หน้าเว็บ

วันพุธ, สิงหาคม 30, 2560

Sachinteng งานดีมีเรื่องเล่า

คนนี้พี่มุ่ยชอบมากค่ะ มันเป็นคำนิยามของคำว่า “งานดี มีเรื่องเล่า” งานสวยมากและมีความหมายด้วย ไปดูกันงาน  Sachinteng
เขาเรียนจบนิเทศศิลป์ จากมหาวิทยาลัย Pratt ค่ะ

จริงๆไม่ค่อยอยากบันทึก เพราะพอบันทึกสิ่งที่คิดจริงๆในหัว ก็จะมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่คิดว่าแสดงความคิดออกมาดีกว่า
 

พอโตขึ้นสิ่งเราที่ชอบก็เปลี่ยนไป…

 
เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากเคยอ่านการ์ตูน หรือคิดว่าจะอ่านการ์ตูนตลอดไป มาตอนนี้ไม่อ่าน อ่านไม่ได้ ไม่อินเนื้อเรื่อง ไม่สนุกเหมือนอ่านพ็อคเกตบุค อ่านแล้วไม่ติด ชอบดูหนังมากกว่า
 
ชอบดูหนังที่ทำให้ฉุกคิดอะไรบางอย่าง อย่าง silence ของ Martin Scorsese นี่เจ๋งมาก
 
แนวหรือรสนิยมในการดูรูปเปลี่ยนไป จากที่ชอบรูปสวยๆถึกๆ วาดแล้วโชว์ความอลังการ ตอนนี้ดูแล้วเฉยๆ ไม่ได้คิดอะไร แต่งานที่ชอบมากคือสวย และมี message ตอนนี้จึงดูที่ความหมาย และการสื่อความของรูปมากกว่า ดังนั้นจึงชอบงานคนนี้มากเลย
 
Sachinteng งานมันดูมีอะไรมากกว่าคำว่า ‘สวย’ อย่างเดียว
เวลาวาดภาพสวยๆ เพื่อนสนิทเราบอกว่า ยูจะโกแบคทูยัวร์โอลชิทอีกแล้วเหรอ เวลาเราวาดภาพแล้วไม่คิดก่อน วาดตามสัญชาติญาณ แล้วก็ถามตัวเองในใจ จริงๆแล้วเราชอบงานแนวไหนวะ?
 
พอไปคุยกับจิ้ว Kasidej Hempromaraj จิ้วบอกว่าเราใช้อินเนอร์ในการวาดมาก ไม่ได้ใช้คอนเซปต์ในการวาด ภาพเราแนว haunt หน่อยๆ ซึ่งตัวภาพไม่ต้องมีความหมายก็ได้ แต่ถ้าอยากให้มีความหมาย ภาพมันก็จะได้ไม่ต้องอัดทักษะ 100% เหมือนเดิม แต่ถ้ามี concept ภาพจะแข็งแรงขึ้น
 
ถ้าถามว่าตอนนี้เราพอใจกับ direction ของตัวเองไหม ค่อนข้างพอใจแล้วนะ เหลือแค่พัฒนาให้มันเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องต่อไป
 
ไปคุยกับเจ้ Artistaya Kannasoot เจ้บอกว่าถ้าเธอชอบทดลอง ก็ทดลองไป แต่อย่าถามว่าตัวตนของตัวเองคืออะไร เพราะถ้าตัวตนของเราคือการทดลองแล้ว เท่ากับตัวตนเราคือเราไม่มีตัวตนนั่นเอง
 
ถ้าถามว่าเราใช้อะไรในการพัฒนางาน เราดูเยอะ คุยเยอะค่ะ เพราะว่า เราต้องการ input ถ้าไม่มี input ก็ไม่มี output ออกมา เราคิดว่าองค์ประกอบแรกของการทำให้เก่งไม่ใช่ทักษะ แต่เป็น ‘แนวความคิด’ ถ้าแนวความคิดถูกต้อง ทักษะพัฒนากันได้ คนมักจะถามว่า ทำให้เก่งทำยังไง วาดเก่งวาดยังไง แต่ไม่ถามว่า วาดให้ภาพตราตรึงคน วาดให้ภาพนั้นเปลี่ยนแปลงคน วาดให้ภาพนั้นทำให้คนฉุกคิด ทำยังไง พัฒนาแนวคิดในภาพ ทำยังไง อะไรทำนองนี้
 
และสิ่งที่เราอยากจะฝากไว้อีกก็คือ คนวาดรูปสวยๆ วาดเก่งๆมีเยอะ แต่คนที่วาดรูปแล้วมีความหมาย มีน้อย เราเคยได้ยินว่า งานองค์ประกอบ บางทีมัน beyond จุดนั้นไปแล้ว คือเลยจุดของการเล่าเรื่อง การเล่าเรื่องเป็นเพียงแค่ path หนึ่ง แต่เร็วๆนี้ไปดูวีดีโอของ SVS learn ที่วิล เทอร์รี่ออกมาพูด เขาบอกว่า คนวาดสวยๆนั้นมีเยอะสุดๆ แต่คนที่สำเร็จในสายนี้แบบจริงๆ โดยส่วนมากจะเป็นงานที่เล่าเรื่องอะไรบางอย่างทั้งสิ้น ไม่ว่าจะผ่านท่าโพส คอมโพส องค์ประกอบ สีหน้า ท่าทาง
 

ดังนั้นอยากให้ดูงานของคนนี้


 

http://ift.tt/11UJ7Ja

The post Sachinteng งานดีมีเรื่องเล่า appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2xLLlOd
via IFTTT

วันจันทร์, สิงหาคม 28, 2560

การวาดรูป จริงแล้วอะไรคือ สิ่งที่สำคัญ

เคยคิดไหมว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญใน การวาดรูป?

ระหว่างที่สอน จะสอนนักเรียนเสมอว่า …
การวาดรูป ไม่ต้องพยายามวาดให้เหมือน
ถ้ามันวาดแล้วไม่เหมือน ก็ปล่อยไป
ทำไมต้องวาดให้เหมือน เราไม่ใช่เครื่องพล็อต
ไม่ใช่กล้องถ่ายรูป เราเป็น’มนุษย์’ …


มีความรู้สึก บางคน เป้าหมายของ การวาดรูป 

ไม่ใช่การเป็น great artist แต่เป็นเรื่องความสุขที่มีจากการวาดรูป

ถ้าวาดรูป แล้วมันไม่มีความสุข เราจะวาดกันไปทำไม?

ดังนั้นไม่ต้องเครียดหรอก ถ้าวาดสิ่งไหนแล้วไม่เหมือน

มันแสดงให้เห็นว่า คุณเป็น”มนุษย์” คนหนึ่ง ดังนั้นวาดรูปแล้วอย่าเครียด

อย่าเครียดว่าจะต้องเหมือนคนนั้นคนนี้ อย่าเครียดว่าจะต้องเอาให้ได้ภายในวันนั้นวันนี้ วาดไป เดี๋ยวดีเอง 

เราจะบอกนักเรียนเสมอว่า สิ่งที่สำคัญกว่าคำว่า “เหมือน”

คือ “ความรู้สึกขณะวาด” มากกว่า

ถ้าถามเราว่า แล้วพื้นฐานที่ดีคืออะไร?

พื้นฐานที่ดี คือรู้ว่า อวัยวะใด อยู่ตรงไหน สัดส่วนแบ่งยังไงให้วาดง่าย ดูเหมือนคน ก็พอแล้ว

รู้ว่าจัดองค์ประกอบยังไงเรียกว่าสวย ใช้สียังไงคือดี แล้วที่เหลือ เราใช้ความรู้สึกในการวาดได้

ถามว่า การพูดแบบนี้ หมายถึงเซนส์ใช่ไหม?

จะตอบว่า ใช่ และ ไม่ใช่ เพราะเซนส์ มันเป็นเรื่องติดตัว เหมือนประสาทสัมผัส

เหมือนเรารู้ว่านี่คือรสเปรี้ยว นี่คือรสเค็ม การใช้คำว่าเซนส์

จึงเหมาะกับ การตัดสินว่าอะไรงาม ไม่งาม งามของอีกคน อาจจะไม่ใช่งาม สำหรับอีกคน

หนังสือดีของอีกคน อาจจะไม่ดีสำหรับอีกคน เปรี้ยวสำหรับอีกคน อาจจะเป็นไม่เปรี้ยว

ดังนั้น เสต็ปแรกของการวาด คือรู้ว่า ความงามเป็นอย่างไร และไม่งามเป็นอย่างไร

อะไรคือสวย และไม่สวย สำหรับ”สากลโลก”

แต่การที่เราวาดรูป มันไม่มีคำว่าถูกหรือผิด 100% เพราะว่ามันเป็นเรื่อง personal

คนอาจจะบอกว่า เพราะคิดงี้สินะ ถึงวาดออกมาแล้วเบี้ยวบ้าง บูดบ้าง ไม่ถูกต้องตามหลัก anatomy บ้าง
เราค่อนข้างจะโอเคกับสิ่งที่คนอื่นติมานะ และรู้สึกขอบคุณจริงๆ

แต่ถามว่าเราคิดจะปรับไหม เราจะบอกว่าเราไม่ได้เน้นตรงนั้นมากกว่าค่ะ
และนักเรียนที่มาเรียนกับเรา ก็จะเข้าใจเลยว่า เราไม่ได้เน้นส่วนนั้น 100%
เพราะฉะนั้น เขาจะรับกับสไตล์การสอนของเราได้ เราจะบอกว่าเราไม่ได้ละเลย
เรากำลังศึกษาเพิ่มอยู่เรื่อยๆค่ะ แต่การวาดโดยการที่เราจะต้องถูกต้องตามหลักการนั้น
ทำให้เราเครียดมากและทุกครั้งที่เราเครียดเข้าไปอีก เราจะวาดรูปออกมาได้ไม่ดีทุกทีไป

และเราคิดว่า ถ้าเราเครียด เราจะวาดรูปไปทำไปกัน?

เราวาดรูป เพื่อที่จะมีความสุข ไม่ใช่เหรอ?

ดังนั้นเราเลยปล่อยมัน ปรากฏว่าทุกครั้งที่เราปล่อยมันไป เราจะมีความสุขกับการวาด และส่วนมากมันจะออกมาดี

ถ้าถามว่าเราจะเป็นครูที่ดีได้อย่างไร

ถ้าไม่สามารถสอนให้นักเรียนวาดได้ถูกต้องตามหลักการ?

ก่อนอื่น เราไม่ใช่คนที่เคารพ’หลักการ’เท่าไรนักค่ะ. หมายถึง เราคิดว่าหลักการนั้นเป็น ‘เพื่อน’ กับเรา

เหมือนกับเพื่อนในชั้นเรียนคนหนึ่ง หลักการไม่ใช่อาจารย์ ไม่ใช่พ่อแม่
ไม่ใช่คนที่เราจะต้องเชื่อฟังตลอดเวลา บางทีนาย’หลักการ’คนนี้ก็บอกให้เราต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้
ทั้งๆที่จริงๆแล้ว เราไม่ได้อยากทำ และหลักการเองก็มีความผิดพลาด

ถ้าถามว่าทำไมเราถึงไม่เคารพในหลักการ หลักการนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ คิดค้น และประดิษฐ์ขึ้นมาค่ะ

มันไม่เหมือนกฏธรรมชาติ ที่กฏนั้นต้องเป็นกฏตลอดเวลา เหมือนเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก
ยังไงก็เป็นจริงเสมอ ยังไงโยนแอปเปิ้ลขึ้นไปบนฟ้า ก็ต้องตกลงมา มันเป็นจริงเสมอ
พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก ตกทางทิศตะวันตก นี่คือกฏ

แต่หลักการอย่างเช่น กฏสามส่วน(ชื่อกฏแต่จริงๆเป็นหลักการที่คนสร้างขึ้นค่ะ) ทำให้รูปสวยขึ้น(ตามหลักสากล) แต่ในขณะที่บางคนบอกกฏสามส่วนดี บางคนก็บอกว่ากฏสามส่วนไม่ดีก็มี เคยเขียนไปแล้วในเอนทรี่ก่อนๆ เราต่างเรียนรู้หลักการ เพื่อจะเป็นเพื่อนกับหลักการได้อย่างไม่มีปัญหา และไม่ทะเลาะกันมากกว่า

เราเป็นคนให้ความสำคัญกับความรู้สึกในขณะวาดมากกว่าหลักการต่างๆ

ถามว่าความรู้สึกอะไรที่สำคัญในขณะวาด มันคือ “ความสุข” นั่นเอง
ย้ำไปแล้วหลายรอบ ต่อให้เก่งขนาดไหน ถ้าวาดไปแล้วไม่มีความสุข ก็เท่านั้นค่ะ
มันก็เหมือนกับการมีแฟน หรือมีความสัมพันธ์ มีครอบครัว เราต่างมี เพราะว่าอยากมีความสุขกันทั้งนั้น

ดังนั้น การวาดรูป สิ่งสำคัญมันคือ “ความรู้สึกมีความสุขในขณะที่เราวาด”
มากกว่าความรู้สึกใดๆทั้งสิ้น

การละเลยหลักการก็ไม่ใช่เรื่องดีเช่นกันนะคะ

แต่พวกเราต่างเรียนวาดรูป เพราะคิดว่า วาดเก่งขึ้นแล้วจะทำให้เรามีความสุขขึ้นกันทั้งนั้น

เราคิดว่า ความสุขสำหรับบางคน อาจจะเป็น ‘ความถูกต้องในขณะที่ได้วาดรูป’ และมีจุดมุ่งหมายอยากเป็น ‘great artist’ ในสายการวาดเหมือนดังนั้น เขาถึงวาดออกมาแล้วเหมือน หรือวาดออกมาแล้วมันเป๊ะ มันดีก็ได้ เราเองก็ไม่ได้ตัดสินว่าความคิดของเรานั้นถูกต้อง เพียงแต่เราเองก็มีความคิดของเรา ซึ่งพวกเราควรจะเคารพจุดยืนของกันและกันมากกว่า สังคมนี้ถึงจะงดงามนะคะ

The post การวาดรูป จริงแล้วอะไรคือ สิ่งที่สำคัญ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2wUI41Y
via IFTTT

วันอาทิตย์, สิงหาคม 27, 2560

ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่บทความสอนต่างๆ จะทำให้แสงนั้นเป็นตัวเสริมแก่ภาพ นั่นก็คือการให้บรรยากาศ เราอาจจะได้รับแรงบันดาลใจว่าวัตถุนั้นเป็นรูปทรงแบบสากล และด้วยแสงที่ถูกต้องเราสามารถเปลี่ยนอารมณ์ของภาพได้ แต่ความจริงคือ ถ้าไม่มีแสง ก็จะไม่มีอะไรให้เพนท์ต่างหาก ก่อนที่คุณจะรู้ความจริงข้อนี้ ตาคุณบอดไปเสียก่อนกับความรู้ที่เคยเรียนๆกันมา

 

ในฐานะนักวาด คุณเคยพยายามตอบคำถามนี้ไหม ถ้าไม่ มันก็เป็นอะไรที่เป็นข้อผิดพลาดมากๆเลย ทุกอย่างที่คุณวาดนั้นเป็นตัวแทนของการมองเห็น เหมือนหลักการของฟิสิกส์ นั้นเป็นตัวแทนของกระบวนการที่แท้จริง มีสิ่งที่มากกว่านั้น สิ่งที่เราวาดไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริง หรือจุดมุ่งหมายของภาพนั้นเป็นความจริง มันเป็นเพียงภาพที่สร้างขึ้นมาจากสมองของคุณ เป็นการตีความจากสัญลักษณ์ต่างๆที่จับได้โดยตาของคุณ ดังนั้น โลกที่เราเห็นเป็นเพียงการตีความความเป็นจริง หนึ่งในหลายๆอย่างเท่านั้น และไม่ใช่สิ่งที่เป็นความจริงที่สุด และที่สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาทั้งหมด เพียงแค่ดีพอที่จะทำให้เผ่าพันธุ์ของเราคงอยู่รอดเท่านั้น

ทำไมเราถึงมาพูดถึงสิ่งเหล่านี้ในบทความสอนเพนท์ การเพนท์ด้วยตัวมันเองนั้นเป็นการทำให้กระดาษหรือสกรีนบางส่วนมืดลงหรือสว่างขึ้น เพื่อที่จะสร้างภาพลวงตาของบางอย่างที่ดูเหมือนจริง ในอีกมุมหนึ่ง ศิลปินพยายามที่จะสร้างภาพที่มันสามารถเป็นสิ่งที่สร้างโดยสมองของเรา (เพราะมันง่ายกว่าเรามากกว่า เนื่องจากเราคิดเป็นระบบ เราจึงพยายามหารูปร่างที่คุ้นเคยในภาพเชิงนามธรรม๗

ถ้าภาพนั้นเหมือนกับสิ่งที่เราเห็นในจิตใจของเรา เราจะบอกว่ามันคือแนวเหมือนจริง มันอาจจะเหมือนจริงทั้งๆที่ไม่สามารถที่จะระลึกได้ว่านั่นคือรูปร่างหรือว่าขอบของวัตถุนั้นระลึกได้หรือไม่ สิ่งที่คุณต้องการก็คือ สี แสง และเงา ในการทำให้บางสิ่งที่คุ้นเคยเกิดขึ้นมาในจิตใจ นี่คือตัวอย่างที่ดีสำหรับเอฟเฟคต่อไปนี้

Winter in the forest by Piotr Olech

เพื่อที่จะสร้างภาพที่คล้ายคลึงกับภาพที่คล้ายกับภาพที่สร้างด้วยสมอง เริ่มแรกคุณจะต้องเรียนรู้ว่าสมองทำงานอย่างไรก่อน การอ่านบทความนี้คุณจะพบกระบวนการทั้งหมดที่ชัดเจน แต่คุณอาจจะประหลาดใจว่า วิทยาศาสตร์นั้นใกล้เคียงกับการเพนท์มาก เรามักจะให้การมองเห็นนั้นเป็นส่วนของฟิสิกส์ และการเพนท์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมตาฟิสิกส์ แต่นั่นเป็นข้อผิดพลาด ศิลปะนั้นเป็นภาพสะท้อนของความเป็นจริงผ่านทางสมองของเรา ในการที่เราจะเลียนแบบความเป็นจริง เริ่มแรกเราต้องเรียนรู้ก่อนว่า อะไรที่จิตใจของเราคิดว่าจริง

กลับไปที่พื้นฐานของการมองเห็น แสง นั้นโดนวัตถุ และสะท้อนกลับมายังตาเรา และสัญญาณก็สร้างขึ้นโดยสมอง หลังจากนั้นภาพก็เกิดขึ้น นั่นคือสิ่งที่รู้กันอยู่ใช่ไหม แต่คุณได้รู้สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทั้งหมดหรือไม่

มาถึงส่วนแรก ส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการเพนท์ภาพ แสงนั้นเป็นสิ่งเดียว ที่เรามองเห็น มันไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่สี ไม่ใช่เพอร์เสปคทีฟ ไม่ใช่รูปร่าง เราสามารถเห็นแค่แสง สะท้อนจากผิว รบกวนโดยคุณสมบัติของพื้นผิวและตาของเรา ภาพสุดท้ายนั้นอยู่ในหัวเรา เฟรมเดียวของวีดีโอที่ไม่มีวันจบ ก็เป็นชุดของแสงกระทบที่ลูกตาของเราในเวลานั้น รูปสามารถถูกรบกวนได้ด้วยความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติของแสงทุกลำ เพราะว่าทุกๆลำนั้นมาจากแหล่งกำเนิด ทิศทาง ระยะห่างที่แตกต่างกัน และมันอาจจะโดนวัตถุหลายๆอย่างก่อนที่จะโดนเข้าที่ตาของคุณในท้ายสุด

นั่นคือสิ่งที่เราทำในขณะที่เราเพนท์ เราเลียนแบบแสงที่กระทบวัตถุหลากหลาย(สี,ความสม่ำเสมอ,ความเงา) ระยะห่างระหว่างพวกมัน( ปริมาณของสี,ความต่างชัด,ขอบ และเพอร์เสปคทีฟ และแน่นอนเราไม่วาดสิ่งที่ไม่สะท้อนหรือกระจายอะไรเลยสู่สายตาเรา ถ้าคุณเพิ่มแสงหลังจากที่ภาพกำลังจะเสร็จ คุณทำพลาดไปแล้ว ทุกสิ่งบนภาพวาดของคุณคือแสง

พูดง่ายๆ เงาคือพื้นที่ที่ไม่ได้รับการสัมผัสด้วยแสงโดยตรง เวลาที่คุณอยู่ในเงา คุณไม่สามารถเห็นแหล่งกำเนิดแสง อันนั้นชัดเจนใช่ไหม

ความยาวของเงาสามารถวาดโดยวาดลำแสงขึ้นมา

การวาดเงามันอาจจะมีเล่ห์กลนิดนึง มาดูที่สถานการณ์นี้กันหน่อย เรามีวัตถุและแสงขนาดใหญ่  นี่คือวิธีที่เราวาดแสงเงา



แต่เดี๋ยวก่อน เงานี้แคสท์โดยแสงเพียงแค่แหล่งเดียว ถ้าเราเลือกจุดอื่นหละ

ที่เราสามารถเห็น เพียงแค่จุดแสงเท่านั้นสร้างเงาที่คม เงาที่คมและง่ายต่อการบ่งชี้ เมื่อแหล่งกำเนิดแสงใหญ่ขึ้น (กระจัดกระจายมากขึ้น) เงาก็จะเบลอขึ้น มีขอบไล่สีมากขึ้น

ปรากฏการณ์ที่เราอธิบายไป มันเป็นเงาหลายเงา ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดแสงแหล่งเดียวด้วย  ชนิดของเงานี้มันเป็นธรรมชาติว่า นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมภาพถ่ายด้วยแฟลช ถึงดูคมและแปลกแยก

โอเค แต่มันเป็นแค่สมมติฐาน มาดูกระบวนการนี้ในการปฏิบัติกันบ้าง นี่คือที่วางแทบเล็ท ที่ถูกถ่ายภาพในวันอาทิตย์สดใส คุณมองเห็นเงาซ้อนกันหรือไม่ มาดูใกล้ๆกัน

ดังนั้น แสงจะมาจากมุมซ้ายบน อย่างหยาบๆ ปัญหาคือตรงนี้ไม่ใช่แสงแบบจุด ดังนั้นเราไม่มีเงาที่ชัดเจน ที่ดูดี ที่เหมาะจะวาดรูป การวาดแสงแบบนี้มันไม่ช่วยอะไร

 

มาดูอะไรที่แตกต่างออกไป ตามสิ่งที่เราเห็น แสงกระจายที่มาจากหลายๆแหล่งนั้นสร้างให้เกิดจุดแสง หลายแหล่ง เมื่อเราเขียนแบบนี้มันดู เข้าใจได้มากกว่า

เพื่อที่จะอธิบายมันอย่างชัดเจนขึ้น มาทำให้แสงบางอันหายไป เห็นไหม ถ้าไม่ใช่แสงที่กระจัดกระจายนี้ เราก็มีเงาธรรมดา

เดี๋ยวก่อน ถ้าไม่มีแสงแตะบริเวณนั้น เราจะเห็นสิ่งที่อยู่ในเงาได้อย่างไร เราจะเห็นอะไรก็ตามในวันที่มืดหม่นเมฆบังได้อย่างไร เมื่อทุกอย่างอยู่ในเงาของเมฆ นั่นเป็นเพราะว่าแสงกระจายหรือ diffuse light  เราจะคุยถึงแสงกระจายตลอดใน tutorial นี้

tutorial เกี่ยวกับการเพนท์มักจะทำให้แสงและแสงสะท้อนหรือ reflect light เป็นบางอย่างที่เป็นสิ่งที่แตกต่าง  พวกเขาอาจจะบอกคุณว่าแสงโดยตรงนั้นทำให้ผิวสัมผัสสว่าง และแสงสะท้อนนั้นอาจจะเกิดขึ้น ให้แสงสว่างในความมืด คุณอาจจะเห็นไดอะแกรมเหมือนกับอันด้านล่าง

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริงซะทีเดียวเพราะว่า พื้นฐานแล้วเวลาที่คุณเห็นแสงอะไรสะท้อนเข้ามา ถ้าคุณเห็นอะไรบางอย่าง มันเป็นเพราะว่าแสงสะท้อนมาจากมัน คุณอาจจะเห็นแสงทางตรงเมื่อคุณจ้องมองไปที่แหล่งกำเนิดแสงโดยตรงเท่านั้น ดังนั้นไดอะแกรมควรจะเป็นแบบนี้มากกว่า

But to make it even more correct, we need to bring in a few definitions. A light ray hitting a surface may behave in a few ways, depending on the kind of surface it is.

แต่ในการที่ทำให้มันถูกต้องมากขึ้น เราต้องนำคำจำกัดความใหม่เข้ามาสองสามคำ แสงนั้นกระทบผิวอาจจะทำให้เกิดลักษณะสองสามลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะของพิ้นผิว

  • เมื่อแสงนั้นสะท้อนทั้งหมดจากวัตถุไปยังมุมเดียวกันเราเรียกว่า specular reflection
  • ถ้าแสงบางส่วนแทงทะลุพื้นผิวเข้าไป มันอาจจะสะท้อนโดยโครงสร้างเล็กๆของมัน สร้างให้เกิดมุมที่ถูกรบกวน ผลก็คือทำให้เกิดภาพที่ไม่ชัด เราเรียกว่า diffuse reflection
  • แสงบางส่วนจะถูกดูดซับโดยวัตถุ
  • ถ้าลำแสงที่ถูกดูดซับเข้าไปพยายามจะออกมา เราเรียกว่า Transmitted light

มาโฟกัสกันที่ diffuse และ specular highlight กันก่อน เพราะว่ามันสำคัญกับการเพนท์มาก

ถ้าหากพื้นผิวนั้นมีความมันเงา และมีโครงสร้างเล็กๆที่ถูกต้องที่บล็อคแสง ลำแสงที่โดนวัตถุจะสะท้อนไปในทิศทางเดียวกัน specular reflection ทำให้เกิดเอฟเฟคกระจก ไม่เพียงแต่แสงอาทิตย์โดยตรงที่สะท้อนอย่างสมบูรณ์เท่านั้น สิ่งเดิมเกิดขึ้นกับแสงไม่โดยตรง (ย้ายจากแหล่งกำเนิดแสง สะท้อนวัตถุ และชนผิวสัมผัส ) ผิวสัมผัสที่เกือบจะเพอร์เฟ็คนั้นทำให้เกิด specular reflection ที่สมบูรณ์แบบ แน่นอน คือกระจก แต่วัสดุชนิดอื่นๆก็ให้เอฟเฟคที่ดีเช่นกัน เช่นน้ำหรือเหล็กนะ ยกตัวอย่าง

ในขณะที่ specular reflection สร้างให้เกิด ภาพที่สมบูรณ์ของวัตถุที่สะท้อน ต้องขอบคุณมุมที่ถูกต้อง diffuse reflection นั้นมีความน่าสนใจมากกว่า มันรับผิดชอบเรื่องสีโดยตรง (เราจะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ลึกลงไปในบทหน้าของซีรีย์นี้) และมันก็ทำให้แสงของวัตถุสว่างขึ้นในแนวที่นุ่มนวลขึ้น ดังนั้นโดยพื้นฐานก็คือ มันทำให้วัตถุสามารถมองเห็นได้โดยตาเราไม่ไหม้ไปเสียก่อน

วัตถุมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวกับการสะท้อน ส่วนใหญ่ของมันจะเกิดการกระจาย (diffuse) และดูดซับสีส่วนใหญ่ไป สะท้อนบางส่วนออกมาเท่านั้นเป็น specular สิ่งที่คุณคาดเดาเอาไว้นั่นแหละ ก็คือ วัตถุเงานั้นมีค่าของการสะท้อนเป็น specular หรือสะท้อนกลับหมดสูงกว่าวัตถุด้าน ถ้าเรามองที่ภาพประกอบที่แล้วอีกครั้ง เราสามารถสร้างไดอะแกรมที่ถูกต้องกว่าเดิมได้ดังนี้

เมื่อดูที่ภาพนี้ เราอาจจะมีความคิดว่ามีเพียงจุดเดียวเท่านั้นบนพื้นผิวที่มันที่ๆเกิด specular relfection แต่นั่นไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป มันเกิดขึ้นเมื่อไรก็ตามที่แสงโดนพื้นผิว แต่มันมีเพียงหนึ่งลำแสงเท่านั้นที่โดนตาของคุณในครั้งหนึ่ง

มีการทดลองหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ สร้างแหล่งกำเนิดแสงเอง (ใช้โทรศัพท์ ,หรือโคมไฟของคุณ )จากนั้นวางมันลง เพื่อให้มันเกิดแสงไปยังพื้นผิวเงาจากด้านบนและเกิดแสงสะท้อน มันไม่จำเป็นต้องเป็นแสงสะท้อนที่ชัดมาก แค่ทำให้แน่ใจว่าคุณจะเห็นมัน ยิ่งมุมแคบเท่าไร การมองเห็นภายใต้แสงนั้นมันแทบจะเป็นไปไม่ได้ถ้าคุณไม่ใช่แหล่งกำเนิดแสง

แล้วมีอะไรที่สิ่งนี้เกี่ยวกับการเพนท์หน่ะเหรอ มาถึงกฏข้อที่สอง ตำแหน่งของผู้สังเกตุการณ์มีอิทธิพลต่อแสงเงา แหล่งกำเนิดแสงอาจจะตายตัว ตำแหน่งวัตถุอาจจะตายตัว แต่ผู้สังเกตุทุกๆคนเห็นมันแตกต่างกันไป มันชัดเจนเมื่อเราคิดถึงเพอร์สเปคทีฟ แต่เราแทบจะไม่คิดถึงแสงในทางนี้เลย ในความสัตย์จริง เมื่อคุณเซ็ทแสง คุณได้คิดถึงผู้สังเกตุการณ์หรือไม่

อย่างที่สงสัย คุณสงสัยบ้างหรือเปล่าว่าทำไมเราต้องเพนท์กริดสีขาวลงบนวัตถุเงา ตอนนี้คุณอาจจะสามารถตอบคำถามนี้ได้ด้วยตัวคุณเอง รวมไปถึงว่าคุณรู้ว่ากลิตเตอร์ ทำงานได้อย่างไรด้วยเช่นกัน ไปต่อตอนที่สองกันคราวหน้าค่ะ

http://ift.tt/2w96LXL

 

The post ปรับภาพวาดให้สวยเด่นโดยการเล่น ‘ แสง ‘ รูปแบบของแสงและกลไกในการมองเห็นของมนุษย์ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2xnzPJB
via IFTTT

วันศุกร์, สิงหาคม 25, 2560

[1 blog 1 picture]:step สอนลง สีน้ำ Peony

สวัสดีครับ ผมครูต้วยครับ วันนี้ครูต้วยจะมาสอนวิธีการเขียน และ เพนท์ ดอก Peony แบบง่ายๆนะครับ
ซึ่งครูต้วยจะแบ่งเป็น step เป็นขั้นๆไป ลองเอาไปทำตามกันดูนะครับ 🙂

อันนี้คือรูปที่เราจะมาฝึกวาดตามกันวันนี้นะครับ

Cr. http://ift.tt/2wupGNH

1.มองรูปทรงภาพรวมให้ออก และเริ่มร่างจากทรงพื้นฐาน

2.ค่อยๆเพิ่มความซับซ้อนให้กับรูปทรง กำหนดตำแหน่ง แบ่งชั้นกลีบ

3.เริ่มร่างกลีบขึ้นจากรูปทรงที่แบ่งไว้

4.ใส่รายละเอียดให้ครบ ลบเส้นร่างออกให้เส้นดูสะอาดตา

5.ค่อยๆลงสีน้ำทีละกลีบจากอ่อนไปเข้ม

6.พยายามลงสีให้มีอ่อนสุด เข้มสุด ตั้งแต่การลงครั้งแรก เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเหนื่อยเก็บงานตอนท้ายมาก

 

7.ค่อยๆลงไปเรื่อยๆจนครบทุกกลีบ

8.พอลงครบทุกกลีบแล้ว ให้กลับมาเก็บรายละเอียดที่เหลือ ให้ครบ เป็นอันจบงานครับ

ภาพหลังจากงานเสร็จ

เรียนกับครูต้วย ติดต่อมาได้ที่ 0860857889 ค่ะ

The post [1 blog 1 picture]:step สอนลง สีน้ำ Peony appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2waLJX6
via IFTTT

วันพุธ, สิงหาคม 23, 2560

แสงเงา ใช้ยังไงให้ภาพดูมลังเมลือง กับประเภท แสงเงา 5 แบบที่ควรรู้

แสงสำหรับการวาดภาพและแสงธรรมชาติ 5 ชนิดที่นักวาดใช้เพื่อสร้างงานให้เกิดมิติและความลึก

แสงเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่นักวาดและช่างภาพใช้ในการสร้างให้เกิดความลึก,รูปร่างและอารมณ์ในงาน

มันเป็นระยะของโทนแบบพื้นฐานที่ยืดผ้าใบสองมิติให้เป็นภาพลวงตาของภาพสามมิติ มี 5 แสงธรรมชาติโดยทั่วไป รวมกันแล้วก็ผสมกลมกลืนกัน พวกนี้ได้ช่วยให้คนดูได้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่าง,ขนาด,พื้นผิว,ผิวสัมผัสและอารมณ์

ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงฟังก์ชันที่เฉพาะสำหรับแสงแต่ละอัน คิดถึงแสงแต่ละอันในแบบของโฟตอนของภาพลวงตา ที่ปาไปยังวัตถุและเด้งกลับไปมาเหมือนลูกปิงปอง โฟตอนบางตัวนั้นจะชนเข้ากับวัตถุและสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิด บางตัวจะฉาบไปยังโค้งของพื้นผิวและอาจจะสะท้อนกลับไปยังกำแพงและวัตถุรอบๆ บางอันก็สะท้อนกลับเพื่อที่จะโดนวัตถุในระยะแตกต่างกัน

 แสงทั้ง 5

1. Specular Highlight

แสงแรก เมื่อโฟตอนโดนโดยตรงและสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดแสง เป็นแสงที่สว่างที่สุด เราเรียกแสงนี้ว่า specular highlight ตำแหน่งของ specular highlight นั้นอยู่บนวัตถุ กำหนดจากทิศทางใดก็ตามที่แสงมา ขอบของ transition (บริเวณสีเทา) แสดงให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดแสงใหญ่ขนาดไหนและพื้นผิวของวัตถุน้นส่องสว่างหรือด้านขนาดไหน

แหล่งกำเนิดแสงที่ใหญ่สร้างไฮไลท์ที่ดูจางกว่าส่วนของวัตถุที่เหลือที่ไล่ระดับสีลงมา แสงขนาดเล็กทำให้เกิดไฮไลท์ที่เข้มน้อยกว่าด้วยขอบที่จำกัด

เพิ่มเติมคือ วัตถุที่มีแสงทะท้อนอย่างแก้ว , เหล็ก หรือผิวมัน ถูกแทนที่ด้วยแสง specular highlights  ด้วยขอบคมและขอบที่จำกัด วัตถุที่มีความด้าน อย่างผ้าฝ้าย,สร้างให้เกิด specular highlights ที่มีความสว่างกว่าโทนถัดไปและมันยากที่จะบอกว่า ตรงไหนคือส่วนที่น้ำหนักหนึ่งสิ้นสุดลงและอีกอันหนึ่งเริ่มขึ้น

2. Diffused Highlight

 

ในวัตถุที่เป็นทรงกลม โฟตอนได้ฉาบไปยังพื้นที่ๆไม่ถูกแสง

ผลลัพธ์ก็คือภาพลวงตาที่เราเรียกว่า Diffuse highlight ,diffuse highlights แสดงให้เห็นสีที่ถูกต้องและแท้จริงของวัตถุ ไม่มีความแตกต่างระหว่างสีจาก specular highlights และ diffuse highlights  (สร้างด้วยแหล่งกำเนิดแสงขาว) มีความแตกต่างกันในน้ำหนักเพียงอย่างเดียว

เพิ่มเติมกับสี  diffuse highlights แสดงให้เห็น น้ำหนักที่ชัดเจนของวัตถุในความสัมพันธ์ของกันและกันในบริบทของการสรรสร้างค์ของศิลปิน ในผู้คน แสงนี้แสดงให้เห็นสีที่ถูกต้องของผิวหนังและโครงสร้างรูขุมขน และพิจารณาว่าเป็น “หน้ากากของหน้า” ผิวสัมผัสมักจะเห็นในน้ำหนักอื่นๆบนวัตถุ และผิวสัมผัสที่เป็นธรรมชาตินั้นมันเด่นชัดในน้ำหนัก diffuse highlights

3. Shaded Side

shaded side เป็นน้ำหนักเงาที่สมบูรณ์เพื่อทำให้เงาเกิดเป็นทรงกลมขึ้นมา ทรงกลมนั้นต้องการการไล่ระดับสีจากแสง (specular highlights),ระดับกลาง (diffuse highlights) และเงา (shade side)

Shade side ไม่ได้รับแสงโดยตรงจากแหล่งกำเนิดแสง มันไม่สามารถเห็นได้โดยตรงจากวัตถุที่มีความแบนที่มีแสงเข้าจากด้านหน้าเพราะว่ามันมาจากทางด้านหลัง  เมื่อแสงมาจากด้านข้าง(แสงโดยตรง) Shade side เกิดขึ้นตรงข้ามกับ specular highlights ในขณะที่มีความแตกต่างในน้ำหนักระหว่าง specular highlights และ diffuse highlights มีความแตกต่างในน้ำหนักของสีระหว่าง diffuse highlights และ shade sides shade sides มีสีตรงข้ามของสีของ diffuse highlights

เช่น ส้ม ก็จะต้องมีสีน้ำเงินในส่วนที่เป็นเงา ที่มีความเข่มกว่าน้ำหนักของวัตถุในชีวิตจริง เพราะว่าความแตกต่างระหว่างสีและน้ำหนัก ผิวสัมผัสนั้นได้ขยายขึ้นในการเชื่อมต่อระหว่าง Diffuse highlights และ Shade sides บนผิวหน้า จุดด่างดำและรอยเหี่ยวนั้นเห็นได้ชัดในส่วนที่เป็นรอยต่อระหว่าง diffuse highlights และ shade sides ตรงนั้นเป็นจุดที่ศิลปินรีทัช ได้รีทัชและเปลี่ยนรูปร่างของริ้วรอยต่างๆเพื่อให้เกิดภาพลวงตาของผิวที่ดูมีความเรียบขึ้น

PRO TIP: ถ้าวัตถุที่คุณกำลังวาดนั้นดูแบนเกินไป มันได้พลาดใส่แสงเงาชุดก่อนไป ดูว่าอะไรหายไปแล้วแทนที่มัน ถ้าวัตถุคุณแสงมาจากด้านหน้า คุณอาจจะพิจารณาแสงตรงๆ ถ้าคุณต้องการแสดงให้เห็นรูปร่างหรือความลึก

4. Reflected Light

Reflect light เกิดขึ้นเมื่อโฟตอนโดนอะไรบางอย่างแล้วสะท้อนกลับไปยังวัตถุจากทิศทางอื่นๆนอกเหนือไปจากแหล่งกำเนิดแสง บางทีอาจจะมีกำแพงอยู่ใกล้ๆ หรือพื้นโต๊ะ หรือถ้าคุณเป็นช่างภาพ ก็ reflector

เมื่อใช้ให้เป็นเชิงศิลปะ reflected lights เน้นขอบของเงาและใส่รูปร่างและความชัดเจนให้กับรูปทรงของวัตถุ reflected lights นั้นไม่สว่างเท่า Specular highlights เพิ่มเติมคือ reflected lights มักจะมีสี เพราะสีมักจะเดินทางไปกับแสง

ลีโอนาโด ดาวินซี กล่าวไว้ว่า “สีของวัตถุลวงตาส่วนหนึ่งของสีของสิ่งที่มันลวงตา” หา reflected lights เมื่อคุณถ่ายถาพหรือวาดภาพ เพื่อที่คุณจะได้ทำให้เกิดรูปร่างที่ชัดเจนและสีที่ทำให้เกิดโค้งเว้าของวัตถุที่เราต้องการจะวาดหรือถ่ายภาพ

5.Shadow

 

คนหลายคนสับสนระหว่าง shade sides และ shadow แต่ว่ามันค่อนข้างที่จะแตกต่างกัน
Shade sides เป็นส่วนหนึ่งของวัตถึที่ไม่ได้รับแสงจากแหล่งกำเนิด วัตถุนั้นให้เงาโดยการบลอคแสงจากการตกกระทบบริเวณรอบๆ คนที่เดินบนทางเท้าในช่วงเวลาบ่ายๆจะมี Shade side บริเวณตัวคน แต่ตัวคนได้แคสท์ หรือให้เงาไปยังบริเวณทางเท้า  เงาได้วางตำแหน่งของวัตถุในความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมรอบๆและยังสื่อสารกับรูปร่างและผิวสัมผ้สของบริเวณรอบๆ

เงาที่คนได้แคสท์บนหญ้านั้นมีผิวสัมผัสและรูปร่างของหญ้า เงาเดียวกันได้แคสท์ลงไปบนกำแพงเรียบจะทำซ้ำเอาท์ไลน์ของวัตถุ shadow นั้นใช้เมื่อต้องการที่จะจัดองค์ประกอบให้ผูกเป็นชิ้นเดียวกัน

รวมทั้ง 5 ชนิดของแสงเอาไว้

 

ที่มา : https://mobile.twitter.com/tksn4tt/status/869534131046068225/photo/1

 

แสงทั้ง 5 ชนิดได้เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ที่เหมือนกัน Specular highlights จะชี้ไปยังทิศทางของแหล่งกำเนิดแสง diffuse highlights จะเกิดขึ้นถัดจาก specular highlights เมื่อวัตถุนั้นเป็นวัตถุกลม Shade side จะกลายเป็นด้านตรงข้ามของ specular highlights reflected lights จะสะท้อนโดยตรงจากบริเวณรอบๆ Shadow จะตกลงมาจากวัตถุโดยตรงอยู่ในทิศทางตรงกันข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง และมีรูปร่างเหมือนกับวัตถุที่มันตกกระทบลงไป

ถ้าแหล่งกำเนิดแสงมากกว่า 1 ถูกใช้ ก็จะมีเซ็ทของแสงมากกว่า 5 ที่กำเนิดขึ้นมาในจุดนั้น การควบคุมแสงกลายเป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จในการแปลงค่าน้ำหนักภายในการสร้างสรรค์ของคุณ มันสำคัญในการที่จะเข้าใจว่าแสงใดแสงหนึ่งสามารถที่จะบ่งชี้และควบคุมมันในฐานะศิลปิน

 

การมาสเตอร์ แสงทั้ง 5 นั้นให้การควบคุมพลังของคุณเหนือศิลปะใดๆที่คุณต้องการจะทำงาน ภาพถ่ายจะดูสวยงาม รีทัชจะดูแล้วกลายเป็นศิลปะ ภาพเขียนจะดูเป็นงานมาสเตอร์พีซ คุณรู้ไหมว่า สัญลักษณ์ของศิลปินที่เอาแต่หนีคืออะไร ก็คือความกลัวที่จะใช้ ความลึกในภาพ ความกลัวที่จะใช้แสง และการไม่ใส่ใจในการที่จะใช้แสงอย่างมีประสิทธิภาพ

เรียนรู้ที่จะเห็น รู้สึก และสร้างแสงใสงานของคุณ และความรู้ของคุณจะนำไปสู่จุดที่สูงกว่านี้ค่ะ

ที่มา

The post แสงเงา ใช้ยังไงให้ภาพดูมลังเมลือง กับประเภท แสงเงา 5 แบบที่ควรรู้ appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress http://ift.tt/2ipabka
via IFTTT