุด แล้วนำมันมาปะติดปะต่อ ไอน์สไตน์เคยพูดไว้ว่า

 The secret to creativity is knowing how to hide your sources-Albert Ainstein

ความลับของความคิดสร้างสรรค์ก็คือรู้ว่าจะซ่อนแหล่งที่มาอย่างไร

ก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน แม้แต่ไอน์สไตน์ยังพูดแบบนี้ แต่เข้าใจคอนเซปต์ของข้อนี้นะ

แล้วเว็บ NADZ ก็บอกอีกว่า การ”ขโมย”ในความหมายของ Pablo Picasso ในความคิดเขา คิดว่าเหมือนกับคนๆหนึ่งที่เจออัญมณีในก้อนหิน เสร็จแล้วเขาก็ขุดเอาอัญมณีออกจากก้อนหินแล้วนำไปเป็นของตัวเอง แต่คนเราไม่ใช่นักสร้างมาแต่กำเนิด แต่เราเป็นนักพัฒนาและปรับปรุง ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ทุกอย่างมาดีอยู่แล้ว เสมือนกับนกที่สามารถบินบนท้องฟ้าได้ เครื่องบิน ก็ไปเลียนแบบนกมาอีกทีหนึ่ง แล้วในกรณีนี้เครดิตที่ว่านกเป็นไอเดียเริ่มต้นของเครื่องบินได้หายไปไหม ก็ไม่….

Picasso meant that great artists steal designs which are not popular and then hides the source. The artists grope into forgotten, unnoticed and lost designs transforming it into a much better piece. –NATZGRAPHIC

ปิกาสโซ่อาจจะหมายความว่า ศิลปินที่ดี ขโมยการออกแบบจากแหล่งที่ไม่ป็อปปูลาร์หรือไม่เป็นที่นิยม แล้วก็ไม่บอกที่มาว่ามาจากที่ไหน ศิลปินรวมเอาการออกแบบที่ไม่เป็นที่สังเกตุนั้น และสูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว เปลี่ยนให้มันเป็นชิ้นงานที่ดีขึ้น

Great artists are never caught stealing for they are able to convert the designs meticulously. No one will ever notice that they actually stole it. They don’t merely create a replica but generate an original piece which actually came from a different work. That’s what makes them great artists.–NADZGRAPHIC

ศิลปินที่ดีไม่เคยโดยจับเรื่องการขโมยงานเลย เพราะเขาสามารถปรับดีไซน์ได้อย่างแจ่มจนไม่มีใครรู้ว่านั่นคือการขโมย เพราะเขาไม่ได้ทำของทำเทียมไก่กา แต่สร้างงานออริจินัลที่มาพร้อมกับงานที่แตกต่างกัน นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาเป็นศิลปินที่ดี

การพูดอย่างนี้หรือหาบทความมาสนับสนุนไม่ได้หมายความว่าเราเข้าข้างหรือเห็นด้วยกับการขโมยงานแต่สิ่งที่สำคัญน่าจะเป็นเรื่องการปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดแนวความคิดเดิมที่หาได้จากหลายๆแหล่งมากกว่าที่จะลอกมาตรงๆทั้งดุ้นตรงๆ

 

รูปนี้คุณคิดว่านี่คือแรงบันดาลใจ หรือ ลอกเลียนแบบ?ลองคิดกันเล่นๆดูค่ะ

แล้วรูปนี้หละ?

อ้างอิง:

Drawing the Line – Inspiration or Plagiarism?

http://ift.tt/2l8GNuB

The post แรงบันดาลใจ ต่างกับ ลอกเลียนแบบ ยังไง ตอนที่ 2 appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2ffntyN
via IFTTT

แรงบันดาลใจ ต่างกับ ลอกเลียนแบบ ยังไง ตอนที่ 2

ไปเจอบล็อคต่างประเทศอันหนึ่งมาค่ะ เลยนำมาสรุปพร้อมใส่ความคิดเห็นตัวเองให้อ่านกันเป็นแรงบันดาลใจต่างจากลอกเลียนแบบยังไงตอนที่ 2 ค่ะ 

ตอนที่ 1

แรงบันดาลใจกับก็อปปี้ต่างกันยังไง

ก่อนอื่น หลายๆคนคงข้องใจกับคำว่า good artist copy,great artist steal ของ artist ชื่อดังอย่าง Pablo Picasso มาดูกันว่าคาเมรอน โมล นักออกแบบเว็บได้ตีความการเรียนรู้ของมนุษย์ในเรื่องนี้ว่าอย่างไร เขาจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับของการเรียนรู้ด้านการออกแบบ นั่นก็คือ

1.Copy แต่ไม่ได้สร้างอะไรใหม่ๆ

กรณีนี้ทำไป ก็ไม่ได้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมค่ะ หรือว่าทำยังไงก็งานดูดีสู้ที่เป็นต้นฉบับไม่ได้อยู่แล้ว แต่คนเรามักจะคิดซับซ้อนเกินไปว่า การเรียนรู้จะต้องรอแรงบันดาลใจ จะต้องรอนั่นนี่ก่อน แล้วค่อยมาวาดรูปหรือทำสิ่งนั้นๆ ทั้งที่จริงๆแล้ววิธีฝึกที่ง่ายมากๆเลยก็คือการลอกเลียนแบบไปก่อนจนคุ้นมือ เมื่อเรารู้สึกชอบในการวาดภาพเมื่อไร เรื่องสไตล์นั้นมาทีหลัง ถ้าเจอก็ไม่ยากแล้วทำบ่อยๆเดี๋ยวคนก็ติดตา ทั้งนี้การ copy ช่วยให้คุณเก่งขึ้นได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้นค่ะ เรามาดูระดับที่สองนั้นก็คือ

2.copy ตัวเอง

นั่นก็คือไปค้นหารูปเก่าๆ ของตัวเอง เสก็ตซ์ที่ยังไม่เคยวาดให้เสร็จ นำมาทำให้ดีกว่าเดิม

 

 

3.ดูดจากแหล่งที่ไม่ปะติดปะต่อกัน เสมือนคุ้ยหาสมบัติหรือซากของเก่าที่ขายได้

หรืออัญมณีจากกองขยะจำนวนมาก ดูตามเว็บต่างๆ ,แม็กกาซีน แหล่งต่างๆให้เยอะมากที่สุด แล้วนำมันมาปะติดปะต่อ ไอน์สไตน์เคยพูดไว้ว่า

 The secret to creativity is knowing how to hide your sources-Albert Ainstein

ความลับของความคิดสร้างสรรค์ก็คือรู้ว่าจะซ่อนแหล่งที่มาอย่างไร

ก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน แม้แต่ไอน์สไตน์ยังพูดแบบนี้ แต่เข้าใจคอนเซปต์ของข้อนี้นะ

แล้วเว็บ NADZ ก็บอกอีกว่า การ”ขโมย”ในความหมายของ Pablo Picasso ในความคิดเขา คิดว่าเหมือนกับคนๆหนึ่งที่เจออัญมณีในก้อนหิน เสร็จแล้วเขาก็ขุดเอาอัญมณีออกจากก้อนหินแล้วนำไปเป็นของตัวเอง แต่คนเราไม่ใช่นักสร้างมาแต่กำเนิด แต่เราเป็นนักพัฒนาและปรับปรุง ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ทุกอย่างมาดีอยู่แล้ว เสมือนกับนกที่สามารถบินบนท้องฟ้าได้ เครื่องบิน ก็ไปเลียนแบบนกมาอีกทีหนึ่ง แล้วในกรณีนี้เครดิตที่ว่านกเป็นไอเดียเริ่มต้นของเครื่องบินได้หายไปไหม ก็ไม่….

Picasso meant that great artists steal designs which are not popular and then hides the source. The artists grope into forgotten, unnoticed and lost designs transforming it into a much better piece. –NATZGRAPHIC

ปิกาสโซ่อาจจะหมายความว่า ศิลปินที่ดี ขโมยการออกแบบจากแหล่งที่ไม่ป็อปปูลาร์หรือไม่เป็นที่นิยม แล้วก็ไม่บอกที่มาว่ามาจากที่ไหน ศิลปินรวมเอาการออกแบบที่ไม่เป็นที่สังเกตุนั้น และสูญหายไปตามกาลเวลาแล้ว เปลี่ยนให้มันเป็นชิ้นงานที่ดีขึ้น

Great artists are never caught stealing for they are able to convert the designs meticulously. No one will ever notice that they actually stole it. They don’t merely create a replica but generate an original piece which actually came from a different work. That’s what makes them great artists.–NADZGRAPHIC

ศิลปินที่ดีไม่เคยโดยจับเรื่องการขโมยงานเลย เพราะเขาสามารถปรับดีไซน์ได้อย่างแจ่มจนไม่มีใครรู้ว่านั่นคือการขโมย เพราะเขาไม่ได้ทำของทำเทียมไก่กา แต่สร้างงานออริจินัลที่มาพร้อมกับงานที่แตกต่างกัน นั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาเป็นศิลปินที่ดี

การพูดอย่างนี้หรือหาบทความมาสนับสนุนไม่ได้หมายความว่าเราเข้าข้างหรือเห็นด้วยกับการขโมยงานแต่สิ่งที่สำคัญน่าจะเป็นเรื่องการปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดแนวความคิดเดิมที่หาได้จากหลายๆแหล่งมากกว่าที่จะลอกมาตรงๆทั้งดุ้นตรงๆ

 

รูปนี้คุณคิดว่านี่คือแรงบันดาลใจ หรือ ลอกเลียนแบบ?ลองคิดกันเล่นๆดูค่ะ

แล้วรูปนี้หละ?

อ้างอิง:

Drawing the Line – Inspiration or Plagiarism?

http://ift.tt/2l8GNuB

The post แรงบันดาลใจ ต่างกับ ลอกเลียนแบบ ยังไง ตอนที่ 2 appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2ffntyN
via IFTTT

ทวีตเป็นเหตุ!นักวาดต่างประเทศแห่กันวาด Wendy’s เป็นสาวอนิเมะหน้าลัลล้า

เวนดี้ส์ คือแฟรนไชส์แฮมเบอร์เกอร์จากอเมริกา เวนดี้ส์ถือว่าเป็นกิจการแฟรนไชส์สาขาภัตตาคารฟาสต์ฟู้ดประเภทแฮมเบอร์เกอร์ อยู่ในอันดับที่ 3 รองจากแมคโดนัลด์ โดยผู้ก่อตั้ง คุณอาร์ เดวิด โทมัส เอาชื่อมาจากลูกสาว น้องเวนดี้
อ่านข้อมูลเวนดี้ต่อได้ที่: http://ift.tt/2h8StkO

ทีนี้เรื่องมาจาก การที่เวนดี้จัดโปรโมชันอาหาร 4 for 4$ แล้วฮาร์ดี้ที่เป็นร้านฟาสต์ฟู้ดเหมือนกันทำตาม เลยทวีตทะเลาะกันนิดหน่อย

หลายๆคนบอกว่าโปรของฮาร์ดี้ดีกว่า

ก็เลยมีคนไปถามเวรดี้…เอ๊ยเวนดี้ ว่าคิดไง เวนดี้เลยตอบว่า

“ก็นะ เราชอบของแท้มากกว่าของเทียมอยู่แล้ว แล้วคุณล่ะ?”

ฮาร์ดี้เห็นเลยมาตอบโต้ว่า “แค่เป็นคนแรก ไม่ได้หมายความว่าดีนะ”

เวนดี้เลยตอบ “งั้นบอกชื่อนักบินคนที่สี่ไปดวงจันทร์หน่อย ห้ามใช้อากู๋หานะ”

เป็นเรื่องเลย ฮาร์ดี้บล็อคเลยจ้าาาาาา หลังจากนั้นเหล่านักวาดก็พากันวาดสาวเวนดี้เป็นสาวหน้ากระหยิ่มยิ้มย่อง ลัลล้า หน้าเจ้าเล่ห์แถมยังมีเวอร์ชันเอาไปรวมกับ Jinx แห่ง League of legends อีกด้วย

http://ift.tt/2hctE3S

http://ift.tt/YtcmU8

http://ift.tt/2hcXZ1U

http://ift.tt/2h9z0jG

http://ift.tt/2hbd6N8

http://ift.tt/2hclKr8

http://ift.tt/2hc3iCx

http://ift.tt/2hcMzPp


 

http://ift.tt/2haiRLc

http://ift.tt/2hclXdU

http://ift.tt/2hclXdU

http://ift.tt/2hclSqC

ที่มา

Wendy’s Got A Smug Anime Girl Makeover After Viral Tweet

The post ทวีตเป็นเหตุ!นักวาดต่างประเทศแห่กันวาด Wendy’s เป็นสาวอนิเมะหน้าลัลล้า appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2hclXKW
via IFTTT

ทวีตเป็นเหตุ!นักวาดต่างประเทศแห่กันวาด Wendy’s เป็นสาวอนิเมะหน้าลัลล้า

เวนดี้ส์ คือแฟรนไชส์แฮมเบอร์เกอร์จากอเมริกา เวนดี้ส์ถือว่าเป็นกิจการแฟรนไชส์สาขาภัตตาคารฟาสต์ฟู้ดประเภทแฮมเบอร์เกอร์ อยู่ในอันดับที่ 3 รองจากแมคโดนัลด์ โดยผู้ก่อตั้ง คุณอาร์ เดวิด โทมัส เอาชื่อมาจากลูกสาว น้องเวนดี้
อ่านข้อมูลเวนดี้ต่อได้ที่: http://ift.tt/2h8StkO

ทีนี้เรื่องมาจาก การที่เวนดี้จัดโปรโมชันอาหาร 4 for 4$ แล้วฮาร์ดี้ที่เป็นร้านฟาสต์ฟู้ดเหมือนกันทำตาม เลยทวีตทะเลาะกันนิดหน่อย

หลายๆคนบอกว่าโปรของฮาร์ดี้ดีกว่า

ก็เลยมีคนไปถามเวรดี้…เอ๊ยเวนดี้ ว่าคิดไง เวนดี้เลยตอบว่า

“ก็นะ เราชอบของแท้มากกว่าของเทียมอยู่แล้ว แล้วคุณล่ะ?”

ฮาร์ดี้เห็นเลยมาตอบโต้ว่า “แค่เป็นคนแรก ไม่ได้หมายความว่าดีนะ”

เวนดี้เลยตอบ “งั้นบอกชื่อนักบินคนที่สี่ไปดวงจันทร์หน่อย ห้ามใช้อากู๋หานะ”

เป็นเรื่องเลย ฮาร์ดี้บล็อคเลยจ้าาาาาา หลังจากนั้นเหล่านักวาดก็พากันวาดสาวเวนดี้เป็นสาวหน้ากระหยิ่มยิ้มย่อง ลัลล้า หน้าเจ้าเล่ห์แถมยังมีเวอร์ชันเอาไปรวมกับ Jinx แห่ง League of legends อีกด้วย

http://ift.tt/2hctE3S

http://ift.tt/YtcmU8

http://ift.tt/2hcXZ1U

http://ift.tt/2h9z0jG

http://ift.tt/2hbd6N8

http://ift.tt/2hclKr8

http://ift.tt/2hc3iCx

http://ift.tt/2hcMzPp


 

http://ift.tt/2haiRLc

http://ift.tt/2hclXdU

http://ift.tt/2hclXdU

http://ift.tt/2hclSqC

ที่มา

Wendy’s Got A Smug Anime Girl Makeover After Viral Tweet

The post ทวีตเป็นเหตุ!นักวาดต่างประเทศแห่กันวาด Wendy’s เป็นสาวอนิเมะหน้าลัลล้า appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2hclXKW
via IFTTT

ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์ | ตอนที่ 2

ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์

น้ำหนักสีคือปริมาณการเห็น

น้ำหนักสีคือปริมาณของข้อมูลที่มากับแสง

เรายังไม่พูดถึงสีนะคะ สำหรับตอนนี้ รังสีสามารถเป็นอ่อนหรือแก่ น้ำหนัก 0% (ความสว่าง) ก็คือไม่มีข้อมูล มันไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสีดำ เราแค่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันและรับรู้ว่ามันคือสีดำ 100% ค่าน้ำหนักสีคือปริมาณน้ำหนักสูงสุดที่เราสามารถรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง วัตถุบางอย่างสะท้อนข้อมูลมากมายที่เราและมันดูเหมือนจะสว่างต่อเรา ในขณะที่วัตถุอื่นๆนั้นดูดซับพื้นที่ส่วนใหญ่ของแสงที่โดนมันและไม่สะท้อนกลับไปมากนัก บริเวณเหล่านั้นเหมือนจะเข้ม

ภาพด้านบนทำให้เราเข้าใจ “ความต่างชัด” ความต่างชัดนั้นได้รับการระบุว่าเป็นความแตกต่างระหว่างจุด ยิ่งระยะห่างระหว่างจุดมาก ความต่างชัดก็จะยิ่งมาก เอาละ แต่น้ำหนักสีที่แตกต่างกันมาจากไหน?

ระดับสีเทา:ความต่างชัด

 

ดูภาพด้านล่าง ผู้สังเกตุการณ์ได้รับข้อมูล X จาก A และ Y จาก B จากที่คุณเห็น X นั้นกว้างมากกว่า Y (X=3y) ยิ่งระยะห่างมากเท่าไร ข้อมูลก็จะหายไปมากเท่านั้น เพราะฉะนั้นในสถานการณ์แรกเราจะเห็น B ในสีที่ถูกต้อง แต่ในขณะที่ A สีจะด้านกว่า

สถานการณ์อีกสถานการณ์หนึ่งแตกต่างกันออกไป X และ Y ดูจะเหมือนกัน (X=1.3y) ดังนั้นมันก็จะนำมาซึ่งปริมาณข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน

มุมมองจากผู้สังเกตุการณ์จะเป็นแบบนี้

เราต้องอธิบายการสูญเสียตรงนั้น ทำไมแสงจึงเดินทางมาจากดวงดาวที่ห่างไกลมาถึงตาคุณโดยไม่ถูกขัดเลย แต่ตึกที่อยู่ห่างออกไปไมล์หนึ่งกลับเสียรายละเอียดและความต่างชัดไป ?มันเป็นเรื่องของบรรยากาศ คุณเห็นชั้นบางๆของอากาศเมื่อมองขึ้นไปมากกว่ามองไปข้างหน้า และอากาศก็เต็มไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆที่ล่องลอยอยู่ รังสีได้เดินทางมาสู่ตาในระยะไกลมากและโดนชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้และเสียข้อมูลไป ในขณะเดียวกัน ชิ้นส่วนเหล่านี้อาจจะสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างมายังตาคุณ ส่วนมากจะเป็นสีฟ้าของท้องฟ้า และในท้ายที่สุด คุณจะเห็นสีเดิมที่เหลือผสมกับความไม่บริสุทธิ์ มันอาจจะดูสด แต่มันมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย และมี noise เยอะมาก

มาสู่ภาพประกอบของเราต่อ ถ้าเราดึงข้อมูลที่เสียไปด้วยการไล่สี มันก็จะทำให้เห็นเลยว่าทำไมวัตถุที่อยู่ใกล้ถึงดูมืด และมันก็อธิบายว่าน้ำหนักที่มองเห็นที่แตกต่างกันระหว่างวัตถุที่อยู่ใกล้กันและความคล้ายคลึงของน้ำหนักของวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป ตอนนี้มันชัดเจนว่าทำไม วัตถุถึงเสียค่าความต่างชัดกับระยะห่าง

มีสิ่งที่มากกว่านั้นอีก สมองของเรารับรู้ความลึกผ่านทางการคำรวณความแตกต่างระหว่างภาพที่เห็นด้วยดวงตา และด้วยระยะห่างนี้ ความแตกต่างนี้กลายเป็นที่สิ่งไม่สำคัญ ในท้ายสุดแล้ว วัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป ก็จะดูแบน วัตถุที่อยู่ใกล้ตา ก็จะดูเป็นสามมิติ

 

ขอบ(เส้น) เป็นผลข้างเคียงของแสงที่ถูกต้องในภาพ ถ้าภาพของคุณดูแบน และคุณเขียนขอบเพื่อให้รูปร่างบริเวณนั้นดูน่าสนใจ คุณกำลังทำผิด เส้นจะเกิดขึ้นมาเองในฐานะขอบระหว่างน้ำหนักสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันจึงมีพื้นฐานมาจากความต่างชัดที่ถูกต้อง

ถ้าคุณใช้น้ำหนักเดียวกันกับวัตถุสองอย่าง คุณจะทำให้มันดูรวมเข้าด้วยกัน

 

ศิลปะแห่งการไล่เงา

หลังจากพูดถึงทฤษฏีที่คุณควรจะรู้ คุณจะมีพื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเพนท์ มาพูดถึงการปฏิบัติกันตอนนี้

การลวงตาเป็นสามมิติ

สิ้งที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการไล่เงาก็คือมันเป็นการสร้างเอฟเฟคสามมิติให้กับกระดาษเปล่าๆ อย่างไรก็ตามมันไม่มีความแตกต่างกันกับการวาดภาพสามมิติ ศิลปินสามารถหลีกเลี่ยงปัญหนี้ได้ และไปสู่การวาดสไตล์การ์ตูนแทน แต่ถ้าพวกเขาอยากพัฒนา เขาก็ต้องสู้กับศัตรูตัวฉกาจนั่นก็คือเพอร์เสปคทีฟ

เพอร์เสปคทีฟมีอะไรต้องทำเกี่ยวกับการไล่เงาหรือ?ใครๆหลายคนอาจจะคิด เพอร์เสปคทีฟเป็นเครื่องมือที่ใช้วาดวัตถุสามมิติในรูปแบบสองมิติโดยไม่ทำให้มันดูแบน และเพราะมันเป็นสามมิติ แสงจึงตกกระทบหลายทิศทาง สร้างให้เกิดไฮไลท์และแสงเงา

มาดูการทดลองเล็กน้อย พยายามที่จะไล่แสงเงาด้านล่างโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ให้มา

 

มันดูแบนใช่ไหม เหมือนแค่ไล่สีบนพื้นเรียบธรรมดา

ตอนนี้เป็นเรื่องที่แตกต่างกันออกไป วัตถุดูเป็นสามมิติ ทั้งๆที่มันเป็นรูปทรงง่ายๆ และเราก็แค่ใส่แสงเงาง่ายๆไม่ได้ไล่สีอะไร สิ่งนี้มันได้ผลได้อย่างไร  วัตถุแรกเราเห็นแค่กำแพงด้านเดียว ดังนั้นผู้สังเกตุการณ์จึงรู้สึกว่ามันเป็นกำแพงแบนๆ และไม่มีอะไรอย่างอื่น ส่วนวัตถุอีกอันมีกำแพงสามด้าน และเราก็รู้ว่าวัตถุสองมิตินั้นไม่มีทางมีกำแพงสามด้านได้ เสก็ตซ์จึงเหมือนกับเป็นภาพสามมิติ มันง่ายมากที่จะใส่ส่วนที่แสงสามารถโดน หรือไม่โดนได้

ดังนั้นในครั้งต่อไป เวลาที่คุณเตรียมเสก็ตซ์สำหรับการเพนท์ อย่าวาดเป็นลายเส้น เราอาจจะไม่ต้องการเส้น แต่เราต้องการรูปทรงสามมิติ สร้างวัตถุของคุณโดยใช้ฟิกเกอร์ในเพอร์สเปคทีฟ ทำให้รูปร่างแสดงออกมา ถ้าคุณแสดงรูปร่างออกมาชัดเจน ไม่เพียงแต่วัตถุของคุณจะดูเป็นสามมิติ แต่คุณจะพบว่าการไล่เงานั้นเป็นเรื่องที่ง่ายเช่นกัน

เมื่อการไล่แสงเงาพื้นฐานเสร็จแล้ว คุณสามารถที่จะปรับแต่งมัน แต่อย่าใส่รายละเอียดอะไรเกินนี้ การไล่เงาแบบพื้นฐานนั้นจะจำกัดแสงและทำให้คุณได้เก็บทุกส่วนอย่างคงที่

มาดูศัพท์ที่ถูกค้องเมื่อพูดถึงเรื่องแสงและเงาอย่างถูกต้องกันดีกว่า

  • Full light เป็นพื้นที่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง
  • Highlight ตำแหน่งที่ specular reflection เกิดขึ้นที่ตาคุณ มันเป็นบริเวณที่สว่างที่สุดของรูปร่าง
  • Half light พื้นที่หน้าแหล่งกำเนิดแสงมืดลงไปยังบริเวณเส้น terminator
  • Terminator เส้นเสมือนระหว่างแสงและเงา มันอาจจะคมและชัดเจนหรือนุ่มและเบลอร์
  • Core shadow พื้นที่ๆอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงและไม่ได้รับผลใดๆ
  • Reflected light แสงกระจาย(diffuse reflection)ตกกระทบเงาหลัก(core shadow) ไม่มีทางสว่างกว่าพื้นที่หน้าแหล่งกำเนิดแสง
  • Cast shadow บริเวณที่วัตถุบังอยู่ทำให้ไม่โดนแสง

 

ถึงแม้ว่ามันจะชัดเจนอยู่แล้ว บทเรียนที่คุณต้องเรียนรู้จากการทำสิ่งนี้เลยก็คือ ยิ่งแสงนั้นมีความเข้มข้นมากเท่าไร ความแตกต่างระหว่างแสงกับเงาก็จะน้อยลงเท่านั้น ดังนั้น เส้น terminator จะมีความคม เป็นสิ่งบ่งชี้ว่านั้นคือแสงสังเคราะห์ ในการที่จะหลีกเลี่ยงมัน ให้พยายามเบลอร์พื้นที่ระหว่างแสงกับเงาเสีย

 

ต่อตอนที่ 3 ในคราวถัดไปค่ะ

ที่มา

http://ift.tt/2w96LXL

The post ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์ | ตอนที่ 2 appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2h9ZqSw
via IFTTT

ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์ | ตอนที่ 2

ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์

น้ำหนักสีคือปริมาณการเห็น

น้ำหนักสีคือปริมาณของข้อมูลที่มากับแสง

เรายังไม่พูดถึงสีนะคะ สำหรับตอนนี้ รังสีสามารถเป็นอ่อนหรือแก่ น้ำหนัก 0% (ความสว่าง) ก็คือไม่มีข้อมูล มันไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสีดำ เราแค่ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันและรับรู้ว่ามันคือสีดำ 100% ค่าน้ำหนักสีคือปริมาณน้ำหนักสูงสุดที่เราสามารถรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง วัตถุบางอย่างสะท้อนข้อมูลมากมายที่เราและมันดูเหมือนจะสว่างต่อเรา ในขณะที่วัตถุอื่นๆนั้นดูดซับพื้นที่ส่วนใหญ่ของแสงที่โดนมันและไม่สะท้อนกลับไปมากนัก บริเวณเหล่านั้นเหมือนจะเข้ม

ภาพด้านบนทำให้เราเข้าใจ “ความต่างชัด” ความต่างชัดนั้นได้รับการระบุว่าเป็นความแตกต่างระหว่างจุด ยิ่งระยะห่างระหว่างจุดมาก ความต่างชัดก็จะยิ่งมาก เอาละ แต่น้ำหนักสีที่แตกต่างกันมาจากไหน?

ระดับสีเทา:ความต่างชัด

 

ดูภาพด้านล่าง ผู้สังเกตุการณ์ได้รับข้อมูล X จาก A และ Y จาก B จากที่คุณเห็น X นั้นกว้างมากกว่า Y (X=3y) ยิ่งระยะห่างมากเท่าไร ข้อมูลก็จะหายไปมากเท่านั้น เพราะฉะนั้นในสถานการณ์แรกเราจะเห็น B ในสีที่ถูกต้อง แต่ในขณะที่ A สีจะด้านกว่า

สถานการณ์อีกสถานการณ์หนึ่งแตกต่างกันออกไป X และ Y ดูจะเหมือนกัน (X=1.3y) ดังนั้นมันก็จะนำมาซึ่งปริมาณข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน

มุมมองจากผู้สังเกตุการณ์จะเป็นแบบนี้

เราต้องอธิบายการสูญเสียตรงนั้น ทำไมแสงจึงเดินทางมาจากดวงดาวที่ห่างไกลมาถึงตาคุณโดยไม่ถูกขัดเลย แต่ตึกที่อยู่ห่างออกไปไมล์หนึ่งกลับเสียรายละเอียดและความต่างชัดไป ?มันเป็นเรื่องของบรรยากาศ คุณเห็นชั้นบางๆของอากาศเมื่อมองขึ้นไปมากกว่ามองไปข้างหน้า และอากาศก็เต็มไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆที่ล่องลอยอยู่ รังสีได้เดินทางมาสู่ตาในระยะไกลมากและโดนชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้และเสียข้อมูลไป ในขณะเดียวกัน ชิ้นส่วนเหล่านี้อาจจะสะท้อนให้เห็นอะไรบางอย่างมายังตาคุณ ส่วนมากจะเป็นสีฟ้าของท้องฟ้า และในท้ายที่สุด คุณจะเห็นสีเดิมที่เหลือผสมกับความไม่บริสุทธิ์ มันอาจจะดูสด แต่มันมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย และมี noise เยอะมาก

มาสู่ภาพประกอบของเราต่อ ถ้าเราดึงข้อมูลที่เสียไปด้วยการไล่สี มันก็จะทำให้เห็นเลยว่าทำไมวัตถุที่อยู่ใกล้ถึงดูมืด และมันก็อธิบายว่าน้ำหนักที่มองเห็นที่แตกต่างกันระหว่างวัตถุที่อยู่ใกล้กันและความคล้ายคลึงของน้ำหนักของวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป ตอนนี้มันชัดเจนว่าทำไม วัตถุถึงเสียค่าความต่างชัดกับระยะห่าง

มีสิ่งที่มากกว่านั้นอีก สมองของเรารับรู้ความลึกผ่านทางการคำรวณความแตกต่างระหว่างภาพที่เห็นด้วยดวงตา และด้วยระยะห่างนี้ ความแตกต่างนี้กลายเป็นที่สิ่งไม่สำคัญ ในท้ายสุดแล้ว วัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไป ก็จะดูแบน วัตถุที่อยู่ใกล้ตา ก็จะดูเป็นสามมิติ

 

ขอบ(เส้น) เป็นผลข้างเคียงของแสงที่ถูกต้องในภาพ ถ้าภาพของคุณดูแบน และคุณเขียนขอบเพื่อให้รูปร่างบริเวณนั้นดูน่าสนใจ คุณกำลังทำผิด เส้นจะเกิดขึ้นมาเองในฐานะขอบระหว่างน้ำหนักสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันจึงมีพื้นฐานมาจากความต่างชัดที่ถูกต้อง

ถ้าคุณใช้น้ำหนักเดียวกันกับวัตถุสองอย่าง คุณจะทำให้มันดูรวมเข้าด้วยกัน

 

ศิลปะแห่งการไล่เงา

หลังจากพูดถึงทฤษฏีที่คุณควรจะรู้ คุณจะมีพื้นฐานที่ดีเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเพนท์ มาพูดถึงการปฏิบัติกันตอนนี้

การลวงตาเป็นสามมิติ

สิ้งที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการไล่เงาก็คือมันเป็นการสร้างเอฟเฟคสามมิติให้กับกระดาษเปล่าๆ อย่างไรก็ตามมันไม่มีความแตกต่างกันกับการวาดภาพสามมิติ ศิลปินสามารถหลีกเลี่ยงปัญหนี้ได้ และไปสู่การวาดสไตล์การ์ตูนแทน แต่ถ้าพวกเขาอยากพัฒนา เขาก็ต้องสู้กับศัตรูตัวฉกาจนั่นก็คือเพอร์เสปคทีฟ

เพอร์เสปคทีฟมีอะไรต้องทำเกี่ยวกับการไล่เงาหรือ?ใครๆหลายคนอาจจะคิด เพอร์เสปคทีฟเป็นเครื่องมือที่ใช้วาดวัตถุสามมิติในรูปแบบสองมิติโดยไม่ทำให้มันดูแบน และเพราะมันเป็นสามมิติ แสงจึงตกกระทบหลายทิศทาง สร้างให้เกิดไฮไลท์และแสงเงา

มาดูการทดลองเล็กน้อย พยายามที่จะไล่แสงเงาด้านล่างโดยใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ให้มา

 

มันดูแบนใช่ไหม เหมือนแค่ไล่สีบนพื้นเรียบธรรมดา

ตอนนี้เป็นเรื่องที่แตกต่างกันออกไป วัตถุดูเป็นสามมิติ ทั้งๆที่มันเป็นรูปทรงง่ายๆ และเราก็แค่ใส่แสงเงาง่ายๆไม่ได้ไล่สีอะไร สิ่งนี้มันได้ผลได้อย่างไร  วัตถุแรกเราเห็นแค่กำแพงด้านเดียว ดังนั้นผู้สังเกตุการณ์จึงรู้สึกว่ามันเป็นกำแพงแบนๆ และไม่มีอะไรอย่างอื่น ส่วนวัตถุอีกอันมีกำแพงสามด้าน และเราก็รู้ว่าวัตถุสองมิตินั้นไม่มีทางมีกำแพงสามด้านได้ เสก็ตซ์จึงเหมือนกับเป็นภาพสามมิติ มันง่ายมากที่จะใส่ส่วนที่แสงสามารถโดน หรือไม่โดนได้

ดังนั้นในครั้งต่อไป เวลาที่คุณเตรียมเสก็ตซ์สำหรับการเพนท์ อย่าวาดเป็นลายเส้น เราอาจจะไม่ต้องการเส้น แต่เราต้องการรูปทรงสามมิติ สร้างวัตถุของคุณโดยใช้ฟิกเกอร์ในเพอร์สเปคทีฟ ทำให้รูปร่างแสดงออกมา ถ้าคุณแสดงรูปร่างออกมาชัดเจน ไม่เพียงแต่วัตถุของคุณจะดูเป็นสามมิติ แต่คุณจะพบว่าการไล่เงานั้นเป็นเรื่องที่ง่ายเช่นกัน

เมื่อการไล่แสงเงาพื้นฐานเสร็จแล้ว คุณสามารถที่จะปรับแต่งมัน แต่อย่าใส่รายละเอียดอะไรเกินนี้ การไล่เงาแบบพื้นฐานนั้นจะจำกัดแสงและทำให้คุณได้เก็บทุกส่วนอย่างคงที่

มาดูศัพท์ที่ถูกค้องเมื่อพูดถึงเรื่องแสงและเงาอย่างถูกต้องกันดีกว่า

  • Full light เป็นพื้นที่ด้านหน้าของแหล่งกำเนิดแสง
  • Highlight ตำแหน่งที่ specular reflection เกิดขึ้นที่ตาคุณ มันเป็นบริเวณที่สว่างที่สุดของรูปร่าง
  • Half light พื้นที่หน้าแหล่งกำเนิดแสงมืดลงไปยังบริเวณเส้น terminator
  • Terminator เส้นเสมือนระหว่างแสงและเงา มันอาจจะคมและชัดเจนหรือนุ่มและเบลอร์
  • Core shadow พื้นที่ๆอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงและไม่ได้รับผลใดๆ
  • Reflected light แสงกระจาย(diffuse reflection)ตกกระทบเงาหลัก(core shadow) ไม่มีทางสว่างกว่าพื้นที่หน้าแหล่งกำเนิดแสง
  • Cast shadow บริเวณที่วัตถุบังอยู่ทำให้ไม่โดนแสง

 

ถึงแม้ว่ามันจะชัดเจนอยู่แล้ว บทเรียนที่คุณต้องเรียนรู้จากการทำสิ่งนี้เลยก็คือ ยิ่งแสงนั้นมีความเข้มข้นมากเท่าไร ความแตกต่างระหว่างแสงกับเงาก็จะน้อยลงเท่านั้น ดังนั้น เส้น terminator จะมีความคม เป็นสิ่งบ่งชี้ว่านั้นคือแสงสังเคราะห์ ในการที่จะหลีกเลี่ยงมัน ให้พยายามเบลอร์พื้นที่ระหว่างแสงกับเงาเสีย

 

ต่อตอนที่ 3 ในคราวถัดไปค่ะ

ที่มา

http://ift.tt/2w96LXL

The post ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์ | ตอนที่ 2 appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2h9ZqSw
via IFTTT