หน้าเว็บ

วันพุธ, กันยายน 26, 2561

การสร้างคาแรคเตอร์ในนิยายและการ์ตูนเรื่อง

Creating Characters In Novels
การสร้างคาแรคเตอร์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเขียนนิยาย อย่างน้อย การรู้ว่าจะสร้างคาแรคเตอร์ยังไงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการเขียนพล็อตนิยาย

ถ้าไม่มีพล็อตที่ทำให้คนอ่านเปิดหน้าถัดไปแล้ว คนอ่านก็จะไม่เปิดหน้าถัดไป และถึงแม้จะมีเรื่องที่น่าสนใจแล้ว คนก็ยังสงสัยว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าหากคนนั้นแคร์เกี่ยวกับคาแรคเตอร์ตัวนั้นๆจริงๆ

นั่นเป็นสิ่งที่สร้างให้คาแรคเตอร์นั้นควรจะเป็นก็คือการทำให้คนดูนั้นแคร์เกี่ยวกับตัวคาแรคเตอร์นั้นๆ การที่ใส่คาแรคเตอร์ที่คนดูไม่รู้สึกแคร์ไป ก็เท่ากับว่า คนดูจะไม่สนใจว่าตัวละครจะกระโดด หรือจะทำอะไรตอนต่อไป

การสร้างคาแรคเตอร์ที่คนดูแคร์ เท่ากับสร้างคนที่คนดูแคร์ในโลกแห่งความเป็นจริง แล้วเขาจะไม่สามารถวางนิยายลงได้

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่อง มาดูคำถามที่สำคัญกันก่อน

คาแรคเตอร์สำคัญกว่าพล็อตหรือเปล่า

ถ้าคุณอ่านไกด์จากที่อื่น คุณอาจจะเจอคำถามประมาณว่า พล็อต ปะทะคาแรคเตอร์ และมีการถกเถียงกันเกิดขึ้น แต่จุดมุ่งหมายของบทความนี้ ไม่ได้จะทำให้เกิดการถกเถียงแบบนั้น แต่เราจะบอกว่า บางคนก็คิดว่าพล็อคที่ดี เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้นิยายประสบความสำเร็จ แต่บางคนก็บอกว่าคาแรคเตอร์ที่วางมาอย่างดี ทำให้เนื้อเรื่องประสบความสำเร็จ
แต่เราจะบอกว่า พล็อตกับคาแรคเตอร์มีความสำคัญเท่าๆกันค่ะ
มาดูคำพูดนี้ของแฮร์รี่เจมส์

อะไรคือคาแรคเตอร์ มันเป็นการตัดสินใจในแต่ละเหตุการณ์ และอะไรคือเหตุการณ์ มันคือภาพประกอบของคาแรคเตอร์นั้น

สิ่งที่เจมส์พูดก็คือ ถ้าคุณไม่มีคาแรคเตอร์ คุณก็ไม่มีการกระทำ ถ้าคุณไม่มีการกระทำ ก็ไม่มีคาแรคเตอร์ ดังนั้นมันยากที่จะแยกทั้งสองอย่างออกจากกัน และเขาพูดถูกห
ดังนั้น อะไรคือคาแรคเตอร์ปะทะพล็อต การถกเถียงนั้นเกี่ยวข้องกับความสำคัญของแต่ละอย่างในวรรณกรรมและนิยาย การถกเถียงนั้นกล่าวประมาณว่าวรรณกรรมนั้นใช้คาแรคเตอร์ที่ซับซ้อนมากกว่าพล็อตที่สนุกสนาน และยังกล่าวอีกว่านิยายนั้นให้ความสำคัญกับพล็อตมากกว่าคาแรคเตอร์ ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องจริงในทางใดทางหนึ่ง

แฟนๆของนิยายนั้นตามเรื่องที่ดีก่อน และแฟนวรรณกรรมนั้นสามารถให้อภัยกับความช้าในการดำเนินเรื่อง ในขณะที่ผู้เขียนพยายามสร้างมิติให้กับตัวคาแรคเตอร์

แต่ว่านิยายที่ดี ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม หรือหมวดหมู่ไหนก็ตาม มีพล็อตที่สนุก และมีคาแรคเตอร์ที่วางมาดีเสมอ. แน่นอนว่าวรรณกรรมโฟกัสที่พล็อตมากกว่าคาแรคเตอร์ก็จริง แต่พล็อตที่แข็งแกร่งและคาแรคเตอร์ที่เข้มแข็งยังคงต้องการที่จะแสดงออกมาในนิยายทั้งสองประเภท

โอเคมาเข้าเรื่องกันได้แล้ว

อะไรที่ทำให้คาแรคเตอร์เป็นคาแรคเตอร์ที่ดีในนิยาย
การสร้างคาแรคเตอร์ เหมือนกับที่เราพูดด้านบน ก็คือการทำให้คนดูนั้นแคร์ แต่ว่าอย่างไร เอาให้ชัดคือ คุณสามารถดึงอารมณ์ของคนให้เข้าถึงตัวละครของคุณได้หรือไม่

มีขั้นตอนห้าขั้นตอนที่คุณสามารถเริ่มต้นได้

1.ทำให้คาแรคเตอร์นั้นเป็นที่ชื่นชอบ
ชัดเจนใช่ไหม อะไรที่ทำให้คุณนั้นชื่นชอบคนจากชีวิตจริง เอาสิ่งนั้นมาใส่ในคาแรคเตอร์
แค่ระวังว่าจะสร้างคาแรคเตอร์ที่เพอร์เฟ็คเกินไป พยายามทำให้คาแรคเตอร์ดูมีมิติ อาจจะมีความชั่วเล็กๆน้อยๆความไม่สมบูรณ์ในตัวคาแรคเตอร์ เช่น การไม่เล่นตามกฏเกณฑ์นอกเหนือไปจากการเป็นคนดี หรือมีลักษณะนิสัยที่ดีพร้อมโดยทั่วไป

2.ทำให้เขาดีในสิ่งที่ตัวเองทำ
คุณจะรู้สึกอย่างไร ถ้าหากเจมส์บอนส์พลาดทุกภารกิจ และเหล่าร้ายชนะตลอด คุณเคยอ่านเจอคาแรคเตอร์ที่ไม่เคยสำเร็จในอะไรเลยและไม่เคยไปถึงเป้าหมายของตัวเองหรือไม่
เราอ่านนิยายเพื่อที่จะหลีกหนีจากโลกแห่งความเป็นจริง เราต้องการอ่านเรื่องราวของผู้ชนะ มันอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นฮีโร่จ๋า แต่มันอาจจะมีบางอย่างในตัวเขาที่ทำให้เขาชนะในตอนท้ายสุด

3.ทำให้คาแรคเตอร์นั้นมีเสน่ห์
เราไม่ได้พูดถึงหน้าตาหรือลักษณะภายนอก มันจะต้องมีบางอย่างภายในบุคลิคภาพของเขาที่ทำให้บรรยากาศโดยรวมดี ถ้าคาแรคเตอร์ในเรื่องดึงดูดไปหาฮีโร่. ดังนั้นผู้อ่านก็เช่นกัน

4.ทำให้พวกเขานั้นไดนามิค
อีกนัยหนึ่งก็คือ พวกเขาต้องเป็นผู้ลงมือกระทำ ไม่ใช่แค่การยืนนิ่งๆในเนื้อเรื่อง ก็คือถ้าหากมีความเป็นไปได้ว่าจะทำเรื่องไหนสำเร็จพวกเขาจะลงมือทำไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
ด้วยสิ่งเหล่านี้ มันไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างฮีโร่อย่างเดียว แต่คาแรคเตอร์อะไรก็ตามที่คุณสร้าง ทำให้พวกเขาลงมือกระทำ มากกว่าจะเป็นฝ่ายถูกกระทำอย่างเดียว นั่นจึงทำให้คนอ่านนั้นเอาใจช่วยคาแรคเตอร์เหล่านั้น

5.ทำให้คาแรคเตอร์เจ็บปวด
การสร้างเหตุการณ์นิยาย(พล็อต) จะโยนเอาอุปสรรคไปในเส้นทางของคาแรคเตอร์ ดังนั้นมันอาจจะทำให้คนรู้สึกสงสาร หรือเห็นใจคาแรคเตอร์ได้

มากไปกว่านั้น พยายามขยี้เกลือลงไปในแผล ถ้าคาแรคเตอร์รู้สึกโดดเดี่ยวหลังจากสูญเสียคนที่รัก ทำให้เขายิ่งรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นไปอีก

ประเภทของคาแรคเตอร์

ไม่ใช่คาแรคเตอร์ทุกตัวในนิยายที่สร้างมาเท่ากัน มีตัวเอก ก็คือตัวละครนำชายหรือหญิง จะเรียกเขาว่าอะไรก็ได้ คาแรคเตอร์อื่นๆนั้นพิเศษน้อยกว่า บางคาแรคเตอร์ก็แทบไม่มีบทพูดเลยด้วยซ้ำ เป็นคาแรคเตอร์ที่ซ่อนอยู่ในมุมมืด
พวกคาแรคเตอร์ที่ซ่อนอยู่เหล่านั้น เราไม่จำเป็นต้องนึกถึงเวลาที่เราวางแผนนิยาย พวกเขาจะโผล่ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของฉาก และคุณจะใส่เขาเข้าในเนื้อเรื่องเมื่อคุณเขียน เหมือนกับที่คุณใส่สภาพภูมิอากาศ พยายามใช้เวลากับคาแรคเตอร์หลักให้มากที่สุด แต่อย่าลืมความสำคัญของตัวประกอบ คาแรคเตอร์เหล่านี้อาจจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญในเนื้อเรื่องแต่พวกเขาก็สำคัญเช่นกัน

ทำไม เพราะว่าคาแรคเตอร์ที่วางมาอย่างดี สามารถขโมยซีนได้ทีเดียว คุณไม่จำเป็นต้องห่วงกับการที่สร้างพวกเขาขึ้นมาเหมือนอย่างพวกคาแรคเตอร์หลัก. และดังนั้นคุณจึงมีอิสระในการที่จะเขียนคาแรคเตอร์ที่ขโมยซีน คาแรคเตอร์ที่ดูเวอร์ๆโดยไม่กังวลที่จะเปลี่ยนให้เขาเป็นมนุษย์ที่เชื่อได้ว่ามีตัวตนจริง

ดังนั้นการสร้างคาแรคเตอร์ให้มีเสตอริโอไทป์หรือรูปแบบของนิสัยอย่างใดอย่างหนึ่งที่ชัดเจนจึงไม่ใช่กลยุทธที่แย่เสียทีเดียว

คุณสามารถที่จะสร้างคาแรคเตอร์โดยใส่นิสัยเข้าไปที่อาจจะขัดกับบุคลิคภาพโดยรวมนั้น และคุณสามารถที่จะปล่อยคาแรคเตอร์รองให้เป็นอย่างที่เขาเป็น การเริ่มจากแถบสีแดงดึงดูดความสนใจได้ดี ดีกว่าจะสร้างคาแรคเตอร์ที่เหมือนสีเทาที่คุณยากที่จะสร้างเขาให้มีชีวิต

ณ.ตอนนี้เราดูเรื่องความสำคัญในการสร้างคาแรคเตอร์ที่คนอ่านจะแคร์และถกเถียงเกี่ยวกับประเภทของคาแรคเตอร์ที่พบในนิยายแล้ว เราจะมาพูดถึงการสร้างคาแรคเตอร์ และทำความรู้จักพวกเขา ก่อนอื่นคุณต้องเขียนลิสต์รายชื่อตัวละครเสียก่อน แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ถัาเราเขียนนิยายสืบสวนสอบสวน เราก็ต้องมี นักสืบ เพื่อนนักสืบ เหยื่ออย่างน้อยคนหนึ่ง ฆาตกร ผู้ต้องสงสัยหลายคน
และถ้าคุณเขียนนิยายรัก
คุณต้องการ ตัวเอก ,คนรัก(ไม่จำเป็นต้องเป็นเพศตรงข้าม) ,ศัตรูความรัก,เพื่อนที่ดีที่สุด และลิสต์นี้ก็ไปเรื่อยๆ ๆ คุณจะรู้เลยว่า ต้องใส่คาแรคเตอร์อะไรบ้างจากการอ่านนิยายให้มาก

ไม่จำเป็นต้องห่วงกับคาแรคเตอร์ทุกคาแรคเตอร์ในกระดาษในจุดนี้ โฟกัสที่คาแรคเตอร์ที่จำเป็นจริงๆ คาแรคเตอร์หลักที่จำเป็นจะต้องอยู่ตรงนั้น ตราบเท่าที่คุณพัฒนาพล็อตเรื่อง และระลึกได้ว่าคาแรคเตอร์พิเศษนั้นจำเป็น. ก็ให้ใส่พวกเขาเข้าไปในรายชื่อตัวละคร แต่อย่าพยายามใส่ตัวละครที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในเนื้อเรื่อง

จุดสุดท้าย

พยายามสร้างคาแรคเตอร์ที่มีความสมดุลย์ นี่หมายความว่ายังไง. อย่าทำให้คาแรคเตอร์แต่ละคนเหมือนกันเกินไป

ถ้าคาแรคเตอร์ตัวนึง บ้าวัฒนธรรมเก่าๆ ให้อีกตัวเป็นแฟนตัวยงของฟาสต์ฟูดและละครน้ำเน่า
ถ้าคาแรคเตอร์นึงเป็นจอมโวยวาย หัวร้อนตลอด ให้คาแรคเตอร์นึงใจเย็น
ถ้าคาแรคเตอร์นึงเป็นตัวตลก ให้อีกคาแรคเตอร์ซีเรียส
พยายามคิดว่า คาแรคเตอร์ในเรื่องคุณ เหมือนแขกในงานปาร์ตี้ ในการที่จะทำให้งานปาร์ตี้สนุก คุณจะต้องใส่คาแรคเตอร์มนุษย์ที่หลากหลายเข้าไปในปาร์ตี้นี้

โอเค มาถึงเวลาจานหลักกันแล้ว

รู้จักคาแรคเตอร์ของเรากันได้ยังไง
การรู้จักคารแรคเตอร์ของเราก่อนการเขียนนิยายนั้นเป็นเรื่องจำเป็นและจริงจังมาก ถ้าคุณไม่รู้จักเขาดี คุณก็จะไม่สามารถทำให้คาแรคเตอร์นั้นมีชีวิตในสายตาคนอ่านได้
การที่จะรู้จักเขาดี คุณก็จะต้องใช้เวลาในการจินตนาการเป็นหลัก แต่วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการนั่งลง ด้วยดินสอและปากกาในมือ หรือจะเป็นอุปกรณ์อืเลคโทรนิคส์ก็ได้ และเสก็ตซ์พวกเขาออกมา ทีละนิสัย อย่าจมอยู่กับรายละเอียดมากเกินไป คุณไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับคาแรคเตอร์ คุณต้องการแค่สองสามอย่างที่บอกทุกอย่างเกี่ยวกับคาแรคเตอร์
และนั่นคือไกด์ในการเขียนคาแรคเตอร์อย่างสมบูรณ์
อย่ากังวลว่า นั่นดูเหมือนกับข้อมูลจำนวนมาก เพราะว่า มันก็ดูเหมือนจะเป็นขั้นตอนมากจริงๆแต่มันเป็นขั้นตอนที่สนุก
และนอกจากนี้ อะไรคือจุดมุ่งหมายของการเขียนนิยาย ถ้าหากไม่ใช่การเขียนเรื่องที่คนต้องรักและชอบ และแคร์กับสิ่งที่เราเขียน หรือแม้กระทั่งรักในสิ่งที่เราเขียน
เราโกหกค่ะ จริงๆมีอีกอย่างที่ต้องพูดถึง
นั่นก็คือ

บอกลาคาแรคเตอร์คุณซะ

นักเขียนนั้นสามารถที่จะยึดติดกับคาแรคเตอร์ของพวกเขามาก เขาอาจจะเกิดขึ้นมาในจินตนการ แต่เขาอาจจะไม่ใช่คนจริงๆ แต่เขาก็เป็นเพื่อนเรา ในบางครั้งเราก็ตกหลุมรักคาแรคเตอร์ตัวเอง ทำไมหนะเหรอ เพราะว่า เราตื่นขึ้นมา ก็เขียนนิยายเลย เลยดูเหมือนว่าเราต้องอยู่กับพวกเขาตลอดเวลา. แค่ปิดคอมก็ไม่ได้ทำให้คาแรคเตอร์นั้นออกไปจากหัว หรือบางครั้งอาจจะทำให้คุณตื่นกลางดึก แต่เราก็รักพวกเขา แม้แต่ตัวร้าย ก็เหมือนกับลูกของเรา เหมือนกับเพื่อนสนิท หรืออาจจะมากกว่านั้น เพราะเรารู้ทุกอย่างเกี่ยวกับพวกเขา และพวกเขาไม่มีอะไรจะซ่อนจากเรา

และพวกเขาก็รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเราเช่นกัน เพราะพวกเขาอยู่ในตัวเรา ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ไปอยู่ในเนื้อเรื่องด้วยกับพวกเขา หรือมีตัวตนอยู่ในเนื้อเรื่องนั้นๆก็ตาม
แต่เราเป็นผู้กำกับของภาพยนตร์นั้น เขามองเราว่าเขาจะอยู่ตรงไหนและทำอะไร บางครั้งเราก็เหมือนพระเจ้าของเนื้อเรื่อง เราทำให้พวกเขามีชีวิต และเราสามารถจบชีวิตของพวกเขาได้ และถ้าเราเปลี่ยนใจ แค่คลิ้กเมาส์ไม่กี่ครั้งก็เปลี่ยนชีวิตพวกเขาได้

นักเขียนหลายๆคนใช้ชีวิตของตนเองมาเขียนนิยาย บางสิ่งก็เป็นการที่คาแรคเตอร์ทำ หรือพูดในสิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้มีส่วนร่วม ถ้าคาแรคเตอร์ทำบางอย่างที่ไม่ได้อยู่ในสคริปต์ มันไม่ใช่เจตสำนงค์อิสระของคาแรคเตอร์. แต่มันเป็นการเล่าเรื่องที่ดีกว่าของนักเขียน
มันก็ยังเหมือนกับคาแรคเตอร์นั้นมีชีวิตเป็นของตัวเองอยู่ดี
คุณสร้างคาแรคเตอร์ขึ้นมาในหัว จากการวางแผน และคุณก็เขียนเขาขึ้นมา เขาก็เริ่มจะมีชีวิตโลดแล่นในนิยายที่คุณเขียน พวกเขาไม่ได้อยู่ในหัวเราอีกต่อไป พวกเขาออกไปสูโลกกว้าง

คาแรคเตอร์ส่วนมากไปถึงจุดจบของหนังสือ เขาอาจจะไปถึงฉากจบที่มีความสุข หรือมีความหวัง ฉากจบของนิยายนั้นทำให้คาแรคเตอร์ยืนและไปด้วยขาของตัวเองจากความยากลำบากที่เขาได้เผชิญมาทั้งหลาย และมันก็เป็นเวลาที่จะลืมคาแรคเตอร์และเริ่มเรื่องใหม่ ถ้าค่าแรคเตอร์ในเรื่องนี้จืดจางและตายไป ยิ่งเราเศร้ากับมันน้อยเท่าไรยิ่ง
บางคนที่ใจอ่อน มักจะ….

ไม่จบที่ฉากจบ

ยกมือขึ้นถ้าคุณเคยมีประสบการณ์นี้ คุณอ่านนิยายไปเรื่อยๆ ไปถึงตอนที่คิดว่านี่น่าจะเป็นฉากจบที่ดี ทุกอย่างดูโอเคเรียบร้อย และคุณสามารถที่จะจินตนาการต่อเองได้ แต่นักเขียนกลับเขียนต่อ และนั่นทำให้นิยายดูพัง
บางทีนิยายเล่มนั้นอาจจะเป็นนิยายที่ไม่หนามาก แต่แทนที่จะเขียนพล็อตเสริม หรือเนื้อเรื่องที่เสริม ผู้เขียนกลับใช้วิธียืดฉากจบออกไปซึ่งเป็นวิธีที่้ไม่ดีในการเพิ่มจำนวนคำ โดยการเคลียร์ฉากจบทุกอย่าง ไม่เหลืออะไรให้ผู้อ่านได้จินตนาการเอาเองบ้าง
ผู้เขียนไม่สามารถปล่อยคาแรคเตอร์ไปได้ ดังนั้น จึงพยายามที่จะเขียนเกี่ยวกับเขาอีก หลังจากที่พล็อตได้รับการแก้ไขแล้ว แน่นอนว่าไม่มีอะไรผิด การเขียนเกี่ยวกับคาแรคเตอร์ที่เราชอบ สร้างให้เราเกิดความพึงพอใจ แต่อย่าเอาไปใช้ในเวอร์ชันพิมพ์ก็พอ

เขียนภาคต่อที่แย่

แต่ว่ามีหลุมพรางสำหรับนักเขียนที่จะผิดพลาดเมื่อจบแล้ว การเขียนซีรีย์ใหม่เกี่ยวกับคาแรคเตอร์ที่อยู่ในนิยายนั้นหรือแม้กระทั่งซีรีย์ทั้งหมด
เราพูดถึงภาคต่อที่แย่ก่อน มันไม่ผิดถ้าจะมีภาคต่อ ไตรภาคหรือแม้กระทั่งซีรีย์ของนิยายที่พูดถึงคาแรคเตอร์เดิมๆ แต่คุณต้องทำมันเพื่อเหตุผลที่ดี การเขียนเพื่อนเงินไม่ใช่เหตุผลที่ดี อย่างน้อยก็เชิงศิลปะ(ฮอลลีวู้ดนั้นทำให้เรื่องนี้ผิดพลาดไปหมด) การเขียนเพิ่มเพราะไม่อยากปล่อยคาแรคเตอร์ไป ก็ไม่ใช่เหตุผลที่ดีเช่นกัน ถ้านี่คือเหตุผล ให้เขียนเพื่อความสุข ความสนุกสนานของเราเท่านั้น ถ้าคุณอยากจะเขียนภาคต่อ มันเพราะคุณมีอะไรอยากจะบอก เหมือนกับที่คุณอาจะบอกในหนังสือเล่มแรกของคุณ

ภาคต่อจะมีอะไรที่คล้ายคลึงกับภาคแรก
เช่น เซ็ทคาแรคเตอร์เดิม ฉากเดิม พล็อตคล้ายๆเดิม แต่อาจจะมีพล็อตใหม่ๆที่ดันคาแรคเตอร์ให้ไปทางใหม่ ธีมใหม่ คาแรคเตอร์ใหม่ ถึงแม้จะเป็นตัวประกอบก็ตาม แนวคิดใหม่ๆในคาแรคเตอร์ไม่ใช่แค่ตัวเอก ถ้าหากหนังสือเล่มใหม่ ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรใหม่ๆ ที่สร้างให้นิสัยของคาแรคเตอร์ นำพาไปยังจุดที่ไม่เคยไปถึงมาก่อน หนังสือเล่มใหม่ก็จะเป็นแค่สิ่งที่เคยเห็นมาแล้ว ภาคต่อจะต้องยืนได้ด้วยตัวเอง และมีเหตุผลสำหรับคนที่ไม่ได้อ่านหนังสือเล่มแรกด้วย และสำหรับคนที่อ่านเล่มแรกมาแล้ว ภาคต่อควรจะเป็นอะไรที่สดใหม่ และเป็นเอกลักษณ์ นำพาผู้อ่านไปยังจุดที่พวกเขาไม่เคยได้เห็นมาก่อน

 

สรุป

 

คำแนะนำของเราคือให้หยุดระหว่างนิยายแต่ละเรื่อง อย่าเร่งรีบไปทำโปรเจคใหม่ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นพวกใจอ่อนกับคาแรคเตอร์ และไม่อยากให้คาแรคเตอร์จากคุณไป
ถ้าหากระหว่างพัก คุณอยากจะเขียนภาคต่อหรือภาคก่อนของนิยาย ก็ดีเลย จินตนาการของคุณสร้างให้เกิดเรื่องใหม่ และคาแรคเตอร์ใหม่ที่เป็นดาวในนั้น และมันก็น่าตื่นเต้น

ถ้าคุณอยากจะไปพบเพื่อนเก่าๆของคุณ คุณก็แค่อ่านนิยายตัวเองอีกรอบ

The post การสร้างคาแรคเตอร์ในนิยายและการ์ตูนเรื่อง appeared first on ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ์ตูน,เรียนสีน้ำและรวบรวมความรู้สำหรับผู้สนใจในการวาดภาพประกอบ,digital painting,character design.



from WordPress https://ift.tt/2Ocb1zf
via IFTTT

ไม่มีความคิดเห็น: