หน้าเว็บ

วันจันทร์, กรกฎาคม 10, 2560

10 ท่าไม้ตาย!!แก้ไขงาน สีน้ำ เน่าได้ทุกรูปแบบ

 สีน้ำ นั้นมีชื่อเสียงในเรื่องของการแก้ไขไม่ได้ แต่ว่ามีหลายทางที่จะแก้ไขงานในสีน้ำ เปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่การทำข้อผิดพลาดลงในงานซะเองที่เรียกว่า “อุบัติเหตุอันจงใจ” คุณสามารถละเลงสีไปบนสีเปียก ซับสีออกเมื่อสีแห้ง หรือขูดสีด้วยมีดโกนหนวดหรือว่ากระดาษทรายอย่างดี ล้างมันในสายน้ำ หรือแม้แต่ลบด้วยยางลบมหัศจรรย์

photo by Lisa Marden

และถ้าหากมีแรงบันดาลใจ คุณสามารถที่จะใช้สีและวัสดุชนิดอื่นๆในการปกติบริเวณที่ไม่ต้องการและเปลี่ยนไปเป็น Mixmedia หรือภาพสื่อผสมได้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการแก้งาน
  • ทิชชูหนาและบาง
  • กระดาษสำหรับขยี้หรือกด
  • ไม้พันสำลี
  • พู่กัน
  • ฟองน้ำ
  • ยางลบมหัศจรรย์ Mr.Clean
  • เทปสำหรับทำงานศิลปะ
  • สเปรย์,อ่างล่างมือ
  • กระดาษทรายละเอียด
  • คัตเตอร์, กรรไกร
  • กระดาษเขียนสีน้ำคุณภาพดี หนาและมีน้ำหนักพอสมควร (140 lb)
  • สื่อผสม: สีกวอช, สีขาว, โปสเตอร์ขาว, สีพาสเทล, สีไม้, สีหมึก

1.ความคงทนถาวรของ สีน้ำ,ค่าความไวต่อแสง (พลังทำลาย 3)

อย่างแรกเลย มันสำคัญที่จะต้องระวังว่าบางสีนั้นมีพลังในการก่อคราบมากกว่า และคงทนถาวรกว่าสีอื่นๆ อย่างเช่น Arizarin Crimson,Winsor,Blue,Sap green,Hookers green,Phthalocyanine blue ทำหน้าที่เหมือนสีย้อม มันย้อมให้เกิดคราบบนกระดาษและยากที่จะเอาออกด้วยมือ ในกรณีนี้ต้องแก้ด้วยยางลบมหัศจรรย์ Mr.clean เท่านั้นค่ะ หรือคุณอาจจะเลือกสีแทนสีเหล่านั้นที่ว่าไปโดยเลือกสีที่ทำให้เกิดคราบน้อยกว่าหรือผสมสีจากสีที่มีคราบน้อยกว่าเช่นผสม Ultramarine blue กับ Cadmium Yellow ในการสร้างสีเขียวแทนที่จะใช้สีเขียวเหล่านั้นที่ทำให้เกิดคราบ และกระดาษบางชนิดก็ดูดซับสีมาก จึงเอาสีออกยากเมื่อสีแห้ง กระดาษอื่นๆอย่าง Bockingford,Saunder waterford,Cotman ง่ายที่จะดึงสีออกมากกว่า ให้ทดลองดูหลายๆชนิด ว่าชนิดไหน เหมาะกับตัวเราค่ะ

2.ซับสีและน้ำส่วนเกินออก (พลังทำลาย 5)

มีทิชชู,ฟองน้ำ,ผ้านุ่มๆแห้งๆ หรือกระดาษซับสีให้อยู่ใกล้มือตลอด สีน้ำนั้นเป็นสีที่ไหล ขึ้นอยู่กับเทคนิคและปริมาณน้ำที่ใช้ มีองค์ประกอบของการควบคุมได้ยากและมีลักษณะที่เกิดขึ้นเอง ทำให้เกิดแอ่งน้ำสี หรือหยดน้ำและลงสีตามความจริง มีอะไรบางอย่างที่อยู่ใกล้ๆมือเข้าไว้จะควรช่วยให้เราสามารถใช้ซับสีได้อย่างทันท่วงทีป้องกันไม่ให้เกิดหยดหรือแอ่งน้ำสีและทำให้กระบวนการลงสีเป็นไปอย่างราบรื่น มันยังช่วยให้สีนั้นไม่ไหลบ่าไปสู่อีกสีหนึ่งในกรณีที่คุณใช้น้ำมากเกินไปอีกด้วย
ต้องแน่ใจว่าเอากระดาษซับสีออกแทนที่จะขูดออก คุณไม่ต้องการที่จะทิ้งเยื่อหรือใยกระดาษลงบนกระดาษเขียนสีน้ำของคุณที่ยากต่อการทำความสะอาดออกไปนะคะ ให้ซับด้วยผ้านุ่มๆหรือทิชชู่นั้นเป็นเทคนิคที่สร้างรูปทรงคล้ายเมฆได้ด้วย หรือรูปทรงธรรมชาติอื่นๆในการลงสีแบบเปียก การลงแบบ Drybrush สามารถทำเส้นลายท้องฟ้าได้

ฟองน้ำธรรมชาติจะช่วยให้เกิดเอฟเฟคและเทกเจอร์หลากหลาย มากกว่าผิวสัมผัสของฟองน้ำสังเคราะห์ ทั้งสองนั้นเหมาะแก่การซับสีออกเช่นกัน

ในการที่จะซับสีบริเวณที่ใหญ่ๆออก คุณสามารถใช้ Paper towel (กระดาษทิชชู่อย่างยาวและหนา) หรือฟองน้ำสังเคราะห์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในครัว หรือผ้าก็ได้ ซับออก ในส่วนเล็กๆให้พับหรือขยำทิชชูเป็นทางไหนก็ได้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือว่าใช้มุมของกระดาษในการซับหรือดูดสีที่ไม่ต้องการออก

กระดาษซับสีนั้นหนากว่าทิชชู และสามารถใช้ได้มากกว่าครั้งหนึ่ง ในการที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดในภาพ มันสามารถใช้อย่างสร้างสรรค์อย่างการสร้างรูปทรงเมฆ หรือทำผิวสัมผัสเลียนแบบก้อนหิน เป็นต้นค่ะ

มันจำเป็นว่าต้องมีกระดาษที่คุณภาพดีหน่อย (กระดาษ pure rag หรือฝ้ายที่ไม่มีเยื่อไม้เจือปน) เพราะว่ามันดูดซับและมันไม่มีการ sizing อย่างกระดาษสีน้ำทั่วไปมี กระดาษที่ใช้ซับสีมีชื่อว่า Bibulous ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการหยดน้ำเพื่อสร้างความชื้นเมื่อเตรียมสไลด์ในแล็บ

ไม้พันสำลีก็สามารถซับสีบริเวณเล็กๆออกได้เช่นกัน

วิธีการในการที่จะดูดสีในขณะที่ยังเปียกหรือชุ่มอยู่ก็คือ ใช้ทิชชูนุ่ม,ฟองน้ำหรือ paper towel ซับออกเบาๆ อะไรก็ตามที่คุณใช้ในการซับสี รูปร่างของมันมีผลต่อบริเวณที่ทำการซับสีออกค่ะ เพิ่มเติมในการแก้ไขข้อผิดพลาด ให้ซับสีเปียกออกด้วยทิชชูนุ่มๆ การทำ Drybrush และ Drysponge เป็นเทคนิคในการสร้างก้อนเมฆและทำผิวสัมผัสหลายอย่างเช่นพุ่มไม้

คุณสามารถใช้ พู่กันแห้งๆหรือไม้พันสำลี ปัดไปมาบริเวณที่น้ำยังชุ่มเพื่อซับสีและความชื้นส่วนเกินที่ยังมีอยู่ ถ้าคุณสามารถนำสีส่วนเกินออกหมด ปล่อยให้สีที่เหลือแห้งไป หรือจะใช้ไดร์เป่าผม เพื่อช่วยเร่งการแห้งให้เร็วขึ้นได้อีกด้วย

3.เอาสีที่แห้งกรังออกและทำให้ขอบแปรงหายแข็ง (พลังทำลาย 4)

เมื่อภาพเพนท์นั้นแห้ง คุณอาจจะตัดสินใจว่าบริเวณไหนแห้งเกินไป หรือว่าคุณอาจจะทิ้งบางบริเวณให้เป็นสีขาวเพื่อลง Highlight และทำให้ตรงนั้นกลับมา หรือบางขอบต้องการทำให้ฟุ้งเพิ่มขึ้น มีหลายอย่างที่คุณทำได้เพื่อที่จะบรรลุสิ่งนี้ค่ะ

คุณอาจจะใช้ฟองน้ำชื้น แปรง หรือ ไม้พันสำลี เพื่อที่จะถูสีออกอย่างเบาๆ ซับสีออกด้วยผ้าแห้งหรือทิชชูโดยทำกระบวนการนี้ซ้ำๆ ไม้พันสำลีนั้นมีประโยชน์มาก เพราะมีสำลีอยู่ทั้งสองข้างของก้าน อันนึงสามารถใช้ทำให้ชื้นก่อน อีกอันใช้ซับสีออก พู่กันเปียกชุ่มขนาดใหญ่สามารถใช้ในกระดาษที่หนาขึ้นในบริเวณที่ใหญ่ขึ้นเช่นกัน

ถ้าขอบนั้นแข็งไป คุณอาจจะทำให้มันนุ่มลงโดยการถูมันด้วยไม้พันสำลี หรือถูมันด้วยพู่กันเปียกๆ กฏแบบเดียวกันใช้กับบริเวณที่เป็นสีที่มีเส้นชัดเจนหรือมีสีที่ลงเคลือบแล้วไม่สม่ำเสมอกัน การดูดสีที่แห้งแล้วสามารถทำให้สีนุ่มลงและสร้างให้เกิดการไล่สีระหว่างสีหรือน้ำหนักสี

4.ล้างภาพด้วยขวดสเปรย์พ่นน้ำ (พลังทำลาย 7)

ถ้าหากมีบริเวณใหญ่ๆที่คุณต้องการล้าง คุณสามารถใช้ขวดสเปรย์ พ่นน้ำลงโดยตรงบริเวณนั้น แล้วใช้ทิชชู,ผ้านุ่มหรือ Paper towel ซับออก โดยใช้เทปสำหรับทำงานศิลปะในการมาสก์บริเวณที่เราไม่ต้องการให้เปียกเอาไว้ค่ะ

ถ้าภาพทั้งภาพเจ๊ง และคุณเพนท์ลงกระดาษดีๆ(อย่าง Arches) คือหนากว่า 140lb หรือมากกว่า ให้เอากระดาษ วางผ่านน้ำก็อกที่ไหลลงมาเพื่อที่จะล้างสีทั้งหมดออก และเป่าให้แห้งด้วยที่เป่าผมแบบลมอุ่น ถ้าหากคุณล้างแล้วเกิดคราบ ให้ระบายทับด้วยโทนสีที่ใกล้เคียง หรือทำเป็นชิ้นงานสื่อผสมไปเลย

5.ใบมีดโกนและกระดาษทราย (พลังทำลาย 9)

สีที่หยดลงไปอย่างไม่ตั้งใจ เราสามารถเอาออกโดยใช้ใบมีดโกนขูดออก มันจึงจำเป็นที่คุณจะต้องเพนท์ลงบนกระดาษหนาๆ เพราะกระดาษบางๆไม่สามารถทำเทคนิคนี้ได้เช่นกัน กระดาษทรายอย่างดีสามารถถูพื้นเบาๆและทำให้สีจางได้ และถูเพื่อให้กระดาษที่ลุ่ยเนื่องจากการลงสีมากไปออก

6.สีขาวทีบแสงหรือกวอชขาว (พลังทำลาย 8)

สีขาวทึบแสง(Opaque white,titanium white) สามารถใช้ในการกลบจุดที่ด่างพร้อยในงานได้ และสีน้ำสามารถระบายทับมันได้ด้วย สายสีน้ำเพียวอาจจะแอนตี้วิธีนี้นิด เพราะว่ามันยากที่จะบังบริเวณที่ลงสีมืดได้อย่างหมดจด อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นประโยชน์ในการดึงไฮไลท์บางส่วนในรูปออกมา เช่น บริเวณดวงตา Chinese white นั้นใช้กันในหมู่นักเขียนสีน้ำมากกว่า เพราะว่ามันใสเนืองจากทำจากสังกะสี เหมาะในการลงไฮไลท์ในระดับที่จางน้อยลงมา

7.ยางลบมหัศจรรย์ MR. CLEAN (พลังทำลาย 6)

ยางลบมหัศจรรย์เป็นสินค้าที่ดูเหมือนจะเป็นฟองน้ำสีขาว และเมื่อชิ้นก็จะกลายเป็นก้อนโพลีเมอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนกระดาษทรายละเอียดในการเอาคราบสกปรก และแม้แต่ตัวสีเองออกไปจากเส้นใยกระดาษ ให้ชัวร์ต้องซื้อของแท้ค่ะ เพราะเวอร์ชันหลังๆที่คนอื่นทำได้ใส่สารเคมีบางอย่างที่ไม่ดีต่อภาพเขียนของเรา ฟองน้ำแบบดั้งเดิม ถึงแม้ว่าทำงานได้ดี เมื่อกระดาษเปียก มันขูดกระดาษออกจากผิวกระดาษ และต้องมานั่งเพนท์บริเวณที่ลงสีไปแล้วใหม่ คุณสามารถตัดยางลบมหัศจรรย์ให้เป็นขนาดที่ต้องการได้

ให้มาสก์และทิ้งบริเวณที่คุณต้องการจะลบเอาไว้ ทำให้แน่ใจว่าขอบนั้นปลอดภัยเมื่อคุณลบ และน้ำไม่ไหลเข้าไปข้างใต้รูตรงขอบและทำลายภาพส่วนที่ต้องการที่จะปกป้อง ถูบริเวณนั้นให้แห้ง และทำซ้ำจนกว่าจะเห็นผม ที่น่าสนใจคือ นี่เป็นวัสดุแบบเดียวกัน เมลามีนโฟม ที่ประดิษย์ขึ้นมาเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว มันก็ยังคงใช้เป็นฉนวน เพราะมันบางและกันไฟ

8.การปรับสี (พลังทำลาย 3)

สีน้ำนั้นเป็นวัสดุที่โปร่งใส นั่นหมายความว่าเราสามารถเพนท์เป็นเลเยอร์ได้ สีสามารถที่จะดัดแปลง หรือสามารถระบายทับสีที่เลือกมาอย่างดีได้หลายครั้ง (คุณคงไม่อยากที่จะใช้เลเยอร์มากเกินไป เพราะมันจะทำให้สูญเสียความโปร่งใสของเลเยอร์ไป ทำให้สีเป็นโคลน และทำให้กระดาษนั้นห่วยลง)อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คุณเพนท์จากเบามาหนัก มันก็เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนสีไปเลยโดยการใช้สีอ่อนกว่า หรืออย่างเช่น สีเหลือง บน สีแดง หรือ สีฟ้า มันจะช่วยทำให้สีทั้งสองอ่อนลงทำให้แดงกลายเป็นส้ม และน้ำเงินกลายเป็นเขียว สร้างให้เกิดสีทุตติยภูมิในวงจรสี

9.MIXED MEDIA  (พลังทำลาย 8)

ถ้าคุณทำสีเน่าโดยการใช้เลเยอร์ของสีเยอะเกินไป กระดาษชักจะลุ่ย หรือคุณไม่สามารถเอาสีออกจากกระดาษได้อย่างที่คุณต้องการ ให้ใช้สีต่อไปนี้คู่กัน

Gouache  เป็นสีทึบแสงที่สามารถผสมด้วยสีน้ำได้ง่าย เวลามันแห้งมันจะด้าน และสามารถปกปิดบริเวณที่มีปัญหาได้ค่ะ

เป็นสีที่เบสด้วยน้ำและมีลักษณะทึบแสงเช่นกัน มีความยืดหยุ่นและสามารถใช้บนสีน้ำได้ ใช้บางๆก็จะเหมือนสีน้ำที่ระบายเคลือบด้วยสีสว่างๆ และการที่มันเป็นพลาสติคโพลีเมอร์ มันจึงมีข้อดีที่แห้งแล้วแห้งเลย ไม่ละลายออกมาเมื่อโดนน้ำ ทำให้สีสด สามารถใช้หนาๆหน่อยได้ ก็จะทึบแสงไปเลย เหมาะในการระบายทับบริเวณที่มีปัญหา

นอกจากนี้สีน้ำ ยังสามารถระบายได้ง่ายร่วมกันสีไม้ ไม่ว่าจะเป็นสีไม้ธรรมดา หรือ สีไม้ระบายน้ำ,สีหมึกและซอฟท์พาสเทลด้วย สีชอล์คก็สามารถระบายทับสีน้ำได้เช่นกัน บริเวณที่ระบายด้วยสีชอล์คจะกันน้ำ

10.กรรไกร และ คัตเตอร์ (พลังทำลาย 10)

ข้อดีของการทำงานบนกระดาษคือ….ทำเจ๊งก็ตัดบริเวณที่เจ๊งออกซะเลย

อ้างอิง:

http://ift.tt/2sEWsGM

The post 10 ท่าไม้ตาย!!แก้ไขงาน สีน้ำ เน่าได้ทุกรูปแบบ appeared first on ILLUSTCOURSE.



from WordPress http://ift.tt/2tY84s0
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: