หน้าเว็บ

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 24, 2561

การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 1

การเขียนเอาท์ไลน์(โครงเรื่อง)นิยายและการ์ตูน 1

-pantser vs.plotter
.
pantser คือคนที่ส่วนมากจะใช้วิธีการ improvisation ในการเขียนเรื่อง เขาจะตื่นเต้นเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปเรื่อยๆโดยไม่มีการวางแผนชัดเจน ข้อดีของการเป็น pantser คือ การลงมือเขียนทันที แต่ด้วยความที่ขาดการวางแผน ทำให้เวลาย้อนกลับมาดูงาน มักจะมีช่องโหว่แล้วต้องย้อนมาแก้อยู่บ่อยครั้ง
.
Plotter . คือ คนที่วางแผนพล็อตก่อนที่จะทำการเขียนทุกครั้ง ซึ่งจริงๆแล้วแบบนี้ก็ให้ความตื่นเต้นไม่แพ้แบบแรกหรอก แต่ว่าข้อแตกต่างกันก็คือ การวางแผนนั้นถ้าหากมีอะไรที่แหม่งในเรื่องก็สามารถกลับมาดูที่โครงเรื่องได้ทันที
.
-Plot driven vs character driven
ผู้สอนมักจะจินตนาการเนื้อเรื่องกว้างๆก่อน แล้วใส่คาแรคเตอร์เข้าไป เช่น เครื่องบินตก ทุกคนติดเกาะ แล้วต้องหาทางอยู๋ร่วมกันให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ต้องมีคนตาย แล้วพอใส่คาแรคเตอร์เข้าไป ก็จะเกิดเนื้อเรื่องขึ้นมา และถ้าเปลี่ยนคาแรคเตอร์ เรื่องที่เขียนก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน แล้วถ้าเราลองเอานิยายที่ชอบมาดู ถ้าหากเอาคาแรคเตอร์ออกแล้วเรื่องเปลี่ยน แปลว่านั่นคือ character driven ถ้าเอาออกแล้วเรื่องไม่เปลี่ยนแปลว่านั่นคือ plot driven
.
-วิธีการคิดเรื่องแบบง่ายๆ
ให้ใช้คำถาม “อะไรจะเกิดขึ้น….ถ้า….”
.
-จดแนวความคิดลงกระดาษ และถ้าต้องเขียนแผนที่ หรือวาดคาแรคเตอร์ ก็ต้องทำ เพื่อที่จะทำให้เนื้อเรื่องมีมิติมากขึ้น สามารถเขียนไทม์ไลน์ได้
.
ระดมสมองด้วย Cluster Brainstorming ทำคล้ายๆ mindmap ก็คือมีวงอยู่ตรงกลางวงนึง แล้วก็เขียนวงต่อๆไปให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน แล้วก็วงที่อยู่ด้านนอกจะเป็นเรื่องเฉพาะทางขึ้นเรื่อยๆ เช่น เขียนเรื่องความสัมพันธ์ ต่อมาก็เป็นความรัก รักข้างเดียว รักข้างเดียวที่เป็นชายกับชาย ชายกับชายที่ไม่ลงรอยกัน เป็นต้น
.
-free writing
ให้เขียนอะไรก็ได้ หาเวลาที่เหมาะสม เขียนอะไรก็ได้ทีอ่ยากเขียน ไม่จำเป็นต้องให้ใครดู จะเขียนสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาก็ได้ เพื่อเป็นการฝึกให้ตัวเองนั้น อดทนกับเสียงค้านที่อยู่ในหัวตัวเอง แล้วเขียนมันออกมาให้จบให้ได้
.
จดเรื่องเส้นเรื่อง
เส้นเรื่องหรือ Dramatic element,elements of plot นั้น แบ่งออกเป็น
-background ส่วนนี้ตัวละครจะดำเนินเรื่องไปเรื่อย จะไม่มีอะไรน่าสนใจจนกว่าจะเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นกับตัวละครซึ่งเป็น begining force ที่ทำให้เกิดเนื้อเรื่องขึ้นมา
-เข้าสู่ rising action เส้นตรงนี้จะขึ้นลงขึ้นลง มีการคลี่คลายตามลำดับ แต่อาจจะยังไม่ได้คลี่คลายปมสุดท้ายที่เป็นปมขัดแย้งของตัวละคร
-Crisis ตัวละครเกิดหายนะ หรือว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และทำให้คนอ่าน หรือคนดูเครียดสุดๆ
-Climaxเหมือนกินขนมหวานชิ้นโต ก็คือจะเป็นช่วงที่เรื่องทั้งหมดคลี่คลาย ปมขัดแย้งหายไปเลย
-falling action (resolution) เคลียร์เนื้อเรื่องให้เรียบร้อย
-end จบ
.

The post การเขียนเอาท์ไลน์นิยายและการ์ตูน 1 appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2BLf0wi
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: