หน้าเว็บ

วันพุธ, กรกฎาคม 25, 2561

ทำไมถึงคิดจะหนีจาก Adobe?

ทำไมถึงคิดจะหนีจาก Adobe?
.
ตอบเลย ส่วนตัว เราไม่ชอบโมเดลจ่ายรายเดือนเลยค่ะ ถ้ากระทบใจใครก็ขออภัย
ที่เราไม่ชอบ เพราะเราไม่ได้ใช้ทุกโปรแกรมในนั้น แล้วพอต้องจ่ายรายเดือน เรามีความคิดว่าเดี๋ยวจะต้องใช้ให้คุ้ม แล้วมันไม่ผ่อนคลาย สำหรับคนอย่างเราเลย ให้ความรู้สึกเหมือนกินบุฟเฟต์ที่ต้องรีบๆทำรีบๆใช้ให้คุ้มในแต่ละเดือน แต่อาจจะมีหลายๆคนชอบรายเดือนก็ได้นะ ถ้าคนทำงานเยอะๆจริงจัง เพราะอัพเกรดสะดวก แต่ยังไงเราก็ชอบซื้อขาดมากกว่า แต่ต้องบอกจริงๆว่า Adobe อ่านเกมขาดค่ะ นาทีนี้ แต่เราอยากให้ Adobe มี pricing model ที่หลากหลายกว่านี้นะ
.
หลักๆเราอยากใช้แค่สองโปรแกรมค่ะ photoshop ,premiere แต่ก็อีกแหละ มันหาตัวเลือกแทนได้
.
1.เราคิดว่าโปรแกรม Adobe ส่วนใหญ่ พวก photoshop เราไม่ใช้เพนท์แล้วค่ะ เราใช้ Procreate กับ Clipstudio paint เพนท์ภาพแทน แล้วสองตัวนี้ซื้อขาด กับ Clip studio paint pro(ไอแพด) จ่ายรายปี 800 กว่าบาท ราคาถูกกว่ามาก ทำงานได้เท่ากันสำหรับเรา ถ้าฝึกจนคล่องแล้ว นอกจากนี้ยังมี Autodesk Sketchbook ที่ทำงานได้เหมือนกัน ดีด้วยอีก แต่ไม่มี engine ปรับแต่งสีเท่านั้นเอง ถ้าใครอยากใช้ของฟรีก็ Sketchbook,gimp
.
ส่วน engine ในการปรับแต่งสีที่ขาดไป เราก็ใช้ procreate หรือถ้าเพนท์ในคอม เราใช้ Corel painter ที่แพงหน่อยแต่ซื้อขาดเช่นกัน ตอนนี้ใช้เวอร์ชันปี 2017 อยู่ยังไม่อัพ ถ้ามีอะไรที่จะใช้ใน photoshop ก็เป็นความเคยชินที่จะจัดการภาพอะไรก็ต้องเปิด photoshop ก่อน
.
2.Premiere ดีค่ะ แต่มีโปรแกรมที่ดีเท่าๆกัน แล้วซื้อขาด เช่น Final cut proX ราคา 10,500 บาท(ยังไม่ซื้อหรอกนะT_T)
.
3.Adobe illustrator กำลังหัด Affinity designer ราคา 1,200 บาท แทนค่ะ ถ้าใครอยากใช้ของฟรี มี inkscape
จริงๆคือ เราคิดว่ามันสำคัญมากนะ ถ้าหากไม่อยากจ่าย Adobe เรายอมใช้โปรแกรมอื่น พวกโปรแกรมฟรีๆ ก็มี โปรแกรมถูกๆ ที่เป็นทางเลือกก็มี มันแสดงถึง integrity นะเราว่า ถ้าใครตังค์ถึง รายได้เยอะ แล้วพร้อมจะเรียนรู้ ก็ค่อยจ่ายเงินซื้อ Adobe ไป รายเดือน ถ้าไม่ใช่ก็ซื้อ โปรแกรมซื้อขาดหลายๆตัวก็มี คหสต.นะ แต่จะว่าไป pricing model ของ Adobe น่าจะยืดหยุ่นกว่านี้นิด
.
มันยากนะคะ การเปลี่ยนแพลตฟอร์มหรือซอฟท์แวร์ แต่พอชินแล้วจะรู้สึกว่ามันโอเค ไม่จำเป็นต้องพึ่ง photoshop หรือ Adobe ตลอดไป ถ้า Adobe จะให้เหมาเบอร์นี้นะคะ 1700 ดูเหมือนไม่แพงนะ แต่ปีนึงก็หลักหมื่นขึ้นแล้วมีซอฟท์แวร์หลายๆตัวที่เราไมไ่ด้ใช้เลยด้วยซ้ำ สำหรับเราขอสนับสนุนค่ายเล็กๆหรือซอฟท์แวร์ทางเลือกดูบ้างดีกว่าค่ะ

The post ทำไมถึงคิดจะหนีจาก Adobe? appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2AiX0uf
via IFTTT

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 22, 2561

เมื่อฝ่ายตรงข้าม ไม่ใช่ ต้วร้าย และ พันธมิตร ไม่ใช่ เพื่อนตัวเอก

ฝ่ายตรงข้าม หรือ Antagonist ในละครไทยชอบเรียกว่า ตัวร้ายๆ ที่คอยขัดขวางไม่ให้พระเอกลงเอยกับนางเอก ซึ่งจริงๆ Antagonist ไม่จำเป็นต้องร้ายค่ะ Antagonist อาจจะเป็นคนดีก็ได้ แต่เป็นคนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตัวเอก ซึ่งจริงๆ Antagonist เป็นตัวละครที่ ถ้าเขียนในอีกมุมมองหนึ่ง จะสามารถเป็นตัวเอกได้เลยด้วยซ้ำ

อะไรคือ Antagonist?

คือฝ่ายตรงข้าม ที่คิดไม่เหมือนตัวเอก แต่ว่ามีจุดมุ่งหมายเดียวกับตัวเอก และต้องการในสิ่งเดียวกันมากๆด้วยค่ะ

ในเรื่องโลลิต้า ฝั่งตรงข้ามคือตัวโลลิต้าเองค่ะ และเป็นเหตุผลที่ เราไม่ควรคิดว่า Antagonist คือตัวร้าย ซึ่งจริงๆ ตัวเอกของเรื่องคือ ฮัมเบิร์ต ถ้าเราถามว่าฝั่งตรงข้ามของฮัมเบิร์ต ตัวเอกโลลิต้าคือใคร หลายๆคนจะตอบว่า แคลร์ ควิลตี้ เด็กขี้รังแกที่ติดตามฮัมเบิร์ตและโลลิต้าไปทั่วประเทศ รอวันเวลาที่จะฉกโลลิต้ามาจากฮัมเบิร์ต แต่แท้จริงแล้ว แคลร์นั้นเป็น Ally หรือพันธมิตร ของฮัมเบิร์ตด้วยซ้ำค่ะ ไม่ใช่ฝั่งตรงข้ามหรือ Antagonist จริงๆแล้วฮัมเบิร์ตนั้นได้พบกับฝั่งตรงข้ามหลายคนในเนื้อเรื่อง แต่ในคาแรคเตอร์อาร์คหรือจุดหักเหของเขา โลลิต้า คือ Main antagonist หรือฝั่งตรงข้ามหลักๆค่ะ

วิธีในการตัดสินว่าใครคือฝั่งตรงข้าม

ดูว่าจุดมุ่งหมายภายนอก ของคาแรคเตอร์นั้นๆ ตรงกับตัวเอกหรือไม่ค่ะ เพียงแต่คาแรคเตอร์ตัวนี้ใช้วิธีการและกลยุทธในการที่จะได้สิ่งที่ต้องการ ที่แตกต่างไปจากตัวเอกของเรา จึงเป็นฝ่ายตรงข้ามค่ะ ยกตัวอย่างเช่น

เรื่องโลลิต้าเหมือนเดิมนะคะ

จุดมุ่งหมายภายนอกของฮัมเบิร์ต คือการครอบครองหัวใจ ร่างกาย และขีวิตของโลลิต้า แล้วใครล่ะคะ ที่ต้องการสิ่งเดียวกันมากที่สุด ถ้าไม่ใช่ตัวโลลิต้าเอง ความต้องการของโลลิต้ามากกว่าแคลร์ด้วยซ้ำ เธอจึงเป็นฝั่งตรงข้ามของฮัมเบิร์ตอย่างแท้จริง

ฝั่งตรงข้ามเป็นตัวแทนของ Alternate reality หรือความจริงที่แตกต่างออกไป ถ้าคาแรคเตอร์หลัก หรือตัวเอกนั้น ไปสู่จุดมุ่งหมายของเขาสำเร็จหรือล้มเหลวก็ตาม แต่ในบางทีการที่คาแรคเตอร์ไล่ตามจุดมุ่งหมายเดียวกันก็ไม่ชัดเจน บางทีคาแรคเตอร์ก็ไล่ตามสิ่งตรงกันข้ามก็มีค่ะ

พันธมิตร

พันธมิตรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเขียนเรื่องที่ดี ซึ่งมักจะถูกมองข้ามโดยนักเขียนบ่อยๆ และก็จืดจางซะจนผู้อ่านหลงลืมไปเลยก็มี และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม นักเขียนทั้งหลายถึงลืมใส่พันธมิตรลงในเนื้อเรื่องด้วย

คุณอาจจะคิดว่าพันธมิตร เป็นเพื่อน หรือตัวละครที่หลงรักตัวเอกแล้วให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือตัวเอกให้ผ่านอุปสรรคต่างๆนานาไปได้ แต่บทบาทจริงๆของพันธมิตรนั้นสำคัญมากในคาแรคเตอร์อาร์ค

พันธมิตรก็คือคนที่จะทำให้ตัวเอกเดินไปในหนทางที่ถูกต้อง หนทางที่ควรจะเป็น เพราะว่าคาแรคเตอร์ของคุณจะเบือนหน้าหนีทางแก้จุดอ่อนที่เขามี หรือจุดบกพร่องภายใน แต่เพราะว่าคุณให้จุดมุ่งหมายภายนอกให้เขาไล่ตาม เขาจะไม่ได้รับจุดมุ่งหมายนั้นจนกว่าจะแก้ไขจุดบกพร่องภายในของเขาเสียก่อนค่ะ หรือความกล้วในการแก้ไขจุดอ่อนนั้น

ตัวเอกของเรานั้นมีพลังในการที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เลิกที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว แต่เป็นเพราะว่าคุณได้ผูกจุดมุ่งหมายภายนอกกับจุดอ่อนของเขาหรือเธอ เขาจึงต้องเผชิญหน้ากับจุดอ่อนของตัวเองก่อนจะได้ในสิ่งที่เขาต้องการค่ะ

พันธมิตรนั่นเองที่ทำให้เรื่องไปสู่ ไคลแมกซ์ โดยการไล่ต้อนให้คาแรคเตอร์จนมุมและเผชิญหน้ากับจุดอ่อนของตัวเอง เพราะว่าพันธมิตรเป็นคาแรคเตอร์เดียวที่มีพลังจะทำสิ่งนั้นได้ค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นคาแรคเตอร์ที่สำคัญมากพอที่จะทำให้คาแรคเตอร์หลักหรือตัวเอกหยุดฟังความเห็นของเขา ตัวเอก ไม่สามารถปฎิเสธได้อีกต่อไปว่า จุดอ่อนของเขาต้องได้รับการเผชิญหน้า พันธมิตรได้บังคับให้เขาไปในหนทางที่ถูกต้องในที่สุด

บางทีก็ยากที่จะบ่งบอกตัวพันธมิตร ว่าเป็นใครกันแน่ อาจจะเป็นเพื่อน เป็นคนรัก หรืออาจจะเป็นในรูปของพันธมิตรที่แฝงตัวเป็นฝ่ายตรงข้าม หรืออาจจะเป็นฝ่ายตรงข้ามจริงๆก็ยังได้เลยค่ะ แต่มันเป็นพันธมิตรเสมอ ที่ไม่ให้เขามีทางเลือกที่จะหนีอีกต่อไป ไม่ทำ ก็ตายเท่านั้น และตอนนี้แหละที่ตัวเอกจะต้องเผชิญหน้ากับจุดอ่อน ของตัวเอง

ตัวละครพันธมิตร อาจจะโผล่มาไม่เท่าไรในเนื้อเรื่อง แต่คำพูด และการกระทำของตัวละครตัวนี้ มีผลกับคาแรคเตอร์หลักมาก ไม่ว่าคาแรคเตอร์นี้จะเป็นเพื่อน พี่น้อง หรือเป็นคนที่ไม่เข้ากับตัวคาแรคเตอร์เลยก็ตาม แต่ตราบใดที่ คาแรคเตอร์นี้ บังคับให้ตัวเอกต้องเผชิญหน้ากับจุดอ่อน ตัวละครนั้นถือว่าเป็นพันธมิตรค่ะ

The post เมื่อฝ่ายตรงข้าม ไม่ใช่ ต้วร้าย และ พันธมิตร ไม่ใช่ เพื่อนตัวเอก appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2uU1l0U
via IFTTT

วันเสาร์, กรกฎาคม 14, 2561

การเขียนนิยายและเนื้อเรื่องการ์ตูน:character arc ทั้งสามแบบและรายละเอียด

character arc คือการเปลี่ยนแปลงของคาแรคเตอร์ ไม่มีใครที่เหมือนเดิมเมื่อ 3 ปีที่แล้ว 10 ปีที่แล้ว ทุกคนล้วนเติบโต ไปในทางที่ดีขึ้น หรือแย่ลง character arc คือจุดเปลี่ยน ที่ทำให้คาแรคเตอร์นั้น เกิดการเติบโต เป็นอีกคนหนึ่ง เมื่อจบเรื่องแล้ว แนวทางที่คาแรคเตอร์ดำเนินไป จะขึ้นอยู่กับ 3 อย่างนี้

the change arc 

อันนี้เป็นแบบเก่าเลยที่เราเคยเห็นๆกัน ก็คือการเดินทางของฮีโร่ในรูปแบบเดิมๆ ที่คนธรรมดา กลายเป็นฮีโร่ ระหว่างทางที่เดินทางไป เนื้อเรื่องก็จะเกี่ยวข้องกับการเติบโตของคาแรคเตอร์ค่ะ มีเรื่องโกหก อะไรที่คาแรคเตอร์เชื่อบ้าง ที่ทำให้เขาหยุดหรือถูกฉุดรั้งไว้จากการเติบโต แล้วก็กลายเป็นคนที่เขาอยากจะเป็น เช่น แฮร์รี่พอตเตอร์ ได้ถูก Durdsley กรอกหูอยู่เสมอว่าเขาเป็นเด็กธรรมดาที่พ่อแม่ตายในอุบัติเหตุรถยนตร์ จนกระทั่งเขามารู้ที่หลังว่าตัวเอง เป็นพ่อมด และสามารถเอาชนะโวลเดอร์มอร์ และช่วยเหลือโลกไว้ได้

การเดินทางของแฮรี่จึงเป็นการที่เขาสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง จากความสงสัยในตัวเอง สิ่งโกหกต่างๆที่กรอกหูเขา จนช่วยเหลือโลกได้ นอกเหนือไปจากนี้ ก็ยังมีเรื่องโกหก เกี่ยวกับสเนปที่เขาเชื่อมาตลอดอีกด้วย

The growth arc

ในคาแรคเตอร์อาร์คอันนี้ คาแรคเตอร์ได้เอาชนะอุปสรรคภายใน เช่น ความอ่อนแอ ความกลัว อดีต ในขณะที่เขาเจออุปสรรคภายนอก เขาได้กลายเป็นคนที่ดีขึ้น ดีกว่าเดิม เขากลายเป็นคนที่เขาอยากเป็น จริงๆแล้วเขายังเหมือนเดิม แค่อัพเกรดเป็นตัวเอกเวอร์ชัน 2.0 เท่านั้นเอง การเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่ได้เห็นชัดมาก อย่างเช่น แซม ไวส์ แกมจี ของลอร์ดออฟเดอะริง การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะไม่ได้ถึงกับช่วยเหลือโลกก็ได้ แค่ตัวละครดีขึ้นก็พอ

มีอีกอันที่เราจะต้องดูเอาไว้ เป็นรูปแบบหนึ่งของ The growth arc นั่นก็คือ The shift arc ตอนนี้เนี่ย ตัวเอกได้เปลี่ยนมุมมองของตัวเอง เรียนรู้ทักษะหลายๆอย่าง หรือได้รับบทบาทหลายอย่าง ผลลัพธ์นั้นไม่ได้ดีขึ้น หรือมากไปกว่าจุดเริ่มต้น แค่มันแตกต่างกัน ตัวเอกไม่ได้เอาชนะอุปสรรคใดๆ แค่ได้รับทักษะใหม่ๆ เป็นตำแหน่งใหม่ๆ หรือไม่ก็ค้นพบทักษะที่เขาได้รับมา

อาร์คประเภทนี้ เราจะใช้กับคาแรคเตอร์รองเสียส่วนมาก ถ้าเนื้อเรื่องมีตัวเอกที่เปลี่ยนแปลงไปเยอะอยู่แล้ว วิธีการเขียนประเภทนี้ให้เปรียบเทียบกับจุดเริ่มต้นว่า คาแรคเตอร์ยังคงเป็นคนเดิม นิสัยเดิมๆอยู่หรือเปล่า มีบางอย่างเปลี่ยนไปเล็กน้อยแต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเป็นคนอื่นไปเลย หรือเป็นอีกคนไปเลย ก็คือเป็นอาร์คแบบนี้

The fall arc

เป็นที่รู้กันในชื่อของโศฏนาฏกรรม มันจะเป็นเรื่องของการที่ตัวเอก และการกระทำของตัวเอกได้ทำลายตัวเองหรือผู้อื่น ทำให้ตัวเองนั้นตกอยู่ในสภาพที่อันตราย โดยส่วนมาก คาแรคเตอร์จะเริ่มจากการเป็นคนที่ดี คนที่มีความสุข แต่ด้วยการกระทำต่างๆในเนื้อเรื่องทำให้เขาเปลี่ยนไปอีกขั้วหนึ่ง ตัวอย่าง อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ จากสตาร์วอร์ส์,ยากามิ ไลท์ จากเดธโน็ต

การเขียน fall arc เราจะแบ่งเป็นสามขั้น

Typical fall การเปลี่ยนแปลงของคาแรคเตอร์จากการตัดสินใจที่แย่
​Corruption คาแรคเตอร์เปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่เลวร้าย แต่ดันพึงพอใจกับสิ่งนั้น
Disillusionment คาแรคเตอร์ได้ค้นพบว่า โลกนี้ได้ทิ้งเขาไว้ อันนี้บางทีอาจจะกลายเป็น growth arc ได้
ดังนั้นเราได้เรียนรู้ถึงคาแรคเตอร์อาร์คทั้งสามประเภทแล้ว คนส่วนมากมักจะสับสนว่ามันคือการเดินทางของคาแรคเตอร์ นั่นเป็นเพราะการเดินทางของคาแรคเตอร์ได้แสดง การเปลี่ยนแปลงของคาแรคเตอร์ที่มากที่สุด และมันง่ายต่อการที่จะเข้าใจผิด ในโครงสร้างของมันสำหรับโครงสร้างของคาแรคเตอร์อาร์ค แทนที่จะเข้าใจว่ามันมีการแบ่งปันองค์ประกอบเบื้องต้น ของโครงสร้างเรื่องที่มีคาแรคเตอร์เป็นตัวดำเนินหลักและคาแรคเตอรอาร์คอื่นๆ มันเป็นโครงสร้างของเรื่องที่อยู่ภายใต้นั้นที่มันเป็นสากล ไม่ใช่”การเดินทางของคาแรคเตอร์”

ตัวอย่าง ถ้าเราต้องการให้ตัวเอก เป็นผู้นำของกลุ่มคน และต้องการให้เขาเริ่มต้นเหมือนสมาชิกในกลุ่มคนอื่นๆ ดังนั้นเราจะเขียน change arc (อย่างอื่นจะทำให้เรื่องแบนและล้มเหลวที่จะทำให้เนื้อเรื่องดูน่าเชื่อ) แต่ถ้าเขาได้กลายเป็นหัวหน้าของกลุ่มคนที่เป็นศัตรูกัน ดังนั้นเราจะมีทางได้สามทาง

-a growth arc ถ้าหากกลุ่มศัตรูคนนั้นเป็นคนเลว และตัวเอกได้เรียนรู้ความผิดพลาดของตัวเองระหว่างทาง

-a shift arc ถ้าหากกลุ่มศัตรูนั้นเป็นคนดี แต่มีความสนใจและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน

-และ a fall arc ถ้าหากกลุ่มศัตรูนั้นเป็นคนดี และตัวเอกของเราสุดท้้ายจบไปที่การเป็นผู้นำพลังความมืด

การที่รู้ว่าคาแรคเตอร์เราจะไปในแนวทางไหน เริ่มยังไง จะทำให้เรารู้ว่า เราต้องพัฒนา character arc ยังไง ซึ่งมันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าการที่เรารู้คาแรคเตอร์อาร์คตั้งแต่แรกๆ ทำให้เรารู้ว่าต้องเขียนฉากอะไรยังไง ที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อคาแรคเตอร์ และการตัดสินใจของคาแรคเตอร์ที่ทำไปตลอดเนื้อเรื่อง ไม่ใช่ในรายละเอียด ไม่ใช่สิ่งที่เขาตัดสินใจกระทำลงไปและทำลงไป แต่ด้วยทัศนคติและจุดแข็งจุดอ่อนยังไงที่เขาจะต้องนำมาใช้ในเนื้อเรื่อง

ลิงค์อ่านเพิ่มเติม . ลิงค์อ่านเพิ่มเติม 2

The post การเขียนนิยายและเนื้อเรื่องการ์ตูน:character arc ทั้งสามแบบและรายละเอียด appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2NPdWer
via IFTTT

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 12, 2561

เปิดคอร์ส Novel workshop online(มีการบ้าน) ราคา 790 บาท เรียน 11 สิงหาคมค่ะ

ในปัจจุบัน คนออกมาเป็นฟรีแลนซ์กันมาก การเขียนนิยาย เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นยุคใหม่ อีกทั้งเป็นงานที่หลายๆคนใฝ่ฝัน เพราะไม่ต้องยึดติดกับงานประจำ 9 โมงถึง 5 โมง เป็นอิสระและเป็นนายของตัวเองอย่างแท้จริง สามารถประยุกต์มาใช้ในการเขียนเนื้อเรื่องการ์ตูนได้ด้วย

การเรียนเขียนนิยายและวาดภาพประกอบปกนิยาย จะแบ่งไปด้วย 10 module หลักด้วยกันพร้อมโบนัสอีกสามตอน ครอบคลุมทั้งการเขียนนิยายและการเขียนปกภาพประกอบนิยายเลย รวมไปถึงการออกแบบปกนิยายให้สวยน่าสนใจ ดึงดูดคนซื้ออีกด้วย

มีนักเขียนนิยายอยู่สองประเภท

pantser คือคนที่ส่วนมากจะใช้วิธีการ improvisation ในการเขียนเรื่อง เขาจะตื่นเต้นเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการวางแผนชัดเจน ข้อดีของการเป็น pantser คือ การลงมือเขียนทันที แต่ด้วยความที่ขาดการวางแผน ทำให้เวลาย้อนกลับมาดูงาน มักจะมีช่องโหว่แล้วต้องย้อนมาแก้อยู่บ่อยครั้ง

Plotter คือ คนที่วางแผนพล็อตก่อนที่จะทำการเขียนทุกครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วแบบนี้ก็ให้ความตื่นเต้นไม่แพ้แบบแรกหรอก แต่ว่าข้อแตกต่างกันก็คือ การวางแผนนั้นถ้าหากมีอะไรที่แหม่งในเรื่องก็สามารถกลับมาดูที่โครงเรื่องได้ทันที

ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอันไหนดีกว่ากันค่ะ คุณอาจจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่นๆ โดยทั่วไปก็ได้ การเป็น Pantser ก็มีข้อดีอีกคือ พอลงมือเขียนทันที แล้วเราจะตื่นเต้นไปกับมันเพราะเราค้นพบเนื้อเรื่องไปกับผู้อ่านทีหลังค่ะ ถ้าคุณรู้สึกโอเคกับการทำงานลักษณะนั้นคุณก็ใช้มันต่อไป และคุณไม่ต้องแก้อะไรที่มันได้เจ๊ง

แต่คุณอ่านมาถึงตรงนี้เพราะอะไรคะ เพราะคุณอยากรู้วิธีที่จะเอาไลน์การ์ตูนและนิยายของคุณอย่างถูกต้อง และเพิ่มความเร็วในการเขียน รวมทั้งความมั่นใจในการเขียนของคุณด้วย ดังนั้นมันแปลว่าวิธีที่คุณเขียนอยู่คุณไม่พอใจ หรือคุณรู้สึกว่ามันไม่เวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น pantser หรือ plotter

มีนักเขียนการ์ตูนจำนวนมากที่ไม่ได้อยากทำเป็นอาชีพ บางคนอาจจะเขียนเป็นงานอดิเรก เพราะฉะนั้น การ pantser อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่าการเป็น Plotter ก็ได้ แต่ถ้าคุณเขียนเป็นอาชีพ การรู้วิธีเอาท์ไลน์เนื้อเรื่องจะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้นและเนื้อเรื่องไม่หลุดไปกลางทางเสียก่อน เพราะว่าการที่คุณเป็นนักเขียนมืออาชีพคุณจะต้องออกผลงานอย่างต่อเนื่องและทำให้คนไม่ลืมคุณไปเสียก่อน ทีนี้ จำนวนก็สำคัญค่ะ เพราะจำนวนเล่มที่ออก ทำให้คนตามงานเก่าๆ คุณได้

มันจะมีนักเขียนการ์ตูนบางคนที่เขียนไปเรื่อยๆ ด้นไปเรื่อยๆ แล้วเรื่องออกมาดี ถ้าคุณรู้ตัวว่าคุณไม่ใช่คนประเภทนี้ ก็เรียนรู้ที่จะเขียนเอาท์ไลน์ซะ เพราะมันดีต่อชีวิตคุณมากกกว่าในการที่จะเขียนเรื่องออกมาซักเรื่องนึงค่ะ

-วิธีในการหาไอเดียมาเขียนเรื่อง การวางเอาท์ไลน์ต่างๆ เขียนเอาท์ไลน์เรื่อง(โครงเรื่อง)ยังไงให้เรื่องดึงดูดคน
-การสร้างคาแรคเตอร์ให้ดูมีมิติ น่าสนใจ น่าอ่าน น่าค้นหา สร้างตัวเอก พันธมิตร และตัวร้าย
-character arc
-การเขียนพล็อตเรื่องยังไงให้ดูแล้วน่าสนใจน่าติดตาม
-การสร้างต้นฉบับนิยาย ด้วย program Scrivener, page และ google docs
-การร่างภาพจากบรีฟ เวลาที่ได้บรีฟมา เราจะจัดการกับบรีฟยังไง
-การหาแรงบันดาลใจ และภาพอ้างอิง และตกตะกอนไอเดีย
-การวาดภาพจริง
-การลงสี
-การวาด SD ประกอบ

BONUS

-สามารถอัพเดทนิยายได้ที่ไหนบ้าง และเขียนนิยายได้ที่ไหนบ้าง
-ขายนิยายที่ไหนได้บ้าง
-การทำ visual novel (แบบสั้น)

วิธีการเรียน

เรียนในเว็บนี้
https://ift.tt/2LalNl7

เปิด Novel workshop ค่ะเรียน 11 สิงหาคม
จะส่งพาสเวิร์ดไปให้ 1 อาทิตย์ก่อนเรียนค่ะสมัครเรียน กรอกอีเมล์ด้านล่าง

พิเศษ เฉพาะโอนภายใน 3 วันนี้ 500 บาทเท่านั้น

เมื่อสมัครเรียนโดยกรอกอีเมล์เรียบร้อย กรุณาเช็คอีเมล์เพื่อคอนเฟิร์มอีเมล์
จากนั้นให้โอนเงินมาที่บัญชี 026-2-84090-5
ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามแสควร์ ชื่อบัญชีศศิ ธนาดีโรจน์กุลนะคะ
คุณจะได้รับ newsletter ความรู้เรื่องการเขียนนิยายและการวาดปกนิยายจากเราเรื่อยๆ
จนกว่าจะเริ่มคอร์สจริงเมื่อ 11 สิงหาคมค่ะ
เมื่อสมัครแล้ว โอนแล้ว ให้โทรแจ้งที่ 0860857889 หรือแนบสลิป
ส่งมาที่ line : @illustcourse (มีแอดค่ะ)

The post เปิดคอร์ส Novel workshop online(มีการบ้าน) ราคา 790 บาท เรียน 11 สิงหาคมค่ะ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2NKbeH1
via IFTTT

เปิดคอร์ส Novel workshop online(มีการบ้าน) ราคา 790 บาท เรียน 11 สิงหาคมค่ะ

ในปัจจุบัน คนออกมาเป็นฟรีแลนซ์กันมาก การเขียนนิยาย เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นยุคใหม่ อีกทั้งเป็นงานที่หลายๆคนใฝ่ฝัน เพราะไม่ต้องยึดติดกับงานประจำ 9 โมงถึง 5 โมง เป็นอิสระและเป็นนายของตัวเองอย่างแท้จริง สามารถประยุกต์มาใช้ในการเขียนเนื้อเรื่องการ์ตูนได้ด้วย

การเรียนเขียนนิยายและวาดภาพประกอบปกนิยาย จะแบ่งไปด้วย 10 module หลักด้วยกันพร้อมโบนัสอีกสามตอน ครอบคลุมทั้งการเขียนนิยายและการเขียนปกภาพประกอบนิยายเลย รวมไปถึงการออกแบบปกนิยายให้สวยน่าสนใจ ดึงดูดคนซื้ออีกด้วย

มีนักเขียนนิยายอยู่สองประเภท

pantser คือคนที่ส่วนมากจะใช้วิธีการ improvisation ในการเขียนเรื่อง เขาจะตื่นเต้นเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการวางแผนชัดเจน ข้อดีของการเป็น pantser คือ การลงมือเขียนทันที แต่ด้วยความที่ขาดการวางแผน ทำให้เวลาย้อนกลับมาดูงาน มักจะมีช่องโหว่แล้วต้องย้อนมาแก้อยู่บ่อยครั้ง

Plotter คือ คนที่วางแผนพล็อตก่อนที่จะทำการเขียนทุกครั้ง ซึ่งจริงๆ แล้วแบบนี้ก็ให้ความตื่นเต้นไม่แพ้แบบแรกหรอก แต่ว่าข้อแตกต่างกันก็คือ การวางแผนนั้นถ้าหากมีอะไรที่แหม่งในเรื่องก็สามารถกลับมาดูที่โครงเรื่องได้ทันที

ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอันไหนดีกว่ากันค่ะ คุณอาจจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่นๆ โดยทั่วไปก็ได้ การเป็น Pantser ก็มีข้อดีอีกคือ พอลงมือเขียนทันที แล้วเราจะตื่นเต้นไปกับมันเพราะเราค้นพบเนื้อเรื่องไปกับผู้อ่านทีหลังค่ะ ถ้าคุณรู้สึกโอเคกับการทำงานลักษณะนั้นคุณก็ใช้มันต่อไป และคุณไม่ต้องแก้อะไรที่มันได้เจ๊ง

แต่คุณอ่านมาถึงตรงนี้เพราะอะไรคะ เพราะคุณอยากรู้วิธีที่จะเอาไลน์การ์ตูนและนิยายของคุณอย่างถูกต้อง และเพิ่มความเร็วในการเขียน รวมทั้งความมั่นใจในการเขียนของคุณด้วย ดังนั้นมันแปลว่าวิธีที่คุณเขียนอยู่คุณไม่พอใจ หรือคุณรู้สึกว่ามันไม่เวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น pantser หรือ plotter

มีนักเขียนการ์ตูนจำนวนมากที่ไม่ได้อยากทำเป็นอาชีพ บางคนอาจจะเขียนเป็นงานอดิเรก เพราะฉะนั้น การ pantser อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่าการเป็น Plotter ก็ได้ แต่ถ้าคุณเขียนเป็นอาชีพ การรู้วิธีเอาท์ไลน์เนื้อเรื่องจะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้นและเนื้อเรื่องไม่หลุดไปกลางทางเสียก่อน เพราะว่าการที่คุณเป็นนักเขียนมืออาชีพคุณจะต้องออกผลงานอย่างต่อเนื่องและทำให้คนไม่ลืมคุณไปเสียก่อน ทีนี้ จำนวนก็สำคัญค่ะ เพราะจำนวนเล่มที่ออก ทำให้คนตามงานเก่าๆ คุณได้

มันจะมีนักเขียนการ์ตูนบางคนที่เขียนไปเรื่อยๆ ด้นไปเรื่อยๆ แล้วเรื่องออกมาดี ถ้าคุณรู้ตัวว่าคุณไม่ใช่คนประเภทนี้ ก็เรียนรู้ที่จะเขียนเอาท์ไลน์ซะ เพราะมันดีต่อชีวิตคุณมากกกว่าในการที่จะเขียนเรื่องออกมาซักเรื่องนึงค่ะ

-วิธีในการหาไอเดียมาเขียนเรื่อง การวางเอาท์ไลน์ต่างๆ เขียนเอาท์ไลน์เรื่อง(โครงเรื่อง)ยังไงให้เรื่องดึงดูดคน
-การสร้างคาแรคเตอร์ให้ดูมีมิติ น่าสนใจ น่าอ่าน น่าค้นหา สร้างตัวเอก พันธมิตร และตัวร้าย
-character arc
-การเขียนพล็อตเรื่องยังไงให้ดูแล้วน่าสนใจน่าติดตาม
-การสร้างต้นฉบับนิยาย ด้วย program Scrivener, page และ google docs
-การร่างภาพจากบรีฟ เวลาที่ได้บรีฟมา เราจะจัดการกับบรีฟยังไง
-การหาแรงบันดาลใจ และภาพอ้างอิง และตกตะกอนไอเดีย
-การวาดภาพจริง
-การลงสี
-การวาด SD ประกอบ

BONUS

-สามารถอัพเดทนิยายได้ที่ไหนบ้าง และเขียนนิยายได้ที่ไหนบ้าง
-ขายนิยายที่ไหนได้บ้าง
-การทำ visual novel (แบบสั้น)

วิธีการเรียน

เรียนในเว็บนี้
https://ift.tt/2LalNl7

เปิด Novel workshop ค่ะเรียน 11 สิงหาคม
จะส่งพาสเวิร์ดไปให้ 1 อาทิตย์ก่อนเรียนค่ะสมัครเรียน กรอกอีเมล์ด้านล่าง

พิเศษ เฉพาะโอนภายใน 3 วันนี้ 500 บาทเท่านั้น

เมื่อสมัครเรียนโดยกรอกอีเมล์เรียบร้อย กรุณาเช็คอีเมล์เพื่อคอนเฟิร์มอีเมล์
จากนั้นให้โอนเงินมาที่บัญชี 026-2-84090-5
ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามแสควร์ ชื่อบัญชีศศิ ธนาดีโรจน์กุลนะคะ
คุณจะได้รับ newsletter ความรู้เรื่องการเขียนนิยายและการวาดปกนิยายจากเราเรื่อยๆ
จนกว่าจะเริ่มคอร์สจริงเมื่อ 11 สิงหาคมค่ะ
เมื่อสมัครแล้ว โอนแล้ว ให้โทรแจ้งที่ 0860857889 หรือแนบสลิป
ส่งมาที่ line : @illustcourse (มีแอดค่ะ)

The post เปิดคอร์ส Novel workshop online(มีการบ้าน) ราคา 790 บาท เรียน 11 สิงหาคมค่ะ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2NKbeH1
via IFTTT

การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 2:หลักการเขียนเนื้อเรื่องที่ดีและทำความรู้จัก Character arc

ตอนที่แล้ว

เนื่องจากนักเขียนการ์ตูนไทย เราสังเกตมาเยอะแล้วว่าขาดการศึกษาเรื่องของเนื้อเรื่อง เราเลยเขียนซีรีย์นี้ต่อ จากการที่เราค้นคว้ามาเป็นระยะเวลานาน จากหนังสือต่างประเทศหลายเล่มด้วยกันในการเขียนเรื่อง มาดูกันต่อ

จากตอนที่แล้ว

pantser คือคนที่ส่วนมากจะใช้วิธีการ improvisation ในการเขียนเรื่อง เขาจะตื่นเต้นเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆโดยไม่มีการวางแผนชัดเจน ข้อดีของการเป็น pantser คือ การลงมือเขียนทันที แต่ด้วยความที่ขาดการวางแผน ทำให้เวลาย้อนกลับมาดูงาน มักจะมีช่องโหว่แล้วต้องย้อนมาแก้อยู่บ่อยครั้ง
.
Plotter  คือ คนที่วางแผนพล็อตก่อนที่จะทำการเขียนทุกครั้ง ซึ่งจริงๆแล้วแบบนี้ก็ให้ความตื่นเต้นไม่แพ้แบบแรกหรอก แต่ว่าข้อแตกต่างกันก็คือ การวางแผนนั้นถ้าหากมีอะไรที่แหม่งในเรื่องก็สามารถกลับมาดูที่โครงเรื่องได้ทันที

ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอันไหนดีกว่ากันค่ะ คุณอาจจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่นๆโดยทั่วไปก็ได้ การเป็น Pantser ก็มีข้อดีอีกคือ พอลงมือเขียนทันที แล้วเราจะตื่นเต้นไปกับมันเพราะเราค้นพบเนื้อเรื่องไปกับผู้อ่านทีหลังค่ะ ถ้าคุณรู้สึกโอเคกับการทำงานลักษณะนั้นคุณก็ใช้มันต่อไป และคุณไม่ต้องแก้อะไรที่มันได้เจ๊ง

แต่คุณอ่านโพสต์นี้เพราะอะไรคะ เพราะคุณอยากรู้วิธีที่จะเอาไลน์การ์ตูนและนิยายของคุณอย่างถูกต้อง และเพิ่มความเร็วในการเขียน รวมทั้งความมั่นใจในการเขียนของคุณด้วย ดังนั้นมันแปลว่าวิธีที่คุณเขียนอยู่คุณไม่พอใจ หรือคุณรู้สึกว่ามันไม่เวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น pantser หรือ plotter

มีนักเขียนการ์ตูนจำนวนมากที่ไม่ได้อยากทำเป็นอาชีพ บางคนอาจจะเขียนเป็นงานอดิเรก เพราะฉะนั้น การ pantsing อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่าการเป็น Plotter ก็ได้ แต่ถ้าคุณเขียนเป็นอาชีพ การรู้วิธีเอาท์ไลน์เนื้อเรื่องจะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้นและเนื้อเรื่องไม่หลุดไปกลางทางเสียก่อน เพราะว่าการที่คุณเป็นนักเขียนมืออาชีพคุณจะต้องออกผลงานอย่างต่อเนื่องและทำให้คนไม่ลืมคุณไปเสียก่อน ทีนี้ จำนวนก็สำคัญค่ะ เพราะจำนวนเล่มที่ออก ทำให้คนตามงานเก่าๆคุณได้

มันจะมีนักเขียนการ์ตูนบางคนที่เขียนไปเรื่อยๆ ด้นไปเรื่อยๆแล้วเรื่องออกมาดี ถ้าคุณรู้ตัวว่าคุณไม่ใช่คนประเภทนี้ ก็เรียนรู้ที่จะเขียนเอาท์ไลน์ซะ เพราะมันดีต่อชีวิตคุณมากกกว่าในการที่จะเขียนเรื่องออกมาซักเรื่องนึงค่ะ

หลักการของการเขียนเนื้อเรื่องของทุกเรื่อง

คุณสามารถเอาวิธีนี้ไปใช้กับทุกเนื้อเรื่อง ทุกแนวการเขียน ทุกช่วงอายุค่ะ หลักการนี้เป็นจริงในทุกเนื้อเรื่อง และเป็นจริงในทุกเนื้อเรื่องที่เขียนได้ดี

1.มีคาแรคเตอร์
2.คาแรคเตอร์ต้องการอะไรบางอย่าง
3.แต่บางอย่างกันไว้ไม่ให้เขาได้สิ่งที่เขาได้ง่ายดายนัก
4.ดังนั้นเขาจึงติดกับแรงนั้น
5.และไม่ล้มเหลวก็สำเร็จ

เช่น

แมงมุมเพื่อนรัก

วิลเบอร์ หมูน้อย ได้ต้องการสิ่งต่างๆมากมายในเรื่องของเขา แต่สิ่งที่เขาต้องการที่สุดคือการมีชีวิตอยู่
เขากลัวว่าเมื่องานเทศกาลของหมู่บ้านจบ เขาจะถูกฆ่า และเอาไปเสิร์ฟเป็นเบคอน ยกเว้นแต่เขาจะพยายามทำให้ตัวเองพิเศษกว่าหมูธรรมดา ด้วยการช่วยเหลือของเพื่อนๆของเขา เขาได้ทำให้ตัวเองกลายเป็นหมูที่พิเศษ และรอดพ้นจากการถูกฆ่า

หลักการของเนื้อเรื่องนั้นจะช่วยดึงผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง และโลกที่คุณได้สร้างขึ้นมา ถ้าหากไม่มีหลักการของเนื้อเรื่องแล้ว  คุณไม่สามารถที่จะสร้างเอาไลน์ที่ดีได้ และคุณไม่สามารถเขียนหนังสือที่น่าอ่านได้

หลักการสามขาของการเขียนเอาท์ไลน์เรื่อง

หลักการนี้จะช่วยซัพพอร์ทเนื้อเรื่องหลักหรือหลักการหลักด้านบน เหมือนกับเก้าอี้ที่มีสามขา ถ้าหากขาใดขาหนึ่งหัก เก้าอี้จะล้มครืนลงมาทั้งหมด  หลักการสามขานี้ประกอบไปด้วย

-character arc จุดหักของคาแรคเตอร์
-theme ธีม
-pacing จังหวะ

มาดูกันว่าอะไรหายไป พล็อตไงหละ
คนชอบบอกว่า เนี่ยคิดพล็อต เขียนพล็อตกันเถอะๆ พล็อตนั้นหมายถึง เหตุการณ์หลักๆของนิยายหรือการ์ตูนเรื่องนั้นๆค่ะ และถูกนำเสนอออกมาเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ในการที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้น ภายนอกตัวคาแรคเตอร์ แต่ส่งผลสะท้อนไปถึงภายในของตัวคาแรคเตอร์

มีเหตุผลที่มันหายไปจากหลักการสามขา

เพราะว่านักเขียนการ์ตูน นักเขียนนิยายส่วนมาก จะพยายามแต่งเรื่องโดยการสร้างพล็อตขึ้นมา แล้วสร้างเหตุการณ์ที่สอดคล้องกันกับพล็อตนั้นๆ แล้วก็เรียงร้อยมันเข้าด้วยกัน แต่จริงๆแล้วพล็อตควรเป็นเรื่องหลังสุดเลยค่ะ ในการคิดเรื่อง และมันก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

เพราะว่าตัวพล็อตเองนั้น มันขาดสิ่งสำคัญของหลักการเนื้อเรื่องไป การที่มีพล็อตเป็นศูนย์กลางทำให้เขียนเรื่องได้ยากขึ้น  เอาไลน์ที่เป็นแค่พล็อต ที่มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นภายในเนื้อเรื่อง และไม่คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆของเนื้อเรื่องเลย จะทำให้คุณไปสู่ทางตันของเนื้อเรื่อง การเขียนไม่ออก ทำให้คุณเกิดอุปสรรคในการเขียนเนื้อเรื่องขึ้นมาได้ และทำให้คุณไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาเท่าไรนัก  นอกจากนี้ทำให้คุณเสียเวลามากกว่าเดิมในการเขียนเนื้อเรื่องลักษณะนี เพราะคุณไม่มีหลักการอะไรเอาไว้ยึดเลย คุณไม่รู้ว่าเหตุการณ์เหล่านั้นทำไมต้องเกิด เกิดจากอะไร เขียนเพื่ออะไร

ดังนั้นคนที่เป็น Pantser สามารถคิดเรื่องได้โดยมีความคิดสร้างสรรค์ได้ก็ตรงนี้ คุณทิ้งพล็อตไปเลย ในตอนคิดเรื่อง แล้วค้นพบพล็อตระหว่างทางจะดีกว่า แต่คุณยังมีหลักการของเนื้อเรื่องที่แข็งแกร่งอยู่ ซึ่งมันทำให้เนื้อเรื่องของคุณดูน่าสนใจกว่า แม้ว่าคุณจงใจจะเปลี่ยนพล็อตตอนแก้ไขงานก็ตาม

ดังนั้นหลักการทั้งหมดจะเป็น

-character arc
-Theme
-Plot
-Pacing

ทำไมถึงเรียงลำดับตามนี้ เพราะถ้าคุณเขียนตามนี้ การเขียนเรื่องของคุณจะง่ายกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า พล็อต สำคัญลำดับสาม สำคัญกว่า pacing ไม่ใช่ค่ะ พล็อตยังคงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้เสมอๆอยู่ดี

มาดูองค์ประกอบอันแรกกัน

Character arc

เอาละ ถ้าพล็อตเป็นการเรียงร้อยกันของเหตุการณ์แล้ว มันไม่เหมือนกันกับ story หรือเนื้อเรื่องเหรอ แล้วเนื้อเรื่องคืออะไร?

พูดง่ายๆคือ Story=character arc การที่เคลื่อนตัวจากจุด A ไป B เนื้อเรื่องคือการเติบโตของคาแรคเตอร์จากภายใน ไม่ใช่เหตุการณ์ภายนอก มันคือการที่คาแรคเตอร์ยากที่จะเปลี่ยนจากอีกคนเป็นอีกคน เปรียบเสมือนดักแด้ที่กำลังจะเป็นผีเสื้อ มันคือการกลายเป็นคนที่เขาสมควรที่จะเป็น

นี่คือมนุษย์และธรรมชาติของมนุษย์ การเรียนรู้ที่จะเติบโต การเอาชนะอุปสรรคต่างๆที่เข้ามา เรียนรู้ที่จะเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม กว่าเมื่อวาน เวลาที่เราเชื่อมโยงกับผู้อ่าน เราจะเชื่อมโยงถึงระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่แค่จิตสำนึกเท่านั้น

ดังนั้น character arc หรือ เนื้อเรื่องคือ แกนหลักของการเขียนเรื่อง ไม่ใช่พล็อตเรื่อง การเขียนที่ไม่มี character arc มันก็คือซีรีย์ของเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมโยงเข้าหากัน ไม่ว่าจะระเบิดภูเขาเผากระท่อมแค่ไหน ไม่ว่าจะมีไดโนเสาร์โผล่มากี่ตัว ไม่ว่าฉากจะหักมุมแค่ไหน ตราบที่เนื้อเรื่องไม่ได้ทำให้คาแรคเตอร์หลักเปลี่ยนแปลงไปจากภายใน มันก็ถือว่าเป็นเนื่อเรื่องที่ไม่ดี

คำแนะนำที่นักเขียนใหม่ๆได้รับ หรือนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ได้รับก็คือ “ทำให้คาแรคเตอร์ดูน่าสงสารสิ”
ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่รู้หรอกว่าการทำให้คาแรคเตอร์ดูน่าสงสาร มันคืออะไร และทำได้ยังไง
ทำให้เป็นเด็กกำพร้าเหรอ หรืออยู่คนเดียวในโลกอันโหดร้าย คาแรคเตอร์ที่น่าสงสารปฏิเสธโอกาสที่ดีๆเหรอ
หรือมีจุดบกพร่องอย่างเช่น ขี้อาย หรืองุ่มง่าม

ดังนั้นนักเขียนการ์ตูนจึงพยายามทำให้คาแรคเตอร์น่าสงสาร โดยการใส่จุดอ่อนต่างๆจากลิสต์เข้าไป โดยไม่ได้ดูว่ามันเข้ากันกับแก่นเรื่องหรือเปล่า และก็คิดว่านั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วในการทำให้นักอ่านลงทุนในคาแรคเตอร์ มันไม่เพียงพอค่ะ และหนังสือคุณจะถูกทิ้งกลางคันแน่นอน

เตือนอีกทีว่า character arc คือส่วนสำคัญจุดหนึ่งในหลักการสามขาของเนื้อเรื่อง  character arc คือการเคลื่อนตัวของจุดอารมณ์ A ไปสู่จุดอารมณ์ B ค่ะ การเคลื่อนตัว หมายถึง มันต้องมีพัฒนาการระหว่างจุด A ไปจุด B คือคาแรคเตอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว

ในทางกลับกัน อย่าทำให้คาแรคเตอร์คุณดูน่าสงสาร ให้ทำให้คาแรคเตอร์คุณ มีข้อเสีย มีจุดอ่อน อย่าเอาจุดอ่อนไปยัดในคาแรคเตอร์เพื่อทำให้เขาดูน่าสงสารค่ะ เช่น สีผม สีตา สีผิว หรือ จุดอ่อนอย่างขี้อาย งุ่มง่าม แต่ให้ใส่จุดอ่อน ที่มันดูอันตรายต่อคาแรคเตอร์ที่ทำให้คาแรคเตอร์ใช้ชีวิตได้ไม่เป็นสุข และอาจจะอันตรายต่อผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน character arc เกี่ยวกับการทำให้คาแรคเตอร์นั้นเป็นคาแรคเตอร์ที่ดีขึ้น ทางใดทางหนึ่งค่ะ คาแรคเตอร์ที่เขาควรจะเป็นแบบนั้น แต่ไม่ได้เป็นจนกว่าจะเกิดการเดินทางครั้งนี้

 

 

The post การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 2:หลักการเขียนเนื้อเรื่องที่ดีและทำความรู้จัก Character arc appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2ufUEXn
via IFTTT

การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 2:หลักการเขียนเนื้อเรื่องที่ดีและทำความรู้จัก Character arc

ตอนที่แล้ว

เนื่องจากนักเขียนการ์ตูนไทย เราสังเกตมาเยอะแล้วว่าขาดการศึกษาเรื่องของเนื้อเรื่อง เราเลยเขียนซีรีย์นี้ต่อ จากการที่เราค้นคว้ามาเป็นระยะเวลานาน จากหนังสือต่างประเทศหลายเล่มด้วยกันในการเขียนเรื่อง มาดูกันต่อ

จากตอนที่แล้ว

pantser คือคนที่ส่วนมากจะใช้วิธีการ improvisation ในการเขียนเรื่อง เขาจะตื่นเต้นเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆโดยไม่มีการวางแผนชัดเจน ข้อดีของการเป็น pantser คือ การลงมือเขียนทันที แต่ด้วยความที่ขาดการวางแผน ทำให้เวลาย้อนกลับมาดูงาน มักจะมีช่องโหว่แล้วต้องย้อนมาแก้อยู่บ่อยครั้ง
.
Plotter  คือ คนที่วางแผนพล็อตก่อนที่จะทำการเขียนทุกครั้ง ซึ่งจริงๆแล้วแบบนี้ก็ให้ความตื่นเต้นไม่แพ้แบบแรกหรอก แต่ว่าข้อแตกต่างกันก็คือ การวางแผนนั้นถ้าหากมีอะไรที่แหม่งในเรื่องก็สามารถกลับมาดูที่โครงเรื่องได้ทันที

ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าอันไหนดีกว่ากันค่ะ คุณอาจจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่นๆโดยทั่วไปก็ได้ การเป็น Pantser ก็มีข้อดีอีกคือ พอลงมือเขียนทันที แล้วเราจะตื่นเต้นไปกับมันเพราะเราค้นพบเนื้อเรื่องไปกับผู้อ่านทีหลังค่ะ ถ้าคุณรู้สึกโอเคกับการทำงานลักษณะนั้นคุณก็ใช้มันต่อไป และคุณไม่ต้องแก้อะไรที่มันได้เจ๊ง

แต่คุณอ่านโพสต์นี้เพราะอะไรคะ เพราะคุณอยากรู้วิธีที่จะเอาไลน์การ์ตูนและนิยายของคุณอย่างถูกต้อง และเพิ่มความเร็วในการเขียน รวมทั้งความมั่นใจในการเขียนของคุณด้วย ดังนั้นมันแปลว่าวิธีที่คุณเขียนอยู่คุณไม่พอใจ หรือคุณรู้สึกว่ามันไม่เวิร์ค ไม่ว่าจะเป็น pantser หรือ plotter

มีนักเขียนการ์ตูนจำนวนมากที่ไม่ได้อยากทำเป็นอาชีพ บางคนอาจจะเขียนเป็นงานอดิเรก เพราะฉะนั้น การ pantsing อาจจะเหมาะกับคุณมากกว่าการเป็น Plotter ก็ได้ แต่ถ้าคุณเขียนเป็นอาชีพ การรู้วิธีเอาท์ไลน์เนื้อเรื่องจะทำให้คุณทำงานง่ายขึ้นและเนื้อเรื่องไม่หลุดไปกลางทางเสียก่อน เพราะว่าการที่คุณเป็นนักเขียนมืออาชีพคุณจะต้องออกผลงานอย่างต่อเนื่องและทำให้คนไม่ลืมคุณไปเสียก่อน ทีนี้ จำนวนก็สำคัญค่ะ เพราะจำนวนเล่มที่ออก ทำให้คนตามงานเก่าๆคุณได้

มันจะมีนักเขียนการ์ตูนบางคนที่เขียนไปเรื่อยๆ ด้นไปเรื่อยๆแล้วเรื่องออกมาดี ถ้าคุณรู้ตัวว่าคุณไม่ใช่คนประเภทนี้ ก็เรียนรู้ที่จะเขียนเอาท์ไลน์ซะ เพราะมันดีต่อชีวิตคุณมากกกว่าในการที่จะเขียนเรื่องออกมาซักเรื่องนึงค่ะ

หลักการของการเขียนเนื้อเรื่องของทุกเรื่อง

คุณสามารถเอาวิธีนี้ไปใช้กับทุกเนื้อเรื่อง ทุกแนวการเขียน ทุกช่วงอายุค่ะ หลักการนี้เป็นจริงในทุกเนื้อเรื่อง และเป็นจริงในทุกเนื้อเรื่องที่เขียนได้ดี

1.มีคาแรคเตอร์
2.คาแรคเตอร์ต้องการอะไรบางอย่าง
3.แต่บางอย่างกันไว้ไม่ให้เขาได้สิ่งที่เขาได้ง่ายดายนัก
4.ดังนั้นเขาจึงติดกับแรงนั้น
5.และไม่ล้มเหลวก็สำเร็จ

เช่น

แมงมุมเพื่อนรัก

วิลเบอร์ หมูน้อย ได้ต้องการสิ่งต่างๆมากมายในเรื่องของเขา แต่สิ่งที่เขาต้องการที่สุดคือการมีชีวิตอยู่
เขากลัวว่าเมื่องานเทศกาลของหมู่บ้านจบ เขาจะถูกฆ่า และเอาไปเสิร์ฟเป็นเบคอน ยกเว้นแต่เขาจะพยายามทำให้ตัวเองพิเศษกว่าหมูธรรมดา ด้วยการช่วยเหลือของเพื่อนๆของเขา เขาได้ทำให้ตัวเองกลายเป็นหมูที่พิเศษ และรอดพ้นจากการถูกฆ่า

หลักการของเนื้อเรื่องนั้นจะช่วยดึงผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง และโลกที่คุณได้สร้างขึ้นมา ถ้าหากไม่มีหลักการของเนื้อเรื่องแล้ว  คุณไม่สามารถที่จะสร้างเอาไลน์ที่ดีได้ และคุณไม่สามารถเขียนหนังสือที่น่าอ่านได้

หลักการสามขาของการเขียนเอาท์ไลน์เรื่อง

หลักการนี้จะช่วยซัพพอร์ทเนื้อเรื่องหลักหรือหลักการหลักด้านบน เหมือนกับเก้าอี้ที่มีสามขา ถ้าหากขาใดขาหนึ่งหัก เก้าอี้จะล้มครืนลงมาทั้งหมด  หลักการสามขานี้ประกอบไปด้วย

-character arc จุดหักของคาแรคเตอร์
-theme ธีม
-pacing จังหวะ

มาดูกันว่าอะไรหายไป พล็อตไงหละ
คนชอบบอกว่า เนี่ยคิดพล็อต เขียนพล็อตกันเถอะๆ พล็อตนั้นหมายถึง เหตุการณ์หลักๆของนิยายหรือการ์ตูนเรื่องนั้นๆค่ะ และถูกนำเสนอออกมาเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ในการที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้น ภายนอกตัวคาแรคเตอร์ แต่ส่งผลสะท้อนไปถึงภายในของตัวคาแรคเตอร์

มีเหตุผลที่มันหายไปจากหลักการสามขา

เพราะว่านักเขียนการ์ตูน นักเขียนนิยายส่วนมาก จะพยายามแต่งเรื่องโดยการสร้างพล็อตขึ้นมา แล้วสร้างเหตุการณ์ที่สอดคล้องกันกับพล็อตนั้นๆ แล้วก็เรียงร้อยมันเข้าด้วยกัน แต่จริงๆแล้วพล็อตควรเป็นเรื่องหลังสุดเลยค่ะ ในการคิดเรื่อง และมันก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

เพราะว่าตัวพล็อตเองนั้น มันขาดสิ่งสำคัญของหลักการเนื้อเรื่องไป การที่มีพล็อตเป็นศูนย์กลางทำให้เขียนเรื่องได้ยากขึ้น  เอาไลน์ที่เป็นแค่พล็อต ที่มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นภายในเนื้อเรื่อง และไม่คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆของเนื้อเรื่องเลย จะทำให้คุณไปสู่ทางตันของเนื้อเรื่อง การเขียนไม่ออก ทำให้คุณเกิดอุปสรรคในการเขียนเนื้อเรื่องขึ้นมาได้ และทำให้คุณไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์ที่ออกมาเท่าไรนัก  นอกจากนี้ทำให้คุณเสียเวลามากกว่าเดิมในการเขียนเนื้อเรื่องลักษณะนี เพราะคุณไม่มีหลักการอะไรเอาไว้ยึดเลย คุณไม่รู้ว่าเหตุการณ์เหล่านั้นทำไมต้องเกิด เกิดจากอะไร เขียนเพื่ออะไร

ดังนั้นคนที่เป็น Pantser สามารถคิดเรื่องได้โดยมีความคิดสร้างสรรค์ได้ก็ตรงนี้ คุณทิ้งพล็อตไปเลย ในตอนคิดเรื่อง แล้วค้นพบพล็อตระหว่างทางจะดีกว่า แต่คุณยังมีหลักการของเนื้อเรื่องที่แข็งแกร่งอยู่ ซึ่งมันทำให้เนื้อเรื่องของคุณดูน่าสนใจกว่า แม้ว่าคุณจงใจจะเปลี่ยนพล็อตตอนแก้ไขงานก็ตาม

ดังนั้นหลักการทั้งหมดจะเป็น

-character arc
-Theme
-Plot
-Pacing

ทำไมถึงเรียงลำดับตามนี้ เพราะถ้าคุณเขียนตามนี้ การเขียนเรื่องของคุณจะง่ายกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่า พล็อต สำคัญลำดับสาม สำคัญกว่า pacing ไม่ใช่ค่ะ พล็อตยังคงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนได้เสมอๆอยู่ดี

มาดูองค์ประกอบอันแรกกัน

Character arc

เอาละ ถ้าพล็อตเป็นการเรียงร้อยกันของเหตุการณ์แล้ว มันไม่เหมือนกันกับ story หรือเนื้อเรื่องเหรอ แล้วเนื้อเรื่องคืออะไร?

พูดง่ายๆคือ Story=character arc การที่เคลื่อนตัวจากจุด A ไป B เนื้อเรื่องคือการเติบโตของคาแรคเตอร์จากภายใน ไม่ใช่เหตุการณ์ภายนอก มันคือการที่คาแรคเตอร์ยากที่จะเปลี่ยนจากอีกคนเป็นอีกคน เปรียบเสมือนดักแด้ที่กำลังจะเป็นผีเสื้อ มันคือการกลายเป็นคนที่เขาสมควรที่จะเป็น

นี่คือมนุษย์และธรรมชาติของมนุษย์ การเรียนรู้ที่จะเติบโต การเอาชนะอุปสรรคต่างๆที่เข้ามา เรียนรู้ที่จะเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม กว่าเมื่อวาน เวลาที่เราเชื่อมโยงกับผู้อ่าน เราจะเชื่อมโยงถึงระดับจิตใต้สำนึก ไม่ใช่แค่จิตสำนึกเท่านั้น

ดังนั้น character arc หรือ เนื้อเรื่องคือ แกนหลักของการเขียนเรื่อง ไม่ใช่พล็อตเรื่อง การเขียนที่ไม่มี character arc มันก็คือซีรีย์ของเหตุการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมโยงเข้าหากัน ไม่ว่าจะระเบิดภูเขาเผากระท่อมแค่ไหน ไม่ว่าจะมีไดโนเสาร์โผล่มากี่ตัว ไม่ว่าฉากจะหักมุมแค่ไหน ตราบที่เนื้อเรื่องไม่ได้ทำให้คาแรคเตอร์หลักเปลี่ยนแปลงไปจากภายใน มันก็ถือว่าเป็นเนื่อเรื่องที่ไม่ดี

คำแนะนำที่นักเขียนใหม่ๆได้รับ หรือนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่ได้รับก็คือ “ทำให้คาแรคเตอร์ดูน่าสงสารสิ”
ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่รู้หรอกว่าการทำให้คาแรคเตอร์ดูน่าสงสาร มันคืออะไร และทำได้ยังไง
ทำให้เป็นเด็กกำพร้าเหรอ หรืออยู่คนเดียวในโลกอันโหดร้าย คาแรคเตอร์ที่น่าสงสารปฏิเสธโอกาสที่ดีๆเหรอ
หรือมีจุดบกพร่องอย่างเช่น ขี้อาย หรืองุ่มง่าม

ดังนั้นนักเขียนการ์ตูนจึงพยายามทำให้คาแรคเตอร์น่าสงสาร โดยการใส่จุดอ่อนต่างๆจากลิสต์เข้าไป โดยไม่ได้ดูว่ามันเข้ากันกับแก่นเรื่องหรือเปล่า และก็คิดว่านั่นเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้วในการทำให้นักอ่านลงทุนในคาแรคเตอร์ มันไม่เพียงพอค่ะ และหนังสือคุณจะถูกทิ้งกลางคันแน่นอน

เตือนอีกทีว่า character arc คือส่วนสำคัญจุดหนึ่งในหลักการสามขาของเนื้อเรื่อง  character arc คือการเคลื่อนตัวของจุดอารมณ์ A ไปสู่จุดอารมณ์ B ค่ะ การเคลื่อนตัว หมายถึง มันต้องมีพัฒนาการระหว่างจุด A ไปจุด B คือคาแรคเตอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว

ในทางกลับกัน อย่าทำให้คาแรคเตอร์คุณดูน่าสงสาร ให้ทำให้คาแรคเตอร์คุณ มีข้อเสีย มีจุดอ่อน อย่าเอาจุดอ่อนไปยัดในคาแรคเตอร์เพื่อทำให้เขาดูน่าสงสารค่ะ เช่น สีผม สีตา สีผิว หรือ จุดอ่อนอย่างขี้อาย งุ่มง่าม แต่ให้ใส่จุดอ่อน ที่มันดูอันตรายต่อคาแรคเตอร์ที่ทำให้คาแรคเตอร์ใช้ชีวิตได้ไม่เป็นสุข และอาจจะอันตรายต่อผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน character arc เกี่ยวกับการทำให้คาแรคเตอร์นั้นเป็นคาแรคเตอร์ที่ดีขึ้น ทางใดทางหนึ่งค่ะ คาแรคเตอร์ที่เขาควรจะเป็นแบบนั้น แต่ไม่ได้เป็นจนกว่าจะเกิดการเดินทางครั้งนี้

 

 

The post การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 2:หลักการเขียนเนื้อเรื่องที่ดีและทำความรู้จัก Character arc appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2ufUEXn
via IFTTT

วันจันทร์, กรกฎาคม 09, 2561

คำถามจากทางบ้าน:ฝึกฝนตัวเองยังไง อยากเข้านิเทศศิลป์

สวัสดีครับพี่ผมชื่อม่อนนะ ผมเห็นพี่ตามเว็บอ่ะเเละพี่ก็เก่งมาก ผมอยากสอบถามว่าพี่ฝึกฝนตัวเองยังไงหรือเรียนคณะอะไรเเบบนี้อ่ะครับ เพราะตอนนี้ผมอยู่ม.6ผมจะเข้านิเทศศิลป์เลยอยากสอบถามพี่ครับ ถ้าไม่สะดวกตอบหรืออธิบายก็ไม่ต้องรีบนะครับ

วิธีการฝึกฝนของพี่จะบอกว่ามันก็ไม่ยากหรอกทุกคนก็ทำได้นั่นแหละคือแรกๆพี่ก็วาดตามแบบก่อนเห็นแบบที่ชอบก็นำมาวาดตามเลยไม่ได้คิดอะไรมากว่าจะต้องฝึกพื้นฐานอะไรแล้วก็พื้นฐานก็ไม่ได้มีเยอะเหมือนคนอื่นแต่ว่าพี่ค่อยค่อยใส่พื้นฐานเข้าไปทีละเล็กทีละน้อย เพราะว่าการฝึกวาดรูปนั้นมันจะต้องเริ่มมาจากความชอบก่อน ถ้าเราชอบการวาดรูปเราจะทำได้ดี หารูปที่ง่ายๆมาฝึกก่อน พอมีกำลังใจก็ฝึกรูปยากขึ้น ยากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็เรียนพื้นฐานไปด้วยเพื่อทำให้พื้นเราแน่นขึ้น พวกพื้นฐานการ drawing อะไรพวกนี้จะละเลยไม่ได้เลยเพราะว่ามันเป็นพื้นในการวาดรูปที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในอนาคต

ถ้าน้องอยากเข้านิเทศศิลป์พี่แนะนำว่าควรฝึกพื้นฐานเยอะๆแล้วก็ฝึกพื้นฐานการใช้โปรแกรมด้วยส่วนหนึ่งเพราะว่านิเทศศิลป์เป็น commercial Art  มันจะต้องมีการใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวค่อนข้างเยอะดังนั้นการเป็นพื้นฐานโปรแกรมก็จะดีค่ะ

พี่หวังว่าน้องจะได้คำตอบที่โอเคนะคะสำหรับใครที่มีคำถามอะไรก็ Message มาได้ทางเพจค่ะจะทยอยนำมาตอบให้นะคะไม่ทาง podcast ก็ทางบลอคค่ะ

The post คำถามจากทางบ้าน:ฝึกฝนตัวเองยังไง อยากเข้านิเทศศิลป์ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2L0W6GU
via IFTTT

คำถามจากทางบ้าน:ฝึกฝนตัวเองยังไง อยากเข้านิเทศศิลป์

สวัสดีครับพี่ผมชื่อม่อนนะ ผมเห็นพี่ตามเว็บอ่ะเเละพี่ก็เก่งมาก ผมอยากสอบถามว่าพี่ฝึกฝนตัวเองยังไงหรือเรียนคณะอะไรเเบบนี้อ่ะครับ เพราะตอนนี้ผมอยู่ม.6ผมจะเข้านิเทศศิลป์เลยอยากสอบถามพี่ครับ ถ้าไม่สะดวกตอบหรืออธิบายก็ไม่ต้องรีบนะครับ

วิธีการฝึกฝนของพี่จะบอกว่ามันก็ไม่ยากหรอกทุกคนก็ทำได้นั่นแหละคือแรกๆพี่ก็วาดตามแบบก่อนเห็นแบบที่ชอบก็นำมาวาดตามเลยไม่ได้คิดอะไรมากว่าจะต้องฝึกพื้นฐานอะไรแล้วก็พื้นฐานก็ไม่ได้มีเยอะเหมือนคนอื่นแต่ว่าพี่ค่อยค่อยใส่พื้นฐานเข้าไปทีละเล็กทีละน้อย เพราะว่าการฝึกวาดรูปนั้นมันจะต้องเริ่มมาจากความชอบก่อน ถ้าเราชอบการวาดรูปเราจะทำได้ดี หารูปที่ง่ายๆมาฝึกก่อน พอมีกำลังใจก็ฝึกรูปยากขึ้น ยากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็เรียนพื้นฐานไปด้วยเพื่อทำให้พื้นเราแน่นขึ้น พวกพื้นฐานการ drawing อะไรพวกนี้จะละเลยไม่ได้เลยเพราะว่ามันเป็นพื้นในการวาดรูปที่จะทำให้เราเก่งขึ้นในอนาคต

ถ้าน้องอยากเข้านิเทศศิลป์พี่แนะนำว่าควรฝึกพื้นฐานเยอะๆแล้วก็ฝึกพื้นฐานการใช้โปรแกรมด้วยส่วนหนึ่งเพราะว่านิเทศศิลป์เป็น commercial Art  มันจะต้องมีการใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวค่อนข้างเยอะดังนั้นการเป็นพื้นฐานโปรแกรมก็จะดีค่ะ

พี่หวังว่าน้องจะได้คำตอบที่โอเคนะคะสำหรับใครที่มีคำถามอะไรก็ Message มาได้ทางเพจค่ะจะทยอยนำมาตอบให้นะคะไม่ทาง podcast ก็ทางบลอคค่ะ

The post คำถามจากทางบ้าน:ฝึกฝนตัวเองยังไง อยากเข้านิเทศศิลป์ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2L0W6GU
via IFTTT