หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 22, 2560

20 ไอเดีย จัดองค์ประกอบ ภาพอย่างเซียนที่’มือใหม่’ก็ทำได้:ตอนที่ 1

มีทั้งหมด 4 ตอนค่ะ

ไม่มีกฏที่ไม่สามารถได้เมื่อมาถึงเรื่องที่ว่าคุณจะ จัดองค์ประกอบ ภาพถ่ายและภาพวาดคุณอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้นใครชอบกฏกันหละ นอกจากอาจารย์ใหญ่หรือไม่ก็หัวหน้าแผนก H.R  อย่างไรก็ตามยังมีไกด์ไลน์หลายๆอันที่คุณสามารถใช้ในการปรับปรุงการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายหรือภาพวาดคุณได้(ทั้งสองอันใช้หลักการใกล้เคียงกัน)

ใน tutorial นี้เราได้ลิสต์ 20 ไกด์ไลน์ที่มากับตัวอย่างในแต่ละอัน เราเริ่มจาก อันที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วก็จบด้วยอันที่มีเทคนิคการจัดองค์ประกอบที่ความซับซ้อนมากกว่า

อย่างแรกก็คือ เราต้องจำกัดความว่าอะไรหมายความถึงการจัดองค์ประกอบ การจัดองค์ประกอบอ้างอิงถึงวิธีการที่องค์ประกอบหลายอย่างในฉากนั้นถูกจัดวางภายในกรอบ อย่างที่เราเคยกล่าวไว้ว่านี่ไมใช่กฏแต่เป็นไกด์ไลน์ ที่พูดว่าหลายๆอันนั้นใช้ในงานศิลปะมานานนับพันปีแล้วและมันช่วยในการจัดองค์ประกอบที่น่าดึงดูด เราพบว่าเรามักจะมีไกด์ไลน์เหล่านี้มากกว่าหนึ่งอันเวลาที่เราได้วาดภาพประกอบหรือถ่ายรูป

เราจะเริ่มจากการจัดองค์ประกอบที่เป็นที่รู้จักที่สุด ได้แก่ กฏสามส่วน

1.กฏสามส่วน

ดังนั้นเราจะบอกคุณว่าไม่มีกฏที่เร็วและเข้มงวดเมื่อพูดถึงการจัดองค์ประกอบ และสิ่งที่รวดเร็วที่เราพูดถึงนั้นก็คือ”กฏ”สามส่วน เราไม่ได้เป็นคนคิดชื่อ กฏสามส่วนนั้นมันง่ายมาก คุณแค่แบ่งกรอบเป็นเก้าส่วน สามส่วนแนวตั้งและสามส่วนแนวนอน อย่างที่มีภาพประกอบด้านล่าง โรงงานผลิตกล้องหลายโรงงานนั้นรวมความสามารถที่จะแสดงกริดนี้ในโหมด live view เช็คคู่มือของกล้องของคุณว่าทำอย่างไรถึงจะเปิด feature นี้ได้

แนวความคิดก็คือการวางองค์ประกอบที่สำคัญไปตามแนวเส้นหรือบริเวณที่เส้นนั้นตัดกัน(มีสี่จุด) เรานั้นมีแนวโน้มที่จะวางองค์ประกอบไว้บริเวณกึ่งกลางของรูป วางไว้ห่างจากตรงกลางไว้โดยการใช้กฏสามส่วนนั้นมักจะไม่นำสายตาไปให้เกิดการจัดองค์ประกอบที่น่าพึงพอใจ

ในรูปถ่ายนี้ ผู้ถ่ายรูปนี้ได้วางองค์ประกอบในแนวนอนไปตามแนวของส่วนที่สามของกรอบและต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดและใกล้ที่สุดไปตามเส้นทางขวา รูปถ่ายนั้นจะไม่มีความ impace ในระดับเดียวกันถ้าต้นไม้ทีใหญ่กว่านั้นอยู่บริเวณกึ่งกลางของกรอบ


การจัดจะวางแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้

ในรูปถ่ายจตุรัสเก่าของปราก ผู้ถ่ายรูปนี้ได้วางเส้นระดับสายตาไว้ที่ระดับบนของสามส่วน ตึกส่วนใหญ่นั้นอยู่ในส่วนกลางของสามส่วนและจตุรัสได้ครอบคลุมบริเวณครึ่งล่างของสามส่วน ตัวยอดโบสต์นั้นอยู่ในเส้นใกล้กับระดับสายตาทางขวาของกรอบ

2.การจัดวางแบบกึ่งกลางและแบบสมมาตร

เมื่อกี้เราได้บอกคุณว่า อย่าวางซับเจคหรือหัวข้อหลักไว้ตรงกลางของกรอบ  แต่เราจะบอกให้คุณทำในสิ่งตรงกันข้าม มีเวลาบางเวลาที่การวางซับเจคตรงกลางนั้นดูดี ฉากแบบสมมาตรนั้นเหมาะกับการจัดองค์ประกอบแบบตรงกลาง มันใช้ได้กับกรอบสี่เหลี่ยมด้วยเช่นกัน(เช่นการถ่ายรูปลง instagram)
http://ift.tt/2rEG1cI
http://ift.tt/2rEg0dS

รูปถ่ายนี้เป็นรูปของสะพานฮาเพ็นนี่ในบ้านเกิดของผู้ถ่ายรูปในเมืองดับบลิน เป็นการแสดงอย่างดีของการจัดวางแบบกึ่งกลาง สถาปัตยกรรมและถนนมักจะเป็น subject ที่ดีในการจัดวางองค์ประกอบแบบกึ่งกลาง

ฉากที่มีเงานั้นเป็นโอกาสที่ดีในการใช้ความสมมาตรในการจัดองค์ประกอบ ในรูปถ่ายนี้ ผู้ถ่ายได้ใช้การผสมระหว่างกฏสามส่วนและสมมาตรเพื่อจะสร้างองค์ประกอบของฉาก ต้นไม้ได้วางไว้ออกไปจากกึ่งกลางไปทางขวาของกรอบ แต่ว่าน้ำนิ่งๆของทะเลสาปสร้างให้เกิดความสมมาตร คุณสามารถใช้ไกด์ไลน์เหล่านี้หลายๆอันในภาพเดียวได้

4.ฉากหน้าและความลึก

มีฉากหน้าในภาพนั้นทำให้เกิดความลึกในฉาก การถ่ายภาพนั้นเป็นสองมิติโดยธรรมชาติ การใช้ฉากหน้าในกรอบนั้นเป็นเทคนิคของภาพที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนสามมิติมากขึ้น

มีการไล่ระดับระหว่างนกยูงสองตัว และฉากหลังทำให้ฉากหลังนั้นอยู่ลึกเข้าไป โดยการเล่นระดับของระดับต้นไม้และระดับของตัวนกยูง

การไล่สีที่มีการจางลงตามความลึก

น้ำหนักสีที่ไม่เท่ากันระหว่างฉากหน้า กลาง และหลัง ทำให้เกิดความลึกลงไปในภาพ มีการจัดการน้ำหนักสีที่ดี

5.Leading line,เส้นนำสายตา

เส้นนำสายตานั้นนำสายตาของผู้ดูตลอดทั้งภาพ และโฟกัสไปยังองค์ประกอบที่สำคัญ อะไรก็ตามจากเส้น กำแพง หรือแพทเทิร์นนั้นสามารถเป็นเส้นนำสายตาได้ ดูตัวอย่างด้านล่าง

http://ift.tt/2qZRjrA

http://ift.tt/2qZRjrA

http://ift.tt/2qZRjrA

 

ในภาพถ่ายของหอไอเฟลนี้ ผู้ถ่ายได้ใช้แพทเทิร์นของหินปูพื้นเป็นเส้นนำสายตา เส้นบนพื้นนั้นนำสายตาไปสู่สายตาผู้ชมยังหอไอเฟลในระยะห่างออกไป คุณอาจจะสังเกตุว่าผู้ถ่ายรูปนี้ได้ใช้การจัดวางองค์ประกอบแบบกึ่งกลาง ความสมมาตรของสิ่งแวดล้อมทำให้การจัดองค์ประกอบแบบนี้ได้ผล

เส้นนำสายตาไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเท่านั้น ตัวอย่างอยู่ในรูปนี้ ในความเป็นจริงเส้นโค้งนั้นก็สามารถสร้างให้เกิดองค์ประกอบที่สมบูรณ์ภายในภาพได้ ในกรณีนี้ เส้นนำสายตาของผู้ชมไปยังด้านขวาของกรอบก่อนที่จะบิดตัวไปยังด้านซ้ายไปทางต้นไม้ ผู้ถ่ายรูปนี้ยังได้ใช้กฏสามส่วนในการสร้างองค์ประกอบขึ้นมา

http://ift.tt/2rEzOxt

http://ift.tt/2sXE8vN

เส้นนำสายตาเป็นเส้นโค้งยึกยักเข้าสู่จุดสนใจ

 

 

อ้างอิง

20 Composition Techniques That Will Improve Your Photos

The post 20 ไอเดีย จัดองค์ประกอบ ภาพอย่างเซียนที่’มือใหม่’ก็ทำได้:ตอนที่ 1 appeared first on ILLUSTCOURSE.



from WordPress http://ift.tt/2rEL793
via IFTTT

วันพุธ, มิถุนายน 21, 2560

เมื่อเกิดอาการ…”หลายใจ”…ใช้อันไหนระหว่าง สีน้ำ แพนกับหลอด

อะไรคือสิ่งที่แตกต่างระหว่าง สีน้ำ ที่มาในรูปแบบแพน และ สีน้ำ ที่มาในรูปแบบหลอด คุณจะตัดสินใจได้ยังไงว่าอันไหนดีสำหรับคุณ ในเอนทรี่นี้จะเป็นการบอกลักษณะของแต่ละอัน ที่จะช่วยคุณตัดสินใจว่าจะใช้อันใดอันหนึ่ง

อะไรคือ สีน้ำ ?

 ในการที่จะทำสีน้ำ ตัวเม็ดสีนั้นผสมกับกาวกระถินและกลีเซอรีนสำหรับการยึดเกาะ,ความยืดยุ่น และผิวที่สะท้อนนิดหนึ่ง เมื่อผสมส่วนผสมเหล่านี้แล้วใส่ในหลอดโลหะในขณะที่มันมีความสม่ำเสมอของหลอดยาสีฟัน หรือแห้งเป็นรูปแบบของแข็งกึ่งชื้น และตัดเป็นรูปแบบแพน

แพน

cr:http://ift.tt/2sTYdDJ

แพนเป็นรูปแบบของสีเค้กสี่เหลี่ยมไม่ว่าจะตัดเป็นรูปแบบเต็มแพน (ขนาด 20x30mm) หรือ ครึ่งแพน ( ขนาด 20x15mm) ใส่ในช่องพลาสติคเล็กๆหรือกล่องเหล็กในการที่จะเก็บแพนเหล่านั้นไว้ด้วยกันยามต้องใช้ กล่องนั้นมีฝายึดเพื่อเก็บแพนไว้เข้าที่เมื่อปิดกล่อง และเมื่อเปิด ก็จะทำหน้าที่เป็นจานสีสำหรับผสมสี เซ็ทของสีแพนนั้นได้ถูกกำหนดไว้แล้ว แต่คุณสามารถเปลี่ยนสีและปรับแต่งมันได้ตามความพึงพอใจ สร้างจานสีที่แตกต่างกันเมื่อเราต้องการ

แบบแพนนั้นยากที่จะเริ่มเมื่อคุณเปิดห่อและใช้มัน แต่หลังจากที่ทำให้มันชื้นและนุ่มลงและง่ายกว่าในการที่จะหยิบสี คุณสามารถทำให้มันนุ่มขึ้นได้โดยหยดน้ำลงบนสีและปล่อยให้น้ำอยู่บนผิวสักนิดในการที่จะเอาสีจากแพน ต้องใช้แปรงชุ่มในการดึงสีขึ้นมาเล็กน้อย หลังจากนั้นก็ใส่ในจานสี (ไม่ว่าจะเป็นบนฝาของสีน้ำหรือจานสีเดี่ยวแยกกัน)

 cr:http://ift.tt/2tt3mQb
คุณสามารถใส่น้ำลงในสีในจานสี หรือว่าผสมมันกับสีอื่นๆ คุณสามารถทำได้โดยตรงจากแพน แต่ว่าต้องระวังมันปนเปื้อนกับสีอื่นๆ เก็บสีแพนของคุณให้สะอาดเป็นความยากอย่างหนึ่งในการทำงานร่วมกับสีแพน ถ้าคุณไม่ได้ล้างแปรงของคุณไว้ดีก่อนหน้าที่จะใช้สีใหม่ สีอาจจะสกปรกและปนเปื้อนกับสีอื่นๆ
ถ้าคุณทำให้ตัวแพนสกปรก และเมื่อคุณทำภาพวาดเสร็จเรียบร้อยให้ใช้ผ้าเปียกหรือฟองน้ำในการทำให้มันสะอาด แล้วก็ปล่อยให้มันแห้งไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะปิดกล่องในการที่จะทำให้แพนนั้นไม่ติดกับฝาเมื่อคุณเปิดกล่องในครั้งต่อไป และต้องแน่ใจว่าทำให้จานสีตรงฝาแห้งก่อน

หลอด


cr:http://ift.tt/2sTSLjV
สีหลอดนั้นมีกลีเซอรีนมากกว่าแพน มันทำให้สีนุ่มและเป็นครีมและง่ายในการที่จะผสมสี หลอดมาให้สามขนาดได้แก่ 5 มิลลิลิตร,15  มิลลิลิตร,และ 20 มิลลิลิตร เพราะคุณสามารถบีบสีออกมาเท่าที่คุณต้องการได้ แบบหลอดนั้นเหมาะกว่าถ้าคุณต้องการปริมาณของสีในการเพนท์พื้นที่เยอะกว่า
แบบหลอดนั้นง่ายกว่าในการที่จะคงความสะอาด แต่ต้องแน่ใจว่าเอาผ้าขี้ริ้วเช็ดเส้นสีที่เปื้อนอยู่ตามฝาสีออกไปให้หมด ไม่เช่นนั้นมันจะติดตรงฝาและทำให้เปิดยากในครั้งถัดไป มันอาจจะช่วยได้ในกรณีนี้ถ้าเราเอาฝาหลอดและตัวคอหลอด ไปจุ่มในน้ำร้อนประมาณ 5-10 นาทีในการที่จะทำให้สีนุ่มลงถ้ามันเกิดการแข็งขึ้น ถ้าคุณบีบสีออกมามากเกินความต้องการและไม่ทำความสะอาดจานสีของคุณ คุณอาจจะยังคงใช้สีเพนท์หลังจากที่มันยังคงการละลายน้ำได้ และสามารถทำให้เปียกด้วยน้ำได้เมื่อมันแห้ง ถ้าคุณไม่ยอมปิดฝาทันที สีในหลอดจะแห้งแข็งได้

สียังคงใช้ได้ตราบเท่าที่สีนั้นไม่เก่าเกินไป ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้น(สีแห้งแข็ง) คุณสามารถตัดหลอด และบีบสีที่เหลือลงในแพนได้ และเราสามารถทำให้สีนั้นใช้งานได้อีกโดยการใช้น้ำลง

ถ้าสีในหลอดโลหะนั้นแห้ง คุณอาจจะบังคับรูที่อยู่ตรงปากหลอดด้วยเล็บหรือปลายพู่กัน และใส่น้ำเข้าไปนิดหนึ่ง จากนั้นปิดฝาและบีบหลอดเพื่อผสมระหว่างน้ำและสี คุณสามารถตัดปลายหลอด(ตรงรอยพับ) เพื่อที่จะเข้าถึงสีที่แห้งและใส่น่ำเข้าไปเล็กน้อย

แพน ปะทะ หลอด

แพนนั้นง่ายที่จะใช้งานเพราะคุณสามารถเข้าถึงสีทันที คุณไม่จำเป็นต้องวางแปรงลง เปิดหลอด และบีบสี มันเป็นที่นิยมสำหรับงาน field sketch หรือ การเสก็ตซ์ในสถานที่,visual journal หรือการเขียน Journal ,บันทึกการเดินทางเป็นรูปหรือ Plein air(ภาพวิว) เพราะว่าการพกพาง่ายและสะดวก คุณอาจจะต้องมีทั้งแพนและหลอดสีน้ำเล็กหรือสีกวอช(สีน้ำทึบแสง)ในแพ็คการท่องเที่ยวทางศิลปะของคุณ นอกจากนี้แพนยังมีราคาถูกกว่าแบบหลอด แต่มีความเล็กกะทัดรัด และง่ายต่อการศึกษางานชิ้นเล็ก และภาพเขียนชิ้นเล็ก เพราะมันเหมาะกับแปรงอันเล็กๆมาก

แบบหลอดนั้นให้ความยืดหยุ่นและปริมาณของสีที่คุณต้องการใช้ ควบคู่ไปกับขนาดแปรง พื้นที่ในการเพนท์ และขนาดของภาพเพนท์ แบบหลอดนั้นง่ายกว่าแพนสำหรับหัวแปรงเพราะไม่ต้องขยี้เพื่อที่จะใช้สี และที่สุดแล้ว แต่ละอันมีข้อได้เปรียบของตัวเอง ลองทั้งสองอันและดูว่าอันไหนคุณชอบ มันอาจจะเป็นการผสมสองอย่างก็ได้

ทิปส์เพิ่มเติม

มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างสีน้ำเกรดนักเรียนและสีน้ำเกรดอาร์ติสท์ แทนที่จะซื้อสีน้ำราคาถูกหลายๆสี คุณจะเห็นความแตกต่างในความครอบคลุม และความสดของสีเมื่อคุณเปรียบเทียบกับคุณภาพของสีที่แตกต่างกันสองแบบ

มีความแตกต่างของสีระหว่างโรงงาน พยายามใช้สีน้ำจากโรงงานที่แตกต่างกันเพื่อลองดูว่าโรงงานไหนเป็นที่ชื่นชอบของคุณ

เวลาคุณซื้อแพนใหม่มา ให้เอาสีเก่าออกให้หมด ก่อนที่จะใส่สีใหม่ ไม่เช่นนั้นมันจะไม่ลงตัว รวมเอาสีเก่าที่เหลือ กับสีเก่าสีเดียวกันที่เหลือ ในอีกแพนหนึ่ง

ทางที่ดีและสะดวกอีกอย่างหนึ่งในการแทนที่สีเก่าก็คือการบีบสีจากหลอดโดยตรงลงแพนและปล่อยให้มันแห้ง สี Sennelier ไม่ได้ผลดีในกรณีนี้เพราะสีมันไม่แห้ง เริ่มจากเติมเต็มตรงมุมและบีบจากมุมไปหาตรงกลาง เอาเกรียงปาดสีส่วนเกินแล้วปล่อยให้แห้ง

อ้างอิง:http://ift.tt/2tt3P4B

The post เมื่อเกิดอาการ…”หลายใจ”…ใช้อันไหนระหว่าง สีน้ำ แพนกับหลอด appeared first on ILLUSTCOURSE.



from WordPress http://ift.tt/2ttontI
via IFTTT

10 ทิปส์การลง สีน้ำ ที่ทำให้ชีวิต ‘มือใหม่’ ง่ายดายขึ้น

คนหลายคนอายจากการใช้ สีน้ำ เพราะว่าเขากลัวว่ามันจะยากที่จะควบคุม ในขณะที่มันเป็นจริงที่ว่า  สีน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ยากที่จะฝึกให้ถึงขั้นบรมครู มันง่ายและประหยัดในการที่จะเริ่มต้น และเมื่อคุณเริ่มฝึกมัน คุณจะพบว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด

 เมื่อคุณเริ่ม สี,น้ำและพู่กันเป็นสิ่งที่ต้องการ มันง่ายขนาดนั้นเลย ไม่ว่าคุณจะเริ่มใช้สีน้ำเป็นอุปกรณ์พื้นฐานของคุณ หรือคุณจะเริ่มใช้มันเพราะต้องการศึกษาภาพเพนท์สีน้ำมันหรือสีอะคริลิค รางวัลนั้นล้ำค่ายิ่งและการที่สีน้ำนั้นคาดเดาไม่ได้เป็นอะไรที่แหล่มพอสมควรค่ะ
ต่อไปนี้เป็นทิปส์การลงสีน้ำที่อยากเอามาฝากกัน

1.ใช้ สีน้ำ แพนในการลงสี

cr:http://ift.tt/2rTJnbj

สีน้ำนั้นมีสามแบบคือ สีน้ำเหลว,สีหลอดและแบบแพน คุณจะเริ่มจากแบบไหนก็ได้ แต่ว่าการเริ่มจากแบบแพนนั้นประหยัด,พกพาง่าย และมีสีให้เลือกจำนวนมาก คุณอาจจะลองสีน้ำแพน 24 สีของวินเซอร์ มีพู่กันเบอร์สามแถมมาให้ พร้อมกับสีปริมาณหนึ่งในราคาที่เหมาะสม

2.ใช้แปรง 3,4 ด้ามในการลงสีและดูแลมันอย่างดี

cr:http://ift.tt/2soCTVp

หัวแปรงสีน้ำนั้นมีความนุ่ม,ขนยาวที่เอาไว้เคลื่อนน้ำสีไปรอบๆ อันที่ดีที่สุดนั้นทำมาจากขนสัตว์ เช่น Sable หรือ ขนกระรอก แต่พวกนี้หายากและแพง ดังนั้นแปรงขนสังเคราะห์ที่ดีๆนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาและมันแพงน้อยกว่า คุณอาจจะต้องทดลองเพื่อทำการตัดสินใจว่ารูปร่างแปรงและขนาดไหนที่คุณชอบ เพราะมันขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ

ถึงแม้ว่ามีรูปร่างของแปรงและขนาดให้เลือกหลากหลาย คุณอาจจะต้องการพู่กันแบนสำหรับลงสีและพู่กันกลมหลายๆอันสำหรับเก็บรายละเอียด อย่างเช่น พู่กันกลมเบอร์ 12,พู่กันกลมเบอร์ 10 พู่กันกลมเบอร์ 6 และ พู่กันแบนขนาด 1″ ซักสองอันหรือใกล้เคียง( 20 มิลลิเมตรมีค่าเท่ากับ 1 นิ้ว)

ล้างหัวแปรงให้ทั่วด้วยน้ำที่ไหลลงมาและสบู่ปริมาณเล็กน้อย ถ้าต้องการ เมื่อวาดภาพเสร็จ และซับน้ำด้วยกระดาษทิชชู่หนาๆหรือผ้าขี้ริ้วโดยบีบมันเบาๆ และปรับหัวด้วยนิ้วและใส่ในที่ใส่พู่กันให้เรียบร้อย หัวแปรงจะได้ไม่บานและพัง

ก่อนที่จะลงทุนกับแปรงชั้นดี คุณสามารถที่จะใช้แปรงที่แพงน้อยกว่าในการที่จะทดลองด้วยขนาดและรูปร่าง และอาจจะลองใช้แปรงทาสีบ้านแบบนุ่มในการลองลงสีดู อาจจะเสี่ยงต่อขนหลุดร่วงไปบนภาพ แต่ถ้าคุณแค่ทดลองดู มันอาจจะไม่ได้น่ารำคาญอย่างที่คิด

 3.ใช้กระดาษที่หนากว่า 140 lb

ยิ่งกระดาษหนักเท่าไหร่ กระดาษยิ่งหนาเท่านั้น 300lb เป็นกระดาษที่หนาที่สุด เหมือนการ์ดบอร์ด และสามารถรับน้ำได้มากโดยไม่งอ นั่นคือสิ่งที่เราต้องการหลีกเลี่ยง กระดาษ 140lb นั้นใช้กันอยู่ทั่วไป และอาจจะต้องการในการขึงกระดาษขึ้นอยู่กับสไตล์ในการลงสีของคุณ และขึ้นอยู่กับคุณต้องการน้ำในปริมาณมากหรือเปล่า กระดาษ 90lb นั้นบางเกินไปที่จะทดลองและฝึก

คุณสามารถซื้อกระดาษเขียนสีน้ำเป็นแผ่นแยกกัน ไม่ว่าจะเป็นเล่ม หรือเป็นบล็อค เราแนะนำว่าให้ซื้อเล่มหรือที่ดีกว่าคือซื้อบล็อค นี่จะทำให้คุณมีพื้นผิวที่เรียบ หนาแน่น และกระดาษที่ขึงตึงจนกว่าสีจะแห้งและคุณเริ่มต้นที่จะตัดมันออกมาจากบล็อคและเริ่มที่จะเพนท์ภาพใหม่ กระดาษเล่มที่มีเนื้อกระดาษหนานั้นเร็วและง่ายที่จะใช้ด้วยเช่นกัน

4.วางแผนภาพของคุณจากสว่างไปมืด

ด้วยสีน้ำที่คุณเพนท์จากสว่างไปมืด เว้นขาวไว้ในบริเวณที่แสงจัด ดังนั้นคุณต้องการคิดก่อนว่าบริเวณนั้นอยู่ตรงไหน คุณถึงจะเพนท์บริเวณรอบๆ คุณสามารถหลีกเลี่ยงการเพนท์บริเวณนั้นหรือคุณอาจจะใช้กาวกันสีในบริเวณเหล่านี้เพื่อที่จะกันมัน กาวกันสีนั้นแห้งเป็นยาง ดังนั้นคุณจึงสามารถถูมันออกอย่างง่ายดาย คุณอาจจะใช้เทปหรือเพนเตอร์เทปในการที่จะมาสก์สีบริเวณที่คุณต้องการให้เป็นสีขาว

5.ผสมสีให้มากกว่าปริมาณที่เราต้องการจริง

มือใหม่นั้นมักจะระวังในปริมาณของสีที่พวกเขาผสม พวกเขาผสมเพียงเล็กน้อยและผสมอย่างต่อเนื่องให้มากขึ้น นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้ตื่นตระหนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เราต้องการลงสี แล้วสีมีไม่พอ ดังนั้นควรจะผสมให้มากกว่าที่เราต้องการสักนิด มากกว่าการที่พยายามผสมสีใหม่ให้เหมือนเดิมเป๊ะๆ

6.เทสต์สีบนกระดาษก่อนเพนท์

มันยากที่จะบอกสีเพนท์ว่าเป็นสีอะไรจากการมองจานสี เพราะเวลาแห้วมันจะสว่างขึ้นบนกระดาษมากกว่าที่มันปรากฏตอนเปียก มีกระดาษติดมือเสมอเพื่อที่จะเทสต์สีก่อนที่จะลงสีบนภาพวาดของคุณ ดังนั้นคุณจะรู้แน่ชัดว่าคุณต้องการสีอะไรและน้ำหนักสีประมาณไหน

7.ใช้ที่ใส่น้ำขนาดใหญ่และเปลี่ยนน้ำใหม่ให้สะอาดอยู่เสมอ

ศิลปินที่มีประสบการณ์น้อยมักจะใช้ที่ใส่น้ำขนาดเล็กเพื่อที่จะทำความสะอาดแปรงระหว่างสีแต่ละสี พวกเขาพบว่าน้ำนั้นดำมืดและทำให้สีเป็นโคลนและเปลี่ยนสีให้เป็นโทนสีน้ำตาล ทางที่ดีที่สุดในการที่จะคงสีให้สะอาดนั้นก็คือการเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ และน้ำจะสะอาดมากถ้าคุณใช้ที่ใส่น้ำขนาดใหญ่ ในความเป็นจริง นักวาดหรือศิลปินบางคน ใช้ที่น้ำสองอัน อันนึงใช้ล้างพู่กัน และอีกอันใช้สำหรับทำให้พู่กันเปียกก่อนที่จะลงสี ถ้าคุณเริ่มเห็นน้ำเป็นสีน้ำตาล นี่เป็นเวลาที่จะเปลี่ยนน้ำ

8.    อย่าผสมสีเกิน

ทางที่จะหลีกเลี่ยงสีเป็นโคลนและกลายเป็นโทนน้ำตาลนั้นก็คือ หลีกเลี่ยงที่จะใช้สีหลายๆสีด้วยกัน การเข้าใจทฤษฏีสีและหลักการผสมสีนั้นเป็นเรื่องจำเป็น และพยายามที่จะห้ามตัวเองไม่ให้ผสมสีมากกว่าสองสีเข้าด้วยกันในครั้งเดียวนั้นก็ช่วย คุณสามารถทำให้สีนั้นเป็นชั้นๆโดยการระบายเคลือบหรือการระบายแบบเปียกบนแห้ง หรือใส่สีลงไปบนพื้นผิวที่มีความชุ่มของน้ำ(เปียกบนเปียก)

9.อย่าพยายามทำให้สีน้ำเหมือนสีอะคริลิค หรือสีน้ำมัน

ความสวยงามของการลงสีน้ำคือความโปร่งใสและการส่องแสงของมัน

อย่าทำงานเกินไป ความแข็งแกร่งของสีน้ำก็คือความสามารถในการแสดงความซับซ้อนของสีโดยเปิดเผยชั้นของสีใสๆ มันอนุญาติให้แสงผ่านชั้นของสีและสะท้อนกลับมายังสีขาวของกระดาษ พยายามลงบางๆ ในการที่จะควบคุมสีแต่โปร่งใสน้อยกว่าให้ใช้น้ำน้อยลง สำหรับความโปร่งใสที่มากกว่าและเอฟเฟคที่คาดเดาไม่ได้ให้ใช้น้ำเยอะกว่า พยายามที่จะหาความสมดุลย์ที่เวิร์คสำหรับคุณ

10.อย่ากังวลเรื่องความผิดพลาด

คนหลายคนคิดว่าคุณไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดในสีน้ำได้ สิ่งนี้ไม่จริง มีวิธีหลายวิธีในการที่จะแก้ไข”ข้อผิดพลาด” เหล่านั้น ถ้าคุณไม่สามารถอยู่กับมันได้ คุณสามารถเอาทิชชู่เปียกชุ่มซับสีออก หรือซับสีที่เกินจากพู่กัน หรือแม้แต่ Mr.clean ยางลบมหัศจรรย์ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงบริเวณนั้นอย่างเห็นได้ชัดโดยการระบายสีทับ คุณสามารถระบายสีใหม่ทั้งหมดภายใต้น้ำเปียกไหลชุ่ม

ดูวีดีโอนี้ในการที่จะดูเด็บ วัตสันใช้ยางลบมหัศจรรย์ในการที่จะลบภาพวาดเธอและนำมาใช้ใหม่

 อ้างอิง:http://ift.tt/2rTCqXG

The post 10 ทิปส์การลง สีน้ำ ที่ทำให้ชีวิต ‘มือใหม่’ ง่ายดายขึ้น appeared first on ILLUSTCOURSE.



from WordPress http://ift.tt/2rTHivZ
via IFTTT

GuangJianhong concept artist งานแนวตะวันตกผสมตะวันออกเทคนิคถึกอลัง

วันนี้มาพบกับแรงบันดาลใจจาก concept artist งานสุดอลังการ G.J หรือ Guang jian hong ในขณะนี้ทำงานเป็น concept artist อยู่ที่ประเทศจีน ลายเส้นหรือหน้าตาคาแร็คเตอร์มีกลิ่นการ์ตูนนิดๆแต่ว่าการเพนท์เป็นแบบตะวันตกค่ะ

http://ift.tt/1viZ3mP
http://ift.tt/1HpemQA

The post GuangJianhong concept artist งานแนวตะวันตกผสมตะวันออกเทคนิคถึกอลัง appeared first on ILLUSTCOURSE.



from WordPress http://ift.tt/2sUxpCV
via IFTTT