หน้าเว็บ

วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 11, 2561

review manga theory in practice โดย Hirohiko Araki ไม่ใช่แค่หนังสือสอนวาดทั่วไป

วันนี้จะมารีวิวหนังสือชื่อ Manga Theory and practice ของอาจารย์ฮิโรฮิโกะอารากิซึ่งหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือสอนวาดการ์ตูนแต่เป็นสอนเทคนิคในการเขียนเรื่องให้ออกมาในแนว golden way หรือแนวโชเน็นที่มีความนิยม ซึ่งอาจารย์ได้พูดถึงเทคนิคในการแต่งเรื่องไม่ว่าจะเป็นการสร้างคาแรคเตอร์สร้างฉากการดำเนินเรื่องที่จะต้องมีองค์ประกอบต่างๆที่ครบ แล้วก็มีวิธีการวาดพวกไฟ,น้ำ
แต่อันนี้ไม่ได้เป็นจุดเด่นของเล่มนี้ เพราะว่าอาจารย์เองก็บอกว่าแกมีปัญหาเสมอในการอธิบายให้ผู้ช่วยรู้เรื่องในเรื่องของการวาดไฟหรือ Element ต่างๆหรือธาตุต่างๆ

ถ้ามองหาหนังสือที่สอนวาดการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างเป็นระบบ และสอนคิดหนังสือเล่มนี้ใช่เลยค่ะเพราะว่าหนังสือไม่ใช่สอนแค่การวาดอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจารย์ฮิโรฮิโกะได้ย้ำว่าการที่จะเขียนเรื่องให้ดีจะต้องเป็นนักเขียนที่ดีด้วยไม่ใช่เป็นแค่นักวาดที่ดีอย่างเดียวทว่าการ์ตูนที่ภาพสวยอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็น Golden way

เนื้อเรื่องจะต้องมีการขยับขึ้นอยู่ตลอดเวลาเช่นตัวละครมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรียนรู้อะไรมากขึ้นและตัวละครจะต้องชนะตลอดเวลาอาจจะเกือบแพ้แต่ไม่แพ้ไม่ใช่เรื่องดิ่งลงเหวถ้าดิ่งลงเหวคนก็จะไม่ค่อยอยากดูเท่าไหร่ แล้วก็มีพูดถึงเรื่องของการเขียนเรื่องแบบ Tournament อย่างดราก้อนบอล ที่เรื่องนี้เขียนยากเพราะว่าเวลาที่ตัวละครชนะแล้วไม่รู้จะทำอะไรต่อไปเพราะว่าศัตรูเก่งขึ้นเก่งขึ้นอย่างมากก็เก่งที่สุดก็พอชนะแล้วเรื่องก็จบต้องหาชาเลนจ์อื่นๆต่อไป

โดยรวมก็เป็นหนังสือที่ดีมากค่ะก็สอนให้เขียนเรื่องแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อนอย่างเช่นมีการสอนวิธีของ Ernest hemingway ว่าคิดยังไงนอกจากนี้มันยังเป็นหนังสือที่ทำให้เห็นแนวคิดของอาจารย์ฮิโรฮิโกะอารากิด้วยว่าอาจารย์แกมีการเสพหนังมีการเสพเรื่องอื่นๆที่นอกเหนือไปจากการ์ตูนทำให้การ์ตูนของแกมีมิติที่หลากหลายมากไปกว่าการวาดเป็นการ์ตูนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเหมือนกับเรื่องอื่นๆเรื่องราวของอาจารย์มักจะมีชั้นเชิงและการเล่าเรื่องที่แตกต่างไปจากการ์ตูนอื่นๆเสมอโดยที่อาจารย์เน้นย้ำว่า….

การ์ตูนอ่ะมันไม่ต้องเป็นจริงก็ได้มันไม่ต้องมีความสมจริงมากเพราะถ้ามันสมจริงมากมันจะกลายเป็นเรื่องจริง อย่างเช่นชีวิตของคนจริงๆน่ะมันไม่มีทางไรซิ่งหรือขึ้นได้ตลอดเวลาหรอกแต่เวลาเราเขียนการ์ตูนแล้วจะต้องเขียนให้มันขึ้นตลอดเวลาไม่เช่นนั้นคนก็จะเบื่อคนก็จะรู้สึกว่าทำไมตัวละครไม่มีพัฒนาการเลย

นอกจากนี้อาจารย์ยังคำนึงถึงความสมจริงโดยที่เว็บไซต์รีวิวบางเว็บไซต์ก็ได้กล่าวว่าสมจริงเกินไปเพราะว่าอาจารย์กล่าวว่าถ้าอยากรู้ว่าปืนทำยังไงให้ลองซื้อปืนมาแกะดูซึ่งจริงๆแล้วควรจะห่างจากปืนไว้นะคะเพราะว่ามันอาจจะเป็นอันตรายได้ถึงแม้ว่าจะเป็นปืนของเล่นก็ตามเวลาอ่านสิ่งเหล่านี้ต้องมีวิจารณญาณของตัวเองด้วยอย่าทำตามเขาทั้งหมดเดี๋ยวมันอาจจะเป็นอันตรายได้ค่ะเขาแค่พูดให้เรารู้เฉยๆว่าความสำคัญของการหาข้อมูลและการเข้าใจสิ่งที่เราวาดอย่างดีมันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการวาดรูปให้ดูสมจริง

นอกจากนี้ยังมีที่มาของการที่อาจารย์เขาไปประเทศอิตาลีแล้วไปเจอรูปปั้นของไดโอนีซุสซึ่งพอเจอรูปปั้นนี้แล้วอาจารย์ก็รู้สึกประทับใจมากก็เลยคิดว่าถ้าสมมุติว่างานแบบนี้มันเป็นภาพ 2d ก็ดีสิยังไม่มีใครเคยทำเขาก็เลยนำเอาท่าโพสของรูปปั้นมาประยุกต์กับการเขียนตัวละครทำให้ตัวละครของอาจารย์มีท่าทางที่แตกต่างออกไปหรือเราเรียกกันว่าโจโจ้โพส

นอกจากนี้หนังสือก็ยังให้เห็นถึงช่วงที่อาจารย์ติดขัดและส่งงานไม่ผ่านสักทีอาจารย์สุดท้ายก็คิดได้ว่าทำยังไงให้บ.กหยิบต้นฉบับขึ้นมาแล้วไม่ทิ้งแล้วอ่านก่อนก็เลยพยายามเขียนให้เตะตาตั้งแต่หน้าแรก

แล้วก็มีวิธีเขียนใบหน้าและวิธีในการเขียนสิ่งต่างๆพอสมควรแต่ไม่ใช่เป็นประเด็นหลักในหนังสือเล่มนี้ไปในหลักก็คือวิธีในการเขียนเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและการเขียนเนื้อเรื่องให้เป็นการ์ตูนโชเน็นที่ดังและเรียกว่า Goldenway

อาจารย์ยังเขียนถึงการที่เราว่าตัวละครผู้หญิงเราไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้หญิงดูเป็นกุลสตรีเสมอไปเราสามารถเขียนผู้หญิงให้ดูเป็นเหมือนผู้ชายดูแล้วเข้มแข็งและสู้คนได้เหมือนอย่างเช่นคูโจ โจลีน เป็นต้น
ซึ่งตัวละครนี้ เหมือน Sarah connor ใน terminator ที่กล้าหาญสู้คนและพร้อมจะลุยอยู่ตลอดเวลาค่ะซึ่งสร้างมาตรฐานใหม่ๆให้กับวงการการ์ตูนว่าผู้หญิงไม่จำเป็นจะต้องบอบบางเสมอไป

แล้วอาจารย์ยังพูดถึงการ copy style อีกด้วยเนื่องจากการ copy Style เป็นเรื่องที่หลายๆคนทำกันเมื่อตอนที่เรายังฝึกวาดรูปอยู่แต่สุดท้ายแล้วเราไม่สามารถที่จะเป็นอาจารย์ท่านนั้นๆตลอดไปได้เราจะต้องมีการพัฒนาลายเส้นเป็นของตัวเองและพัฒนาลายเส้นให้ดูออกว่าใครวาด

อย่างเราเคยดูสัมภาษณ์อาจารย์ที่อยู่ด้านล่างนี้ที่เป็นวีดีโอ 3 วีดีโออาจารย์ได้บอกไว้ว่าโจทาโร่นั้นมีหมวกเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเขาค่ะซึ่งเขาอยากจะให้มองจากด้านหลังแล้วรู้ว่าเป็นคาแรกเตอร์ตัวไหนซึ่งเป็นวิธีคิดที่แตกต่างจากคนอื่นมากการที่วาดตัวละครให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายหรือวาดเครื่องแต่งกายให้เป็นส่วนหนึ่งของตัวละครเป็นไอเดียที่อัจฉริยะเท่านั้นที่จะคิดได้ค่ะ

แล้วอาจารย์ก็มั่นใจมากในความสำเร็จของเขาและกล้าพูดในความสำเร็จของเขาและความล้มเหลวอย่างตรงไปตรงมากล้าพูดว่าเขาผ่านอะไรมาบ้างผ่านการปฏิเสธแค่ไหนกว่าจะเป็นนักเขียนการ์ตูนมือหนึ่งได้

สำหรับหนังสือมีแปลเป็นภาษาอังกฤษเรียบร้อยแล้วใครสนใจสามารถสั่งซื้อได้ตาม Amazon ค่ะ

สุดท้ายนี้ก็ฝากวีดีโอไปดูเพิ่มเติม

วีดีโอ 3 วีดีโอนี้คุณโชโกะตันได้ไปเยี่ยมบ้านของอาจารย์ฮิโรฮิโกะอารากิแล้วก็ถามคำถามหลายเรื่องส่วนมากไม่ค่อยมีสาระเท่าไหร่ค่ะแต่ว่าดูแล้วก็สนุกดีแล้วก็มีเครื่องมือของอาจารย์โผล่มาด้วยอาจารย์ ใช้ G pen แล้วก็ปากกาพู่กันค่ะเพนเทลธรรมดานี่แหละ ตอนหลังมีวาดรูปแลกกันก็สนุกดีค่ะมี 3 ตอนนะ

วีดีโอนี้พูดถึง เรื่อง poker under arm ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่debut เรื่องแรกของอาจารย์ฮิโรฮิโกะ ซึ่งคนที่แพ้โป๊กเกอร์ จะต้องวางปืนลง ซึ่งในวีดีโอได้พูดถึงการใส่เนื้อเรื่องและฉากต่างๆของอาจารย์ที่มีความเลือดสาดมากขึ้นในช่วงหลังๆทำให้การ์ตูนของอาจารย์เป็นที่นิยมมากในหมู่เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงก็อ่านบางคนก็ชอบเหมือนกัน

ลิงค์อ่านเพิ่มเติม

The post review manga theory in practice โดย Hirohiko Araki ไม่ใช่แค่หนังสือสอนวาดทั่วไป appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2B0eGsV
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: